Customer Relationship คืออะไร? เทคนิคการบริหารลูกค้าสัมพันธ์

Customer Relationship คืออะไร? เทคนิคการบริหารลูกค้าสัมพันธ์

Table of Contents

Customer Relationship คือ อะไร? ทำความเข้าใจการบริหารลูกค้าสัมพันธ์แบบครบวงจร

การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแบรนด์กับลูกค้า Customer Relationship หนึ่งในกลยุทธ์ที่ทรงพลังที่สุด ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารและสร้างประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้า การใช้ ระบบ CRM จาก CHIPHER เป็นตัวอย่างที่ยอดเยี่ยม สำหรับการจัดการข้อมูลลูกค้าและเพิ่มความสัมพันธ์ผ่าน การส่ง Email Marketing ด้วยระบบ CRM เพื่อสร้างความประทับใจและเพิ่มความภักดีในแบรนด์

หากคุณกำลังมองหาวิธีการเพิ่มยอดขายและรักษาลูกค้าให้อยู่กับแบรนด์อย่างยาวนาน บริการ รับทำ Email Marketing และ รับทำ CRM Training อบรม CRM สามารถช่วยคุณพัฒนาทักษะและกลยุทธ์ที่จำเป็นในการดูแลลูกค้าได้อย่างมืออาชีพ และในบทความนี้จะพาคุณไปเจาะลึกความหมายของ Customer Relationship พร้อมแนะนำเทคนิคที่ช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโตอย่างมั่นคง

Customer Relationship คืออะไร?

Customer Relationship คืออะไร

ความสัมพันธ์กับลูกค้า หรือ Customer Relationship คือ การสร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างธุรกิจกับลูกค้า โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้ลูกค้ารู้สึกพึงพอใจและภักดีต่อสินค้าและบริการของธุรกิจ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การสื่อสาร การตอบสนองความต้องการของลูกค้า ไปจนถึงการสร้างความประทับใจที่ยั่งยืน วิธีการสร้างความสัมพันธ์อาจรวมถึงการให้บริการที่ดีเยี่ยม การจัดโปรโมชันที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าแต่ลคน และการให้คำปรึกษาหรือช่วยแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว

สิ่งสำคัญของ Customer Relationship คือ การเข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้งและทำให้พวกเขารู้สึกว่าตนมีความสำคัญต่อธุรกิจ เพราะเมื่อลูกค้ารู้สึกพึงพอใจและได้รับการดูแลอย่างดี โอกาสที่พวกเขาจะกลับมาซื้อซ้ำหรือแนะนำสินค้าและบริการของคุณต่อผู้อื่นก็จะเพิ่มขึ้น ดังนั้น การนำระบบ CRM หรือ Customer Relationship Management คือ สิ่งที่จะส่งผลให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว

แล้ว Customer Relationship Management คืออะไร? ทำไมธุรกิจถึงต้องให้ความสำคัญ เราจะพาไปค้นหาคำตอบในหัวข้อต่อไป

ทำไมธุรกิจต้องให้ความสำคัญกับ CRM?

CRM ย่อมาจาก Customer Relationship Management โดย CRM คือ การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ ธุรกิจต้องให้ความสำคัญกับ เพราะเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและยั่งยืนกับลูกค้า ซึ่งเป็นหัวใจของการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดที่มีการแข่งขันสูงในปัจจุบัน Customer Relationship Management คือ สิ่งที่ช่วยให้ธุรกิจเข้าใจความต้องการ พฤติกรรม และความคาดหวังของลูกค้าได้อย่างลึกซึ้ง เพื่อมอบสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์เฉพาะบุคคล สร้างความพึงพอใจ สร้างโอกาสในการขาย หรือ Lead Generation และการกลับมาซื้อซ้ำหรือแนะนำธุรกิจให้ผู้อื่น

ประโยชน์ของ CRM

CRM คือ ระบบที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการข้อมูลลูกค้าและช่วยการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ให้ดียิ่งขึ้น โดยประโยชน์ของ CRM เช่น

ประโยชน์ของ Customer Relationship Management
  • เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า: ช่วยให้ธุรกิจสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและตรงกับความต้องการ
  • สร้างความภักดีต่อแบรนด์: ช่วยรักษาลูกค้าปัจจุบันให้กลับมาใช้บริการซ้ำและเกิดการแนะนำต่อ
  • ปรับปรุงการสื่อสาร: ช่วยให้การติดต่อและสื่อสารกับลูกค้ามีความเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
  • เพิ่มยอดขาย: วิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า เพื่อสร้างโอกาสการขายและการขายเพิ่มเติม จากการ Up-Selling และ Cross-Selling
  • ลดต้นทุนการดำเนินงาน: ช่วยจัดการข้อมูลและกระบวนการอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการใช้ทรัพยากรที่ไม่จำเป็น
  • วางแผนกลยุทธ์ได้แม่นยำ: ใช้ข้อมูลเชิงลึกจากระบบ CRM คือ ระบบที่มีความสำคัญและช่วยในการตัดสินใจและวางแผนการตลาด
  • ติดตามพฤติกรรมลูกค้า: ช่วยเก็บข้อมูลเชิงลึก เช่น ประวัติการซื้อหรือการติดต่อ เพื่อพัฒนาการให้บริการ
  • สนับสนุนการทำงานเป็นทีม: ทำให้ทีมขาย การตลาด และบริการลูกค้าทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ช่วยดึงดูดลูกค้าใหม่: ระบบ CRM ช่วยวิเคราะห์และวางแผนเพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายใหม่
  • ปรับปรุงการบริหารลูกค้าสัมพันธ์: ทำให้การจัดการปัญหาและคำร้องเรียนมีความรวดเร็วและราบรื่นมากขึ้น

CRM เหมาะกับธุรกิจขนาดไหน?

CRM หรือ Customer Relationship Management คือ ระบบที่เหมาะกับธุรกิจทุกขนาด ตั้งแต่ธุรกิจขนาดเล็กไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ เพราะระบบ CRM คือ เครื่องมือช่วยจัดการข้อมูลลูกค้าอย่างเป็นระบบ เพิ่มความสะดวกในการติดตามและดูแลลูกค้าให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ธุรกิจขนาดเล็กสามารถใช้ CRM เพื่อจัดการฐานข้อมูลลูกค้า ติดตามการสื่อสาร เช่น การโทรหรือส่งอีเมล และสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับลูกค้าโดยใช้ทรัพยากรที่จำกัดได้อย่างคุ้มค่า

สำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีฐานลูกค้าจำนวนมาก CRM ช่วยจัดระเบียบข้อมูลในระดับที่ซับซ้อน เช่น การวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า การแบ่งกลุ่มตลาด และการคาดการณ์แนวโน้มการซื้อในอนาคตของลูกค้า ช่วยให้องค์กร สามารถปรับแผนการตลาดให้ตรงความต้องการของลูกค้าได้รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น

นอกจากนี้ ยังช่วยให้ทีมงานทุกส่วน เช่น ฝ่ายขาย การตลาด และบริการลูกค้า สามารถประสานงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า ทำให้ CRM คือ ระบบที่ช่วยในการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การทำ Customer Relationship มีองค์ประกอบสำคัญอะไรบ้าง?

การทำ Customer Relationship คือ แนวคิดที่จะช่วยให้การทำการตลาดมีประสิทธิภาพ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบสำคัญหลายด้าน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าและส่งเสริมความภักดีต่อธุรกิจ โดยมีองค์ประกอบหลัก ได้แก่

  1. การจัดการข้อมูลลูกค้า: การเก็บรวบรวมและจัดการข้อมูลลูกค้าอย่างเป็ระบบ เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์ติดต่อ ประวัติการซื้อ และพฤติกรรมการใช้งาน ช่วยให้ธุรกิจเข้าใจความต้องการของลูกค้าแต่ละคน และสามารถเสนอสินค้าหรือบริการที่เหมาะสมได้ตรงจุด

  2. ระบบการทำงานและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ: ธุรกิจต้องสร้างช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย เช่น อีเมล โทรศัพท์ หรือโซเชียลมีเดีย เพื่อให้ลูกค้าสามารถติดต่อได้สะดวก รวมถึงการส่งข้อความที่ตรงกับความสนใจของลูกค้า

  3. การให้บริการที่เป็นมิตร: การตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างรวดเร็วและเป็นมิตร พร้อมแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยสร้างความประทับใจและส่งเสริมความไว้วางใจในธุรกิจ

  4. การวิเคราะห์ข้อมูลและการปรับปรุง: การใช้ข้อมูลลูกค้ามาวิเคราะห์แนวโน้มพฤติกรรม เช่น การซื้อซ้ำหรือการเลิกใช้บริการ และนำผลวิเคราะห์มาปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือบริการอย่างต่อเนื่อง

  5. การสร้างความสัมพันธ์ในระยะยาว: การรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า เช่น การมอบสิทธิพิเศษ การติดตามผลหลังการขาย และการแสดงความใส่ใจ จะช่วยสร้างความภักดี และกระตุ้นให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการซ้ำ

ขั้นตอนการนำระบบ CRM มาใช้ในองค์กร

การนำระบบ CRM มาใช้ในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพต้องมีการวางแผนและดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนหลัก ดังนี้

fb-5

ขั้นตอนที่ 1 กำหนดเป้าหมายของการใช้ CRM

เริ่มต้นด้วยการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนว่าต้องการใช้ CRM เพื่ออะไร เช่น เพิ่มยอดขาย ปรับปรุงบริการลูกค้า หรือสร้างความภักดีในระยะยาว จากนั้นทำความเข้าใจกับความต้องการขององค์กรและลูกค้า เพื่อเลือกฟีเจอร์และโซลูชัน CRM ที่เหมาะสม

ขั้นตอนที่ 2 วางแผนและเลือกระบบที่เหมาะสม

เลือกระบบ CRM ที่ตอบโจทย์ทั้งในด้านฟังก์ชันการทำงาน งบประมาณ และความสามารถในการขยายตัวตามการเติบโตของธุรกิจ ตัวอย่างระบบ CRM เช่น HubSpot, Salesforce หรือ Zoho CRM พร้อมทั้งพิจารณาการผสานรวมกับระบบอื่นในองค์กร เช่น ERP หรือระบบบัญชี

ขั้นตอนที่ 3 เตรียมความพร้อมของทีมงาน

จัดการฝึกอบรมและสร้างความเข้าใจให้กับพนักงานในทุกแผนกที่เกี่ยวข้อง เช่น ฝ่ายขาย การตลาด และบริการลูกค้า เพื่อให้ทุกคนรู้วิธีใช้งาน CRM อย่างถูกต้อง และเข้าใจบทบาทของตนในกระบวนการนี้

ขั้นตอนที่ 4 เริ่มต้นใช้งานและปรับแต่งระบบ

นำ CRM เข้าสู่การใช้งานจริงโดยเริ่มจากการตั้งค่าเบื้องต้น เช่น การนำเข้าข้อมูลลูกค้า การตั้งค่าฟีเจอร์พื้นฐาน และการเชื่อมต่อกับระบบอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ จากนั้นปรับแต่งให้เหมาะสมกับกระบวนการทำงานในองค์กรหรือรูปแบบของธุรกิจ

ขั้นตอนที่ 5 ติดตามผลและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

การจัดการ Customer Relationship คือ สิ่งที่จำเป็นต้องติดตามผล โดยหลังการใช้งาน ต้องมีการติดตามผลการดำเนินงาน เช่น ประสิทธิภาพของการขาย การตอบสนองต่อปัญหาลูกค้า และความพึงพอใจของผู้ใช้ โดยควร นำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์และปรับปรุงระบบ CRM เพื่อใช้ในการปรับกลยุทธ์การตลาดให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าและการบริการต่าง ๆ ให้ดียิ่งขึ้น

สรุป

Customer Relationship คือ กลยุทธ์สำคัญที่มุ่งสร้างความพึงพอใจและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าอย่างตรงจุด นอกจากจะช่วยเพิ่มยอดขายแล้ว ยังสร้างความเชื่อมั่นจนนำไปสู่ความจงรักภักดีต่อแบรนด์ในระยะยาว ดังนั้น ธุรกิจควรให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีและข้อมูลในการวิเคราะห์และเข้าใจลูกค้า เพื่อนำมาปรับปรุงกระบวนการบริการและดูแลให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีคุณภาพ

สนใจบริการ

คำถามที่พบบ่อย

สำหรับองค์กรที่ต้องการระบบ CRM ไปใช้งาน อาจยังมีข้อสงสัยว่า ซอฟต์แวร์ CRM คืออะไร และทำอะไรได้บ้าง เราได้รวบรวมคำตอบมาไว้ให้คุณแล้ว

ตําแหน่ง CRM คืออะไร?

ตำแหน่ง CRM หรือ Customer Relationship Manager คือ บทบาทในองค์กรที่มีหน้าที่หลักในการจัดการ Customer Relationship หรือการบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยใช้กลยุทธ์และเครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า สร้างความสัมพันธ์ในระยะยาว และสนับสนุนเป้าหมายทางธุรกิจ โดยมีหน้าที่หลัก ๆ ดังนี้

  1. วางแผนและพัฒนากลยุทธ์ CRM: สร้างแผนงานและกำหนดกลยุทธ์เพื่อพัฒนาประสบการณ์ลูกค้า เช่น การแบ่งกลุ่มลูกค้า การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก และการออกแบบแคมเปญการตลาดเฉพาะกลุ่ม

  2. บริหารจัดการระบบ CRM: ดูแลและปรับแต่งระบบ CRM ให้เหมาะสมกับการทำงานในองค์กร รวมถึงการเชื่อมต่อกับทีมขาย การตลาด และบริการลูกค้า

  3. วิเคราะห์และใช้ข้อมูลลูกค้า: ใช้ข้อมูลลูกค้า เช่น ประวัติการซื้อ พฤติกรรมการใช้งาน และความต้องการ เพื่อออกแบบแคมเปญหรือข้อเสนอที่ตรงใจและสร้างความพึงพอใจ

  4. ปรับปรุงความสัมพันธ์กับลูกค้า: ติดตามปัญหาและความพึงพอใจของลูกค้า พร้อมหาแนวทางแก้ไขเพื่อรักษาความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างความไว้วางใจในระยะยาว

  5. ฝึกอบรมและประสานงานทีมงาน: ช่วยให้ทีมงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ฝ่ายขายหรือฝ่ายสนับสนุนลูกค้า เข้าใจเป้าหมายและการใช้ระบบ CRM อย่างถูกต้อง เพื่อประสานการทำงานให้มีประสิทธิภาพ

ซอฟต์แวร์ CRM คืออะไร?

ซอฟต์แวร์ CRM ย่อมาจาก Customer Relationship Management Software คือ ระบบที่ช่วยองค์กรบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยรวบรวมข้อมูลลูกค้า เช่น ประวัติการติดต่อ พฤติกรรมการซื้อ และความต้องการ เพื่อนำไปใช้ในงานขาย การตลาด และการบริการลูกค้า

ซอฟต์แวร์นี้ สามารถช่วยเพิ่มความสะดวกในการติดตามลูกค้า สร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น และสนับสนุนการตัดสินใจการใช้กลยุทธ์และแผนการตลาดต่าง ๆ ขององค์กร ตัวอย่างซอฟต์แวร์ CRM ที่นิยมที่มีประสิทธิภาพ เช่น HubSpot

CRM มีประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างไรบ้าง?

CRM หรือ การจัดการ Customer Relationship คือ ระบบที่มีประโยชน์ต่อธุรกิจในหลายด้าน โดยช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการลูกค้าและส่งเสริมความสำเร็จขององค์กรในระยะยาว ประโยชน์สำคัญ ได้แก่

  1. เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า: CRM ช่วยให้ธุรกิจติดตามข้อมูลและพฤติกรรมของลูกค้าได้แบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้รวดเร็ว

  2. สนับสนุนการขายและการตลาด: ระบบ CRM ช่วยให้ทีมขายสามารถจัดการกระบวนการขายอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การติดตาม Lead ซึ่ง Lead คือ กลุ่มเป้าหมายที่สนใจสินค้าและบริการ และการวิเคราะห์ข้อมูล เหล่านี้ เพื่อปรับกลยุทธ์การตลาด ส่วนทีมการตลาดสามารถสร้างแคมเปญที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายและติดตามผลลัพธ์ได้ชัดเจน

  3. บริหารลูกค้าสัมพันธ์และสร้างความภักดี: CRM ช่วยให้ธุรกิจสามารถติดตามและดูแลลูกค้าเดิมได้อย่างต่อเนื่อง เช่น การส่งข้อความขอบคุณ การให้สิทธิพิเศษ หรือการจัดการบริการหลังการขาย ซึ่งช่วยสร้างความไว้วางใจและความภักดี

  4. ปรับปรุงการทำงานภายในองค์กร: ระบบ CRM ช่วยให้ทีมงานทุกฝ่าย เช่น ฝ่ายขาย การตลาด และฝ่ายบริการลูกค้า สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น โดยใช้ข้อมูลที่อัปเดตและครบถ้วนในระบบเดียว

  5. สนับสนุนการตัดสินใจ: ด้วยข้อมูลและการวิเคราะห์ที่ได้จาก CRM ผู้บริหารสามารถมองเห็นแนวโน้มของตลาด พฤติกรรมลูกค้า และประสิทธิภาพของทีมงาน ซึ่งช่วยในการวางแผนและปรับกลยุทธ์ธุรกิจให้เหมาะสม

ระบบ CRM ทำอะไรได้บ้าง?

ระบบ CRM มีความสามารถหลากหลายในการจัดการและพัฒนาความสัมพันธ์กับลูกค้า ช่วยธุรกิจเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างความสำเร็จในระยะยาว โดยระบบ CRM สามารถทำได้ดังนี้

  • การจัดการข้อมูลลูกค้า: เก็บรวบรวมข้อมูลลูกค้า เช่น ข้อมูลการติดต่อ ประวัติการซื้อ และพฤติกรรมการใช้งาน ช่วยจัดการฐานข้อมูลลูกค้าให้เป็นระเบียบ และช่วยแบ่งกลุ่มลูกค้าตามลักษณะหรือความต้องการ

  • การบริหารขั้นตอนการขาย: ช่วยในติดตามโอกาสในการขาย หรือ Sales Pipeline ตั้งแต่เริ่มต้นจนปิดการขาย

  • การวางแผนและดำเนินการตลาด: สร้างและส่งแคมเปญการตลาดแบบเฉพาะเจาะจง เช่น อีเมลหรือ ติดตามผลแคมเปญ อัตราการเปิดอีเมล หรือการตอบสนองของลูกค้า และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อปรับปรุงกลยุทธ์การตลาดให้มีประสิทธิภาพ

  • การเชื่อมต่อและทำงานร่วมกัน: ระบบ CRM สามารถเชื่อมโยงกับระบบอื่นในองค์กร เช่น ERP ระบบบัญชี หรือเครื่องมือการตลาด ช่วยให้ทีมงานทั้งฝ่ายขายและการตลาด ทำงานร่วมกันบนข้อมูลชุดเดียวกัน
Scroll to Top