5 ขั้นตอนการวางแผนสร้างเว็บไซต์ สิ่งที่ธุรกิจต้องรู้

5 ขั้นตอนการวางแผนสร้างเว็บไซต์

Table of Contents

5 ขั้นตอนการวางแผนสร้างเว็บไซต์ ก่อนเริ่มมีเว็บไซต์ต้องรู้อะไรบ้าง?

“เว็บไซต์” เปรียบเสมือนหน้าต่างสู่โลกดิจิทัลสำหรับธุรกิจยุคใหม่ ซึ่งเว็บไซต์ไม่ใช่เพียงแค่ช่องทางออนไลน์ แต่เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างตัวตนและความน่าเชื่อถือให้กับองค์กร การออกแบบเว็บไซต์ จึงเป็นสิ่งจำเป็น ด้วยการทำ SEO ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเว็บไซต์จะช่วยให้คุณสร้างการรับรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น พร้อมทั้งสร้างภาพลักษณ์ความเป็นมืออาชีพให้กับธุรกิจของคุณ

การสร้างเว็บไซต์ไม่ใช่แค่การมีหน้าตาออนไลน์ที่สวยงาม ก่อนจะลงมือสร้างเว็บไซต์ จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนที่รอบคอบ เพื่อให้ได้เว็บไซต์ที่ตรงใจ ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า และตอบโจทย์รูปแบบธุรกิจ โดยในบทความนี้จะพาคุณไปสำรวจ “ขั้นตอนการวางแผนสร้างเว็บไซต์” อย่างละเอียด เพื่อให้คุณมั่นใจว่าเว็บไซต์ของคุณจะประสบความสำเร็จ!

ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองไหม?

ปัจจุบันการทำการตลาดออนไลน์ออนไลน์ ได้กลายเป็นเรื่องท้าทายที่ธุรกิจทุกรูปแบบต้องเผชิญ เพราะพฤติกรรมของผู้คนเปลี่ยนไป เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ ก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย ทำให้การสร้างเว็บไซต์เป็นของตัวเอง จึงไม่ใช่แค่ “ตัวเลือก” แต่กลายเป็น “สิ่งจำเป็น” สำหรับธุรกิจและผู้ประกอบการ โดยเหตุผลสำคัญที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองมีดังนี้

ทำไมผู้ประกอบการต้องมีเว็บไซต์
  •  
    • สร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจ: เว็บไซต์เป็นเหมือนหน้าร้านออนไลน์ที่แสดงถึงตัวตนและภาพลักษณ์ของแบรนด์ การมีเว็บไซต์ที่ออกแบบอย่างมืออาชีพช่วยสร้างความไว้วางใจให้กับลูกค้า 
    • เป็นแหล่งข้อมูลที่ลูกค้าค้นหาได้ตลอดเวลา: ลูกค้าส่วนใหญ่ค้นหาข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตก่อนตัดสินใจซื้อสินค้าหรือใช้บริการ การมีเว็บไซต์ช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงสินค้าและบริการได้ตลอดเวลา ซึ่งเพิ่มโอกาสในการขายได้มากยิ่งขึ้น
    • สร้างช่องทางการขายได้มากขึ้น: แม้ว่าการใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook หรือ Instagram จะช่วยโปรโมตสินค้าและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ แต่หากบัญชีถูกปิดกั้นบัญชี หรืออัลกอริทึมเปลี่ยนแปลง การมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง จะช่วยให้ไม่สูญเสียโอกาสในการทำการตลาดและการขาย
    • เพิ่มโอกาสในการสร้างการรับรู้: เว็บไซต์ที่มีการปรับแต่ง SEO อย่างเหมาะสม สามารถช่วยให้แบรนด์หรือธุรกิจของคุณปรากฏในผลการค้นหา เช่น Google หรือ Bing ได้ ทำให้คุณเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้นโดยไม่ต้องเสียค่าโฆษณา
    • รองรับการขยายธุรกิจในอนาคต: ขั้นตอนการวิเคราะห์และวางแผนงานธุรกิจ E-Commerce โดยการสร้างเว็บไซต์สำหรับใช้ขยายธุรกิจในอนาคต เป็นสิ่งแบรนด์หรือธุรกิจส่วนใหญ่นิยมใช้กัน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ

องค์ประกอบของเนื้อหาเว็บไซต์มีอะไรบ้าง ?

เว็บไซต์ที่ดีควรมีโครงสร้างที่ชัดเจนและใช้งานง่าย โดยเนื้อหาหลักของเว็บไซต์ เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยทำให้เว็บไซต์มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วนสำคัญ ได้แก่ ส่วนหัวของหน้าเว็บไซต์ (Page Header) ส่วนเนื้อหา (Page Body) และ ส่วนท้าย (Page Footer) ซึ่งแต่ละส่วนมีรายละเอียดดังนี้

1. ส่วนหัวของหน้าเว็บไซต์ (Page Head)

ส่วนหัวของหน้าเว็บไซต์ เป็นจุดเริ่มต้นที่ผู้ใช้งานจะเห็นเป็นอย่างแรก เมื่อกดเข้าชมเว็บไซต์ โดยส่วนหัวของเว็บไซต์ จะมีหน้าที่ช่วยนำทางและสื่อสารตัวตนของแบรนด์ ซึ่งจะประกอบไปด้วย

    • โลโก้: เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยแสดงเอกลักษณ์ของแบรนด์
    • เมนูนำทาง (Navigation Menu): ลิงก์ไปยังส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ เช่น หน้าแรก  สินค้า/บริการ เกี่ยวกับเรา และติดต่อเรา
    • แถบค้นหา (Search Bar): ช่วยให้ผู้ใช้งานค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
    • การเรียกใช้งาน (Call-to-Action): เช่น ปุ่ม สมัครสมาชิก สั่งซื้อ หรือเข้าสู่ระบบ
    • ช่องทางการติดต่อ: เช่น หมายเลขโทรศัพท์ หรือไอคอนโซเชียลมีเดีย

2. ส่วนเนื้อหา (Page Body)

ส่วนเนื้อหา เป็นส่วนหลักที่ใช้สำหรับนำเสนอข้อมูลที่ผู้ใช้งานต้องการทราบ โดยภาพรวมของส่วนที่เป็นเนื้อหา ควรมีการจัดวาง Lay Out ให้เรียบร้อย เพื่อใช้จัดวางข้อมูลและองค์ประกอบต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบ ในส่วนของเนื้อหาจะประกอบไปด้วยส่วนสำคัญต่าง ๆ ดังนี้

    • หัวข้อหลัก (Headline): ควรมีความชัดเจนและดึงดูดความสนใจ
    • ข้อความและเนื้อหา: ควรใช้ข้อความที่เข้าใจง่ายและสื่อสารได้ตรงจุด ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารข้อมูลสินค้า บริการ หรือข้อความที่ธุรกิจต้องการนำเสนอ
    • รูปภาพหรือวิดีโอ: องค์ประกอบเหล่านี้ จะช่วยเสริมเนื้อหาให้เข้าใจง่ายและน่าสนใจมากขึ้น
    • กราฟิกหรือแอนิเมชัน: ใช้กราฟิกที่น่าสนใจเพื่อเพิ่มความทันสมัยและดึงดูดสายตา
    • การเรียกใช้งาน (CTA): สำหรับเว็บไซต์ธุรกิจ ควรวางปุ่ม CTA แทรกตามเนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการ เพื่อกระตุ้นให้ผู้ใช้งานดำเนินการ เช่น ดาวน์โหลดเอกสาร หรือซื้อสินค้า

3. ส่วนท้าย (Page Footer)

ส่วนท้าย เป็นส่วนสรุปข้อมูลสำคัญและช่องทางเพิ่มเติมสำหรับผู้ใช้งาน ในขั้นตอนการวางแผนสร้างเว็บไซต์ บางคนอาจมองข้ามส่วนนี้ไป ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ควรมองข้าม เพราะเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ช่วยยืนยันตัวตนและสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์หรือธุรกิจ ว่ามีตัวตนอยู่จริง ซึ่งส่วนท้ายจะประกอบไปด้วย

    • ข้อมูลติดต่อ: เช่น ที่อยู่, เบอร์โทรศัพท์, และอีเมล
    • ลิงก์สำคัญ: เช่น นโยบายความเป็นส่วนตัว หรือเงื่อนไขการใช้บริการ
    • ช่องทางโซเชียลมีเดีย: ลิงก์ไปยังโซเชียลมีเดีย เช่น  Facebook, Instagram, หรือ LinkedIn
    • ลิขสิทธิ์ (Copyright Statement): เช่น “© 2024 ชื่อบริษัท. สงวนลิขสิทธิ์”

ทำไมต้องวางแผนก่อนสร้างเว็บไซต์ ?

การวางแผนอย่างรอบคอบก่อนพัฒนาเว็บไซต์ เป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จสำหรับทุกธุรกิจ เพราะเว็บไซต์ในปัจจุบันไม่ใช่แค่หน้าร้านออนไลน์เท่านั้น แต่เป็นเครื่องมือหลัก ในการสร้างตัวตนแบรนด์ ช่วยขับเคลื่อนยอดขาย และรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า 

การขาดแผนงานที่ชัดเจนอาจส่งผลให้สิ้นเปลืองทั้งงบประมาณและเวลา อีกทั้งอาจได้เว็บไซต์ที่ไม่ตอบโจทย์ รวมถึงยังใช้งบประมาณและเวลาเกินความจำเป็นอีกด้วย และเพื่อให้การสร้างเว็บไซต์ได้ออกมามีประสิทธิภาพ เรามาดูชั้นตอนการวางแผนสร้างเว็บไซต์ 5 ชั้นตอน ที่จะทำให้เว็บไซต์ของคุณประสบความสำเร็จ!

5 ขั้นตอนการวางแผนสร้างเว็บไซต์

การสร้างเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพ ไม่ใช่เรื่องง่าย ทำให้การวางแผนสร้างเว็บไซต์ ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญที่จะช่วยให้คุณได้เว็บไซต์ที่ตอบโจทย์ธุรกิจ และสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้ใช้งานได้ และนี่ คือ ชั้นตอนการวางแผนสร้างเว็บไซต์ 5 ชั้นตอน ที่จะทำให้เว็บไซต์ของคุณประสบความสำเร็จ มีดังนี้

ขั้นตอนการวางแผนสร้างเว็บไซต์

 

1. กำหนดเป้าหมายของเว็บไซต์

การกำหนดเป้าหมายของเว็บไซต์ เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยกำหนดแนวทางการออกแบบ การพัฒนา และการจัดการเนื้อหาอย่างเหมาะสม อีกทั้งยังทำให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ สามารถมองเห็นภาพรวมของเว็บไซต์ของคุณได้ทันที โดยเป้าหมายหลักของเว็บไซต์ สามารถแบ่งออกเป็นประเภทหลัก ๆ 3 ประเภท ดังนี้

    • เว็บไซต์เพื่อขายสินค้า (E-Commerce): เป็นเว็บไซต์ที่เน้นการขายสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์ ช่วยเพิ่มยอดขายและลดต้นทุนการดำเนินธุรกิจ 
    • เว็บไซต์เพื่อให้ข้อมูล (Informational): เป็นเว็บไซต์สำหรับสร้างการรับรู้และให้ข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์ ธุรกิจ หรือองค์กร ซึ่งจะเน้นการให้ข้อมูลหรือคอนเทนต์ที่มีคุณค่า และตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
    • เว็บไซต์เพื่อเพิ่มการติดต่อ (Lead Generation): เป็นเว็บไซต์ที่ใช้สำหรับดึงดูดลูกค้าใหม่และเพิ่มช่องทางการติดต่อ เน้นกระตุ้นให้ผู้ใช้งานสมัครสมาชิก สอบถามข้อมูล หรือแสดงความสนใจ

2. รู้จักกลุ่มเป้าหมายของคุณ

การศึกษากลุ่มเป้าหมาย  คือ หนึ่งในขั้นตอนสำคัญที่ช่วยให้เว็บไซต์ของคุณ ตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้อย่างตรงจุด ไม่ว่าคุณจะสร้างเว็บไซต์เพื่อขายสินค้า ให้ข้อมูล หรือเพิ่มการติดต่อ การเข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้ง จะช่วยปรับปรุงการออกแบบและเนื้อหาให้สอดคล้องกับความต้องการและพฤติกรรมของพวกเขา เช่น

    • กลุ่มอายุ: การแบ่งกลุ่มตามอายุช่วยให้คุณเข้าใจว่ากลุ่มเป้าหมายต้องการอะไรและมีความสนใจแบบไหน เพื่อออกแบบเว็บไซต์ที่เหมาะกับคนกลุ่มนั้น
    • ความสนใจ: การเข้าใจความสนใจของกลุ่มเป้าหมายช่วยให้คุณ สามารถสร้างเนื้อหาและบริการที่ตอบโจทย์พวกเขาได้ เช่น การสร้างบล็อกหรือบทความที่ตรงกับความสนใจของผู้ใช้งาน
    • พฤติกรรมออนไลน์การวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตช่วยให้คุณเข้าใจว่ากลุ่มเป้าหมายใช้งานเว็บไซต์ของคุณอย่างไร เช่น เน้นการใช้งานบนอุปกรณ์มือถือ

การรู้จักกลุ่มเป้าหมาย จะช่วยให้คุณสามารถออกแบบเว็บไซต์และจัดการเนื้อหาได้ตรงกับความต้องการ การสร้างประสบการณ์ผู้ใช้งานที่ดี อีกทั้งไม่เพียงช่วยเพิ่มจำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ แต่ยังช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มเป้าหมายในระยะยาวอีกด้วย

3. ออกแบบโครงสร้างและเนื้อหาที่รองรับกับการทำ SEO 

การออกแบบเว็บไซต์ที่รองรับ SEO หรือ Search Engine Optimization ไม่ได้หมายถึงแค่การจัดทำเนื้อหาให้เหมาะสมกับการค้นหาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการวางโครงสร้างเว็บไซต์ที่ช่วยให้ทั้งผู้ใช้งานและเครื่องมือค้นหาเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย มีความชัดเจนและครบถ้วน โดยโครงสร้างและเนื้อหาสำคัญในแต่ละหน้าที่ควรมี ได้แก่

  •  
    • จำนวนหน้าและโครงสร้างเว็บไซต์: โครงสร้างเว็บไซต์ที่ดี ควรมีโครงสร้างเรียบง่ายที่ทำให้ผู้ใช้งานเข้าถึงหน้าเนื้อหาสำคัญได้ภายใน 2 – 3 คลิก ตัวอย่างการจัดหน้าเว็บไซต์ เช่น หน้า Home, About, Contact หรือในส่วนของบทความ ซึ่งการจัดหมวดหมู่จะทำให้เว็บไซต์ใช้งานง่ายขึ้น
    • เนื้อหาสำคัญในแต่ละหน้า: การจัดเนื้อหาและใช้คำสำคัญในแต่ละหน้า การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้งานและการช่วยให้เครื่องมือค้นหาเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย จะช่วยเพิ่มโอกาสให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับในหน้าผลการค้นหา

4. เลือกแพลตฟอร์มหรือเครื่องมือสำหรับสร้างเว็บไซต์

การเลือกแพลตฟอร์มหรือเครื่องมือ ที่เหมาะสมสำหรับการสร้างเว็บไซต์เป็นสิ่งสำคัญ เพราะแพลตฟอร์มที่ดีจะช่วยให้คุณสามารถพัฒนาเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็ว ใช้งานง่าย และตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจหรือองค์กร โดยแพลตฟอร์มการสร้างเว็บไซต์ที่โดดเด่น เช่น Shopify, WordPress, Wix หรือการใช้ Coding ควรพิจารณาจากความต้องการและเป้าหมายของเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถใช้งานแพลตฟอร์มเว็บไซต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

    • Shopify: เป็นแพลตฟอร์มที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับการสร้าง ร้านค้าออนไลน์ โดย Shopify มีขั้นตอนการวิเคราะห์และวางแผนงานธุรกิจ E-Commerce โดยการสร้างเว็บไซต์ที่ใช้งานง่าย และเหมาะสำหรับธุรกิจทุกขนาด
    • WordPress: เป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมสูงสุด เนื่องจากใช้งานง่ายและปรับแต่งได้หลากหลาย รองรับ SEO อย่างดี มีปลั๊กอินช่วยปรับปรุงอันดับใน Google ซึ่งจะเหมาะสำหรับเว็บไซต์ประเภทบล็อก และเว็บไซต์ธุรกิจขนาดเล็กถึงขนาดกลาง และสำหรับมือใหม่ที่ไม่เคยใช้งาน WordPress ก็สามารถเลือกบริษัทที่มีบริการรับทำ Template Design & Development ก็จะช่วยให้ออกแบบเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น
    • Wix:เป็นแพลตฟอร์มแบบ Drag-and-Drop ที่ใช้งานง่ายและไม่ต้องการความรู้ด้านเทคนิค ความยืดหยุ่นในการปรับแต่งน้อยกว่า WordPress ซึ่งจะเหมาะกับธุรกิจขนาดเล็ก และเว็บไซต์ส่วนตัวหรือพอร์ตโฟลิโอ
    • การเขียนโค้ด (Custom Coding): เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเว็บไซต์ที่มีความเฉพาะตัวสูง หรือฟีเจอร์พิเศษที่ไม่สามารถหาได้จากแพลตฟอร์มทั่วไป ต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านการเขียนโค้ด เป็นที่นิยมใช้กับเว็บไซต์ขนาดใหญ่ เช่น องค์กรขนาดใหญ่ หรือระบบที่ต้องการความปลอดภัยสูง

5. วางงบประมาณและแผนดำเนินการ

การวางงบประมาณและแผนดำเนินการเป็นขั้นตอนสำคัญในการสร้างเว็บไซต์ที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า การเตรียมแผนอย่างละเอียดช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหา และยังช่วยให้การพัฒนาเว็บไซต์เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ดังนี้

    • ค่าพัฒนาเว็บไซต์:รวมถึงการจ้างนักพัฒนาหรือค่าใช้จ่ายสำหรับเครื่องมือสร้างเว็บไซต์ เช่น WordPress, Wix หรือ Shopify
    • ค่าออกแบบเว็บไซต์: การจ้างนักออกแบบกราฟิกหรือใช้ธีมสำเร็จรูป
    • ค่าชื่อโดเมนและโฮสติ้ง: ค่าใช้จ่ายรายปีสำหรับการจดทะเบียนโดเมน เช่น .com, .th และการเช่าโฮสติ้ง
    • ค่าเครื่องมือและปลั๊กอิน: ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับฟีเจอร์พิเศษ เช่น ระบบ SEO  ระบบความปลอดภัย ปลั๊กอินเสริมสำหรับธุรกิจที่มีความต้องการเฉพาะ
    • ค่าการตลาดและการทำ SEO: สำหรับการโปรโมตเว็บไซต์ เช่น โฆษณา Google Ads การจ้างผู้เชี่ยวชาญ SEO หรือการสร้างเนื้อหา
    • ค่าบำรุงรักษา: เว็บไซต์จำเป็นต้องมีการดูแลอย่างต่อเนื่องสำหรับการปรับปรุงและอัปเดตเว็บไซต์

นอกจากนี้ ยังจำเป็นต้องประเมินความต้องการ เลือกเครื่องมือที่เหมาะสม และกำหนดระยะเวลาการทำงานอย่างชัดเจน เพื่อให้ได้เว็บไซต์ ที่ตรงตามเป้าหมายและสามารถใช้งานได้อย่างคุ้มค่าในระยะยาว

สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อเริ่มสร้างเว็บไซต์

ขั้นตอนการสร้างเว็บไซต์ เป็นกระบวนการที่ต้องการความรอบคอบและการวางแผนที่ดี หากไม่มีการเตรียมตัวหรือเลือกแนวทางที่เหมาะสม อาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดที่ส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพของเว็บไซต์และประสบการณ์ผู้ใช้งาน และสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อเริ่มสร้างเว็บไซต์ เช่น

    • การเลือกแพลตฟอร์มหรือเครื่องมือที่ไม่เหมาะสม: การเลือกใช้เครื่องมือหรือแพลตฟอร์มที่ไม่เหมาะกับความต้องการหรือประเภทของธุรกิจ อาจทำให้การปรับปรุงเว็บไซต์ในอนาคตยุ่งยากขึ้น
    • การออกแบบที่ซับซ้อนเกินไป: การออกแบบเว็บไซต์ที่ซับซ้อน อัดแน่นไปด้วยองค์ประกอบที่ไม่จำเป็น ทำให้ผู้ใช้งานสับสนและเว็บไซต์โหลดช้า
    • ละเลยการทำ SEO: การไม่คำนึงถึงการเพิ่มประสิทธิภาพเว็บไซต์ให้ติดอันดับในเครื่องมือค้นหา เช่น ไม่มีคำหลัก (Keywords) หรือโครงสร้าง URL ที่ดี
    • ไม่ใส่ใจเรื่องความเร็วในการโหลดเว็บไซต์: เว็บไซต์ที่โหลดช้าอาจทำให้ผู้ใช้งานออกจากเว็บไซต์ก่อนที่จะเห็นเนื้อหา
    • ไม่มีความสำคัญกับการแสดงผลบนมือถือ (Mobile Responsiveness): เว็บไซต์ที่ไม่รองรับการใช้งานบนมือถือจะทำให้เสียโอกาสจากผู้ใช้งานที่มาจากอุปกรณ์พกพา

หากต้องการมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง ทำไม CIPHER จึงเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับคุณ 

CIPHER เป็นผู้ให้บริการที่มีความเชี่ยวชาญในการสร้างและพัฒนาเว็บไซต์แบบครบวงจร เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเว็บไซต์ที่มีคุณภาพและตอบโจทย์ความต้องการทางธุรกิจทุกรูปแบบ ด้วยบริการ รับทำ Web Design & Development ซึ่งพวกเรา มีนักพัฒนาเว็บไซต์และผู้เชี่ยวชาญและเข้าใจในการออกแบบ UX/UI ที่เป็นมิตรกับผู้ใช้งาน 

CIPHER จึงเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการสร้างเว็บไซต์ที่ตอบโจทย์ในทุกมิติ ตั้งแต่การออกแบบที่มีคุณภาพ การพัฒนาเว็บไซต์ที่รองรับ SEO ไปจนถึงบริการหลังการขายที่ยอดเยี่ยม หากคุณกำลังมองหาผู้ช่วยในการสร้างเว็บไซต์ที่มีประสิทธิภาพและพร้อมพาคุณไปสู่ความสำเร็จ CIPHER คือ คำตอบที่เหมาะสมที่สุด!

สนใจบริการ

สรุป

ขั้นตอนแผนการสร้างเว็บไซต์ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การออกแบบเว็บไซต์ หรือมี Web Design ที่โดดเด่น ใช้งานง่าย และเป็นมิตรกับผู้ใช้ ทำให้เกิดประสบการณ์การใช้งานที่ดี ดังนั้น การมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการไม่ควรมองข้าม ไม่ว่าธุรกิจของคุณจะเป็นขนาดเล็กหรือใหญ่ เพราะเว็บไซต์ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงลูกค้า และรองรับการเติบโตของธุรกิจในระยะยาว หากคุณยังไม่มีเว็บไซต์ นี่คือเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการเริ่มต้นสร้าง!

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับขั้นตอนการวางแผนสร้างเว็บไซต์

สำหรับแบรนด์หรือเจ้าของธุรกิจ ที่กำลังต้องการให้ธุรกิจของคุณ กลายเป็นที่รู้จักในโลกออนไลน์ หรือกังวลในเรื่องของขั้นตอนการวิเคราะห์และวางแผนงานธุรกิจ E-Commerce โดยการสร้างเว็บไซต์สำหรับร้านค้าออนไลน์ อาจมีคำถามเกี่ยวกับแผนขั้นตอนการสร้างเว็บไต์ ซึ่งเราได้รวบรวมคำตอบมาไว้ให้เรียบร้อยแล้ว!

ขั้นตอนในการสร้างเว็บไซต์มีอะไรบ้าง ?

หลายคนมักคิดว่าการสร้างเว็บไซต์เป็นเรื่องง่าย เพียงแค่มีไอเดียดี ๆ ก็เพียงพอ แต่ความจริงแล้ว การสร้างเว็บไซต์ที่ประสบความสำเร็จนั้นต้องอาศัยมากกว่านั้น โดยในการจะสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาเว็บหนึ่ง ต้องมีรูปแบบการสร้างเว็บไซต์มีดังนี้

  • Concept and Content: เน้นเนื้อหาที่น่าสนใจ ถูกต้อง และทันสมัย พร้อมสร้างคอนเซปต์ที่ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือและดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย
  • Design: ออกแบบเว็บไซต์ให้สวยงาม สอดคล้องกับคอนเซปต์ และใช้งานง่าย โดยคำนึงถึงสี ตัวอักษร และกราฟิกที่เหมาะสม
  • Development: พัฒนาเว็บไซต์ด้วยโปรแกรมที่ตอบโจทย์เป้าหมาย เพื่อให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและรองรับความต้องการของผู้ใช้งาน

สัดส่วนการใช้สีใดนิยมใช้ออกแบบเว็บไซต์ ?

ในการออกแบบเว็บไซต์ การเลือกสัดส่วนการใช้สีที่เหมาะสมช่วยให้เว็บไซต์ดูสมดุลและน่าสนใจ โดยทั่วไปนิยมใช้ กฎ 60-30-10 ซึ่งแบ่งสัดส่วนการใช้สีดังนี้

  • สีหลัก (Primary Color) – 60%:
    ใช้เป็นสีพื้นฐานของเว็บไซต์ เช่น พื้นหลังหรือพื้นที่หลักของการนำเสนอ ช่วยสร้างอารมณ์และภาพลักษณ์ให้กับเว็บไซต์
  • สีรอง (Secondary Color) – 30%:
    ใช้เพื่อเสริมสีหลัก เช่น สีของเมนู การ์ด หรือกรอบข้อมูล ทำให้เว็บไซต์ดูมีมิติและน่าสนใจยิ่งขึ้น
  • สีเน้น (Accent Color) – 10%:
    ใช้ในจุดสำคัญที่ต้องการดึงดูดความสนใจ เช่น ปุ่ม Call-to-Action ลิงก์ หรือข้อความเด่น

โครงสร้างของเว็บไซต์มีอะไรบ้าง?

โครงสร้างเว็บไซต์ คือ ปัจจัยสำคัญซึ่งส่งผลให้การทำเว็บไซต์ประสบความสำเร็จ โดยเว็บไซต์แต่ละประเภท จะมีโครงสร้างและองค์ประกอบที่แตกต่างกัน โดยจะแบ่งเป็นส่วนหลัก ๆ ได้แก่

  • ส่วนหัว (Header): เช่น โลโก้ เมนูนำทาง ส่วนค้นหา หรือปุ่มล็อกอิน/สมัครสมาชิก
  • ส่วนเนื้อหา (Content Area): เช่น เนื้อหาหลักของหน้าเว็บ รูปภาพ/วิดีโอ บทความ/ข้อความ และฟอร์มต่าง ๆ
  • แถบด้านข้าง (Sidebar): เมนูย่อย โฆษณา ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง และ Widget ต่าง ๆ
  • ส่วนท้าย (Footer): ข้อมูลติดต่อ ลิงก์สำคัญ ลิขสิทธิ์ และช่องทางโซเชียลมีเดีย
Scroll to Top