CRM คืออะไร? ระบบจัดการลูกค้าที่ธุรกิจยุคใหม่ขาดไม่ได้

CRM คือ?

Table of Contents

Customer Relationship Management (CRM) คืออะไร และทำไมเจ้าของกิจการควรสนใจ

ระบบ CRM คือ? ปัจจุบัน CRM หรือ Customer Relationship Management ถือเป็น ระบบบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า ซึ่งเป็นกลยุทธ์สำคัญในการดำเนินธุรกิจยุคดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจ SME ที่ต้องการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

ในภาวะที่การแข่งขันทางธุรกิจที่สูงมากยิ่งขึ้น ซึ่งการนำ CRM Systems มาใช้ไม่เพียงแต่ช่วยรักษาฐานลูกค้าเดิม แต่ยังเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน ผ่านการสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับลูกค้าและการนำเสนอบริการที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า ทำให้ธุรกิจของคุณได้เปรียบกว่าคู่แข่ง และในบทความนี้ เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับระบบนี้มากยิ่งขึ้น

ทำความรู้จักกับระบบ CRM คืออะไร?

CRM ย่อมาจาก ‘Customer Relationship Management’ โดยหัวใจของ CRM คือ ระบบจัดลูกค้าที่ใช้บริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าแบบครบวงจร ซึ่งในปัจจุบัน CRM จะเข้าใจในความหมายเดียวกันว่า CRM คือ หมายถึงซอฟต์แวร์ หรือระบบที่มีจุดประสงค์ เพื่อใช้วิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า ติดตามความต้องการของลูกค้า พฤติกรรมการซื้อขาย และสร้างความพึงพอใจในการบริการลูกค้า ถือเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญในการทำธุรกิจ ซึ่งช่วยสามารถรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าได้ 

ทำความรู้จักกับระบบ CRM คืออะไร

 

องค์ประกอบหลักของ CRM จะประกอบไปด้วย

    • การเก็บข้อมูลลูกค้า: เช่น ประวัติการติดต่อ ข้อมูลส่วนตัว และพฤติกรรมการซื้อ
    • การวิเคราะห์ข้อมูล: เช่น คาดการณ์ความต้องการลูกค้า วิเคราะห์แนวโน้มการขาย และวัดประสิทธิภาพการขาย เพื่อนำไปใช้ปรับแผนการทำการตลาด
    • ประโยชน์สำหรับธุรกิจ: การเพิ่มยอดขาย ช่วยเจาะลึกข้อมูลทำให้เข้าใจลูกค้ามากขึ้น รวมถึงยังสามารถนำไปปรับการให้บริการลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความแตกต่างระหว่าง B2B CRM vs. B2C CRM

การจัดการความสัมพันธ์ลูกค้า CRM ในธุรกิจแบบ B2B (Business to Business) และ B2C (Business to Consumer) มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน เนื่องจากลักษณะของลูกค้าและกระบวนการธุรกิจที่ไม่เหมือนกัน รายละเอียดดังนี้

    • ลูกค้าใน B2B CRM: คือ องค์กรหรือบริษัท ซึ่งการตัดสินใจซื้อเกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย เช่น ผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือทีมจัดซื้อ กระบวนการตัดสินใจจึงซับซ้อนและยาวนานกว่า โดยจะมุ่งเน้นการสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้า และข้อตกลงในระยะยาว
    • ลูกค้าใน B2C CRM: คือ ลูกค้ารายบุคคล การตัดสินใจซื้อที่มีความต้องการที่มีความเฉพาะแต่ละบุคคล และความสะดวกในการซื้อ เน้นการเพิ่มยอดขายทันที การรักษาลูกค้าประจำ และการกระตุ้นการซื้อซ้ำ

การทำ CRM เหมาะกับธุรกิจประเภทไหน?

ระบบ CRM คือ ระบบที่สามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับการทำธุรกิจได้ทุกประเภท โดยธุรที่นิยมใช้ระบบ CRM ในการจัดการลูกค้าได้แก่ 

    • ธุรกิจ B2B: การทำ CRM เหมาะสำหรับธุรกิจ B2B หรือธุรกิจที่มีการทำงานที่เป็นระบบต่อเนื่อง ทำให้ที่ต้องจำเป็นต้องบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าเป็นอย่างดี เช่น Digital Marketing Agency
    • ธุรกิจ B2C: ธุรกิจ B2C หรือธุรกิจสินค้าประเภท High involvement ที่จำเป็นต้องหาข้อมูล และไตร่ตรองให้ดีก่อนซื้อ เช่น อสังหาริมทรัพย์ หรือรถยนต์
    • ธุรกิจที่มีทีมการตลาด: โดยการประสานงานในแต่ละทีมเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่ง ระบบ CRM สามารถช่วยให้การทำงานของทีมการตลาดง่ายขึ้น และช่วยลดขั้นตอนการทำงาน ส่งผลให้สามารถพัฒนาการการตลาดในการทำธุรกิจให้มีประสิทธิภาพได้ดียิ่งขึ้น

10 ประโยชน์ของกลยุทธ์ CRM ที่เจ้าของธุรกิจต้องรู้! หากเริ่มช้าไปคุณอาจเสียลูกค้ามหาศาล

CRM คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร? แน่นอนว่าสำหรับการทำธุรกิจ การบริหารจัดการลูกค้า เป็นสิ่งที่ท้าทายเป็นอย่างมาก เพราะหากคุณมองข้ามไป อาจทำให้ธุรกิจของคุณสูญเสียโอกาสในการสร้างยอดขาย ซึ่งประโยชน์ของ CRM มีดังนี้

ประโยชน์ของกลยุทธ์ CRM

 

1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขาย

การใช้ระบบ CRM ช่วยให้ธุรกิจสามารถบริหารจัดการกระบวนการขายได้ดียิ่งขึ้น 

    • ติดตามลูกค้าอย่างเป็นระบบ: สามารถเก็บข้อมูลและติดตามลูกค้าได้ เช่น การติดตามข้อมูล ประวัติการสนทนา หรือการปิดการขาย
    • คาดการณ์ยอดขายล่วงหน้า: สามารถนำข้อมูลของลูกค้าที่รวบรวมไว้ นำมาใช้ในการประเมินแนวโน้มยอดขายในอนาคต
    • ลดเวลาในการจัดการลูกค้า: ลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน เช่น การหาข้อมูลลูกค้า และช่วยให้ทีมขายสามารถโฟกัสไปที่แผนการตลาดเพื่อสร้างยอดขายได้อย่างเต็มที่

2. ทำให้เข้าใจพฤติกรรมลูกค้าได้อย่างลึกซึ้ง

ระบบ CRM สามารถช่วยวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น

    • วิเคราะห์ความต้องการรายบุคคล: ระบบช่วยให้ธุรกิจสามารถเข้าใจความต้องการของลูกค้าเพื่อให้บริการที่ตรงใจ
    • สร้างประสบการณ์ที่ตรงใจ: เมื่อทราบถึงความต้องการ ก็ทำให้สามารถนำเสนอสินค้าและบริการที่ตรงกับความต้องการได้อย่างตรงจุด
    • ออกแบบสินค้าและบริการได้ตรงเป้า: ข้อมูลและความต้องการของลูกค้า สามารถนำไปใช้เพื่อปรับปรุงหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ตลาดได้มากยิ่งขึ้น

 

3. การบริการลูกค้าที่ดี

หัวใจสำคัญของ CRM คือ การบริการลูกค้าที่ดี ช่วยเพิ่มความพึงพอใจและความภักดีต่อแบรนด์

    • ตอบสนองรวดเร็ว: ลดเวลาในการตอบคำถามหรือแก้ไขปัญหาของลูกค้า
    • แก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ: มีข้อมูลพร้อมให้บริการ ทำให้แก้ปัญหาได้ตรงจุด
    • สร้างความประทับใจ: เสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของแบรนด์ให้เข้าไปอยู่ในใจลูกค้า

4. รักษาฐานลูกค้าเดิม

การรักษาลูกค้าเดิม ทำให้มั่นใจได้ว่า สามารถสร้างยอดขายได้จากการกลับมาซื้อหรือใช้บริการซ้ำ อีกทั้งต้นทุนในการรักษาลูกค้าเดิมมักต่ำกว่าการหาลูกค้าใหม่ 

    • ติดตามอย่างต่อเนื่อง: สร้างความรู้สึกว่าได้รับการดูแล
    • สร้างความภักดี: เสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน
    • ลดการสูญเสียลูกค้า: ป้องกันลูกค้าหันไปใช้บริการคู่แข่ง

5. เพิ่มโอกาสขาย

ระบบ CRM ช่วยให้ทีมขายเข้าใจโอกาสในการขายสินค้าอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้น 

    • การเสนอสินค้าเหมาะสม: ข้อมูลของลูกค้า สามารถนำมาใช้วิเคราะห์ข้อมูลในการซื้อขาย เพื่อแนะนำสินค้าหรือบริการอื่น ๆ ที่มีความใกล้เคียงกัน
    • แนะนำสินค้าตามพฤติกรรม: ใช้ข้อมูลลูกค้าในการปรับข้อเสนอ เพื่อให้สามารถซื้อขายสินตชค้าหรือบริการที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น
    • เพิ่มมูลค่าการซื้อ: ส่งเสริมการขายที่ตอบโจทย์ลูกค้า ซึ่งจะช่วยทำให้ธุรกิจสร้างมูลค่ายอดขายได้มากกว่าเดิม

6. ลดต้นทุนการตลาด

การทำตลาดที่มีการวางแผนและนำข้อมูลของลูกค้ามาเพื่อช่วยปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสม จะช่วยทำให้ทำการตลาดได้แม่นยำและช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น

    • เข้าถึงลูกค้าตรงกลุ่ม: ใช้ข้อมูล CRM ในการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย
    • ลดค่าใช้จ่ายโฆษณา: หลีกเลี่ยงการลงทุนในช่องทางที่ไม่เหมาะสม
    • สร้างแคมเปญอย่างมีประสิทธิภาพ: พัฒนาเนื้อหาและกลยุทธ์ที่เหมาะสมและเหมาะกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

 

7. การตัดสินใจที่แม่นยำ

ข้อมูลจาก CRM ช่วยให้การตัดสินใจมีประสิทธิภาพมากขึ้น

    • วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก: เข้าใจแนวโน้มและพฤติกรรมลูกค้า
    • คาดการณ์แนวโน้มธุรกิจ: คาดการณ์ความเปลี่ยนแปลงในตลาด
    • วางแผนกลยุทธ์อย่างถูกต้อง: ใช้ข้อมูลเพื่อกำหนดทิศทางธุรกิจ

8. สร้างภาพลักษณ์องค์กร

การจัดการข้อมูลและการสื่อสารผ่าน CRM ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร

    • สื่อสารอย่างมืออาชีพ: ใช้ข้อมูลในการสร้างแคมเปญการตลาดที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า
    • สร้างความน่าเชื่อถือ: การติดตามข้อมูลของลูกค้าและเข้าใจความต้องการของพวกเขา ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าธุรกิจเข้าใจและใส่ใจ
    • สร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง: ใช้ข้อมูลลูกค้า เพื่อพัฒนาจุดเด่นของธุรกิจให้โดนใจลูกค้า

9. ปรับปรุงกระบวนการทำงาน

CRM ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและช่วยลดขั้นตอนในการทำงานให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

    • ลดความซ้ำซ้อน: การเชื่อมต่อข้อมูลของลูกค้าจากหลาย ๆ แพลตฟอร์มมารวมในที่เดียว ทำให้เรียกใช้ข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น
    • เพิ่มประสิทธิภาพทีมงาน: ช่วยให้ทีมงานเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น
    • การทำงานในแต่ละทีมง่ายขึ้น: สนับสนุนการทำงานร่วมกันของทุกทีม ทั้งทีมขาย ทีมการตลาด และทีมบริการลูกค้า ทำงานร่วมกันได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

10. รองรับการเติบโตและการขยายธุรกิจในอนาคต

การใช้ CRM เป็นรากฐานสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนของการเติบโตของธุรกิจในอนาคต

    • เข้าใจตลาดและลูกค้า: ใช้ข้อมูลในการขยายตลาดหรือกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ
    • สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน: พัฒนากลยุทธ์ที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ทำให้สามารถเข้าใจความต้องการของลูกค้า และสามารถพัฒนากลยุทธ์การตลาดที่ตรงใจลูกค้าได้มากที่สุด
    • วางแผนเติบโตระยะยาว: ใช้ข้อมูลเพื่อกำหนดเป้าหมายในอนาคต

การใช้ Customer Relationship Management คือ กลยุทธ์สำคัญ ที่ช่วยให้ธุรกิจเติบโต อีกทั้งยังช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับลูกค้า พร้อมกับเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาดได้เป็นอย่างดี

หากอยากเริ่มวางแผนระบบ CRM ทำไมต้องให้ CIPHER ดูแล

การเริ่มต้นใช้งานระบบ CRM หรือ Customer Relationship Management คือ การสร้างรากฐานที่มั่นคงให้กับธุรกิจในอนาคต ซึ่งไม่ใช่เพียงการเลือกเครื่องมือหรือซอฟต์แวร์ แต่ยังเกี่ยวข้องกับการวางกลยุทธ์ การปรับกระบวนการธุรกิจ และการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดย CIPHER โดดเด่นในฐานะผู้เชี่ยวชาญที่สามารถตอบโจทย์ธุรกิจของคุณได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ

CIPHER มีทีมงานที่เชี่ยวชาญและเข้าใจถึงจุดเด่นและข้อจำกัดของแต่ละระบบ ระบบ CRM เช่น HubSpot ที่สามารถใช้ในการส่ง Email Marketing ด้วยระบบ CRM ซึ่งเป็นบริการส่ง Email Marketing เพื่อโปรโมตธุรกิจ ซึ่งเหมาะสมกับธุรกิจและอุตสาหกรรมที่หลากหลาย 

ไม่เพียงแค่ติดตั้งระบบ CRM แต่ยังปรับแต่งให้ตรงกับความต้องการเฉพาะของคุณ เช่น การตั้งค่าฟีเจอร์ การเชื่อมต่อกับระบบอื่น ๆ และที่สำคัญทีมงานของคุณจะได้รับการฝึกอบรมจากบริการ CRM Traning อย่างครบถ้วน เพื่อให้มั่นใจว่าทุกคนสามารถใช้งานระบบ CRM ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

สนใจบริการ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ CRM

สำหรับแบรนด์หรือเจ้าของธุรกิจที่ต้องการใช้งานระบบ CRM เราได้รวบรวมคำถามเกี่ยวกับระบบ CRM เพื่อให้คุณได้เข้าใจถึงการทำงานของระบบนี้มากยิ่งขึ้น

CRM ทำหน้าที่อะไร?

CRM Systems หรือ Customer Relationship Management คือ ระบบการจัดการความสัมพันธ์ลูกค้า ที่ช่วยให้ธุรกิจ สามารถบริหารจัดการความสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย CRM มีหน้าที่สำคัญดังนี้

  • เก็บและจัดการข้อมูลลูกค้า: เช่น ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล ประวัติการซื้อสินค้า/บริการ รวมถึงการติดต่อผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น อีเมล โทรศัพท์ หรือโซเชียลมีเดีย โดยข้อมูลทั้งหมดจะถูกจัดเก็บในฐานข้อมูลที่เรียบง่ายและค้นหาได้สะดวก
  • ติดตามและวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า: โดยจะนำข้อมูลจากระบบมาใช้วิเคราะห์ค้าเพื่อ เข้าใจพฤติกรรมและความต้องการ ความพึงพอใจ และนำไปใช้คาดการณ์โอกาสในการขาย
  • ใช้สำหรับรักษาความสัมพันธ์ระยะยาว: โดย CRM ใช้เพื่อมุ่งเน้นการสร้างและรักษาความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้าด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการซื้อหรือใช้บริการซ้ำ 
  • ใช้สำหรับเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในองค์กร: ช่วยให้ทีมงานในส่วนต่าง ๆ เช่น ฝ่ายขาย การตลาด และบริการลูกค้า ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยลดความซ้ำซ้อนในกระบวนการทำงาน

ขั้นตอนการทำ CRM มีกี่ขั้นตอน?

การสร้างระบบ CRM ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนหลัก ที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถนำระบบไปปรับใช้และสร้างผลลัพธ์ที่ยั่งยืน ดังนี้

  1. สร้างการรับรู้แบรนด์: โดยการศึกษาข้อมูลของกลุ่มเป้าหมาย และสร้างแคมเปญเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย
  2. สร้างกลุ่มเป้าหมายการขาย: เมื่อแบรนด์หรือธุรกิจเป็นที่รู้จัก ก็สามารถเสนอโปรโมชันเพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย
  3. เปลี่ยนเป้าหมายให้กลายเป็นลูกค้า: ใช้ข้อมูลเพื่อวิเคราะห์แนวโน้มของกลุ่มเป้าหมายที่มีโอกาสเป็นลูกค้าสูงสุด และติดตามความคืบหน้าเพื่อเพิ่มโอกาสหรือช่องทางในการขาย
  4. มอบการบริการลูกค้าที่ดี: การบริการที่ดีส่งผลให้ลูกค้าเดิมกลับมาซื้อซ้ำ
  5. กระตุ้นการขายเพิ่ม: การติดต่อหรือสอบถามลูกค้า เพื่อเสนอสินค้าหรือบริการที่ดีกว่า เพื่อกระตุ้นยอดขาย

หลัก 8 ประการของ CRM มีอะไรบ้าง?

  1. CRM สร้างรายได้ได้จริง: เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และกลยุทธ์ธุรกิจมากกว่าการลงทุนด้วยเทคโนโลยีที่มีราคาสูง
  2. ช่วยรับมือปัญหาของลูกค้าได้: ใช้ความต้องการของลูกค้าเป็นเกณฑ์ในการพัฒนาสินค้าและบริการ
  3. ควบคุมกลยุทธ์การขายได้: ลดความซับซ้อนในกระบวนการขายและใช้เทคโนโลยีช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ
  4. มีกลยุทธ์ที่ครอบคลุมเพื่อการบริการลูกค้า: เน้นการบูรณาการข้อมูลลูกค้าให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งด้าน Cross Selling และ Up Selling
  5. การจัดการความเสี่ยงของ CRM: ควรมีการปรับแต่งซอฟต์แวร์ให้เหมาะกับธุรกิจและแผนกต่าง ๆ เพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพ
  6. การบริการลูกค้าเพื่อรักษาลูกค้า: เพิ่มความพึงพอใจลูกค้า เพื่อลดความเสี่ยงในการสูญเสียลูกค้าในระยะยาว
  7. CRM เหมาะกับทุกสถานการณ์: การแก้ปัญหาที่ทรงประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับการเข้าถึงและประยุกต์ใช้ที่เหมาะสม
  8. สร้างเว็บไซต์ให้เกิดประโยชน์: ใช้เว็บไซต์เป็นเครื่องมือเสริมการบริการ และตรวจสอบฟังก์ชันใหม่ ๆ ก่อนนำมาใช้งาน

วัตถุประสงค์การบริการลูกค้าสัมพันธ์มีอะไรบ้าง?

  1. สร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า: โดยมุ่งเน้นการตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ตรงจุด และสร้างประสบการณ์ที่ดี
  2. สร้างความภักดีในระยะยาว: สร้างความสัมพันธ์เชิงลึกเพื่อให้ลูกค้าอยู่กับแบรนด์นานขึ้น
  3. เพิ่มโอกาสในการขาย: ส่งเสริมการขายเพิ่มเติม Cross Selling และการขายสินค้ารุ่นที่ดีกว่า Up Selling
  4. รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า: ใช้ข้อมูลในการทำความเข้าใจพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้า
  5. ปรับปรุงการบริการลูกค้า: เพิ่มความรวดเร็วและความแม่นยำในการให้บริการ
  6. ลดต้นทุนการดำเนินงาน: ลดความซ้ำซ้อนของกระบวนการ และใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
  7. รักษาฐานลูกค้าเดิม: ลดอัตราการสูญเสียลูกค้าโดยการติดตามความพึงพอใจอย่างต่อเนื่อง
  8. เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน: ใช้ข้อมูลลูกค้าเพื่อพัฒนากลยุทธ์ที่ตอบโจทย์ตลาด
  9. สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร: แสดงถึงความใส่ใจและความเชี่ยวชาญในการดูแลลูกค้า
  10. สนับสนุนการวางแผนเชิงกลยุทธ์: ใช้ข้อมูลจากระบบ CRM ในการกำหนดแนวทางธุรกิจที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
Scroll to Top