Table of Contents
Header Tag คืออะไร ใช้งานยังไง ทำไมถึงสำคัญต่อการทำ SEO?
การทำ Content Marketing ที่มีประสิทธิภาพไม่ใช่แค่การสร้างเนื้อหาที่น่าสนใจเท่านั้น แต่ยังต้องให้ความสำคัญกับองค์ประกอบทางเทคนิคที่ช่วยให้เว็บไซต์ติดอันดับบน Search Engine ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการทำ Meta Tags เพื่อสร้าง Header, การทำ Meta Title หรือ Meta Description คือ ส่วนสำคัญของการทำ SEO ที่ช่วยอธิบายเนื้อหาของหน้าเว็บไซต์ให้ผู้ใช้และ Search Engine เข้าใจได้อย่างรวดเร็ว
หากคุณกำลังมองหาวิธีปรับแต่งเว็บไซต์ให้ติดอันดับต้น ๆ บน Google บทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักกับ Header Tag อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ ไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของเว็บไซต์ นักการตลาด หรือผู้ที่สนใจด้าน SEO บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจถึงความสำคัญและวิธีการใช้งาน Header Tag อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
Header Tag คืออะไร?
Header หรือ Heading คือ ส่วนหัวของเนื้อหาที่ใช้บอกลำดับความสำคัญของข้อความในเว็บไซต์ โดยทั่วไปจะมีขนาดใหญ่กว่าเนื้อหาปกติ เพื่อดึงดูดความสนใจและช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจโครงสร้างของเนื้อหาได้ง่ายขึ้น เป็นองค์ประกอบของ HTML ที่กำหนดส่วนหัวของหน้าเว็บ ตั้งแต่ H1 ถึง H6 โดย H1 มีความสำคัญมากที่สุดและมีขนาดใหญ่ที่สุด ส่วน H6 มีความสำคัญน้อยที่สุดและมีขนาดเล็กที่สุด
การใช้ Header และ Heading อย่างเหมาะสมไม่เพียงแต่ช่วยในการจัดระเบียบเนื้อหาให้อ่านง่ายเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญต่อการทำ SEO ให้ติดหน้าแรก (Search Engine Optimization) เนื่องจากเครื่องมือค้นหาใช้แท็ก Header เพื่อทำความเข้าใจโครงสร้างและความสำคัญของเนื้อหาในหน้าเว็บ ดังนั้นการใช้ Header Tag อย่างถูกต้องตามลำดับจะช่วยให้เว็บไซต์ติดอันดับการค้นหาได้ดียิ่งขึ้น
ทำไม Header Tag ถึงสำคัญต่อการทำ SEO?
Header Tag คือ โค้ด HTML หรือ Meta Tags ที่ใช้จัดลำดับความสำคัญของเนื้อหาบนหน้าเว็บไซต์ โดยเริ่มตั้งแต่ H1 ไปจนถึง H6 ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อการทำ SEO เนื่องจาก Google และ Search Engine อื่น ๆ จะใช้ Heading Tags เป็นตัวบ่งชี้ถึงโครงสร้างและลำดับความสำคัญของเนื้อหา ซึ่งการจัดวาง Header Tag อย่างเหมาะสม จะช่วยให้ระบบเข้าใจว่าส่วนไหนของเนื้อหาสำคัญที่สุด และควรให้น้ำหนักในการจัดอันดับอย่างไร
นอกจากนี้การทำ Meta Tags ที่ดีอย่าง Heading Tags ยังมีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงประสบการณ์ผู้ใช้งานให้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากช่วยแบ่งเนื้อหาให้เป็นส่วน ๆ อย่างเป็นระบบ ทำให้ผู้อ่านสามารถสแกนเนื้อหาได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดอันดับใน
Search Results ด้วยเช่นกัน
Header Tag มีประเภทอย่างไรบ้าง?
เมื่อพูดถึง Heading Tag SEO โดยแท็กจะแบ่งออกเป็น 6 ประเภท ตั้งแต่ H1 ถึง H6 โดยแท็กทั้งหมดจะถูกนำมาใช้เพื่อระบุชื่อหน้าหรือบทความในหน้านั้นเกี่ยวกับอะไร ซึ่งในแต่ละ Heading Tag มีความสำคัญต่อการทำ SEO ดังนี้
H1 คืออะไร ทำไมถึงเป็น Header Tag ที่สำคัญที่สุด?
Header Tag หรือ H1 เป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่ถูกใช้เพื่อกำหนดโครงสร้างและลำดับความสำคัญของเนื้อหาบนเว็บไซต์ หรือสร้างจุดเด่นให้ Landing Page โดยสิ่งที่ทำให้ H1 เป็น Header Tag ที่สำคัญที่สุด คือ
- ลำดับความสำคัญสูงสุดในการอ่าน: Search Engine จะให้น้ำหนักกับ H1 มากที่สุดในการทำความเข้าใจเนื้อหาของหน้าเว็บ เสมือนเป็นชื่อเรื่องหลักที่บ่งบอกว่าเนื้อหาทั้งหมดเกี่ยวกับอะไร
- ผลกระทบต่อ SEO: การใช้ H1 ที่ตรงประเด็นและมีคีย์เวิร์ดที่เหมาะสมจะช่วยเพิ่มโอกาสในการติดอันดับผลการค้นหา เนื่องจากเป็นปัจจัยสำคัญที่ Google ใช้ในการประเมินความเกี่ยวข้องของเนื้อหา
- ความสำคัญต่อ User Experience: H1 ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจทันทีว่าเนื้อหาที่กำลังจะอ่านเกี่ยวกับอะไร ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจว่าจะอ่านเนื้อหานั้นต่อหรือไม่ และยังช่วยในการสแกนหาข้อมูลที่ต้องการได้รวดเร็วขึ้น
H2 (Heading 2) คืออะไร ?
H2 หรือ Heading 2 เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของการจัดโครงสร้างเนื้อหาเว็บไซต์ โดยทำหน้าที่เป็นหัวข้อรองจาก H1 (Heading 1) ในลำดับชั้นของการจัดการเนื้อหา โดยหน้าที่หลักและจุดเด่นของ H2 นั่นก็คือ
- การจัดลำดับความสำคัญ: H2 ช่วยแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วน ๆ อย่างเป็นระบบ ทำให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจโครงสร้างของเนื้อหาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในบทความที่มีความยาวและซับซ้อน
- ประโยชน์ด้าน SEO: เครื่องมือค้นหาให้ความสำคัญกับเนื้อหาที่อยู่ภายใต้แท็ก H2 เป็นพิเศษ เนื่องจากมักจะบ่งชี้ถึงหัวข้อสำคัญของเนื้อหา ส่งผลให้เว็บไซต์มีโอกาสติดอันดับการค้นหาได้ดีขึ้น
- ความสะดวกในการอ่าน: การใช้ H2 ช่วยสร้างจุดพักสายตาและทำให้เนื้อหามีความน่าอ่านมากขึ้น ผู้อ่านสามารถกวาดสายตาหาข้อมูลที่ต้องการได้ง่าย โดยไม่ต้องอ่านเนื้อหาทั้งหมด
H3 (Heading 3) คืออะไร?
H3 หรือ Heading 3 เป็นหนึ่งในระดับของหัวข้อ ที่ใช้ในการจัดระเบียบเนื้อหาบนเว็บไซต์และเอกสารดิจิทัล โดยเป็นหัวข้อย่อยลำดับที่สามต่อจาก H2 ซึ่งมีหน้าที่หลัก คือ
- การเรียงลำดับของเนื้อหา: H3 มีบทบาทสำคัญในการสร้างลำดับชั้นของเนื้อหา โดยช่วยจัดระเบียบข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ย่อยที่ชัดเจน ทำให้ผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจเนื้อหาได้อย่างรวดเร็ว
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำ Heading Tag SEO: การใช้ H3 อย่างถูกต้องช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้าน SEO เนื่องจากเป็นหนึ่งในปัจจัยที่เครื่องมือค้นหาใช้ในการประเมินความสำคัญของเนื้อหาและจัดอันดับผลการค้นหา
- ช่วยประหยัดเวลาให้กับผู้ใช้งาน: H3 มีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ใช้งาน เพราะช่วยให้พวกเขาสามารถค้นหาเนื้อหาที่ต้องการอ่านได้ง่ายขึ้น
H4 (Heading 4) – H6 (Heading 6) คืออะไร?
H4, H5 และ H6 เป็นระดับของหัวข้อ ในการจัดรูปแบบเว็บไซต์ที่มีความสำคัญรองลงมาจาก H3 โดยไล่ระดับลงไปจนถึง H6 ที่มีขนาดเล็กที่สุด ซึ่งการใช้หัวข้อเหล่านี้อย่างเหมาะสม ไม่เพียงช่วยให้เอกสารมีโครงสร้างที่ชัดเจน แต่ยังมีประโยชน์อย่างมากต่อการทำ SEO เนื่องจากเครื่องมือค้นหาใช้ระดับหัวข้อเหล่านี้ในการทำความเข้าใจลำดับความสำคัญและความสัมพันธ์ของเนื้อหาภายในหน้าเว็บ
ยกตัวอย่าง การวาง Header Tag 1 – 3 ที่ถูกต้อง เป็นยังไง?
ยกตัวอย่างบทความ “Content Marketing คืออะไร?”
- H1: Content Marketing คืออะไร? และทำไมจึงสำคัญกับธุรกิจยุคดิจิทัล
- H2: ความหมายและความสำคัญของ Content Marketing
- H2: รูปแบบของ Content Marketing
- H3: Content Marketing แบบ B2C
- H3: Content Marketing แบบ B2B
- H2: กลยุทธ์การทำ Content Marketing ที่มีประสิทธิภาพ
การจัดลำดับ Header Tags ในบทความนี้
- การใช้ H1 ใช้เป็นชื่อบทความหลัก “Content Marketing คืออะไร? และทำไมจึงสำคัญกับธุรกิจยุคดิจิทัล” มีเพียงหนึ่ง H1 ต่อหน้า ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดของบทความ
- การใช้ H2 แบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ส่วนหลัก
- การใช้ H3 แยกหัวข้อย่อยภายใต้แต่ละส่วนหลัก
โดยข้อดีของการจัดวางแบบนี้ ทำให้บทความมีลำดับชั้นที่ชัดเจน ไม่สับสน เนื้อหามีความสัมพันธ์กันตามลำดับ ซึ่งทำให้ง่ายต่อการอ่านและทำความเข้าใจ เหมาะสำหรับ SEO และ สร้างประสบการณ์การอ่านที่ดีให้กับผู้อ่าน
แนะนำ 3 เครื่องมือในการตรวจสอบ Header Tag
การตรวจสอบโครงสร้าง Header Tag เป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญของการทำ SEO เพื่อให้เว็บไซต์มีลำดับชั้นของเนื้อหาที่ชัดเจนและเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้ใช้งานและเสิร์ชเอนจิน ซึ่งการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมจะช่วยให้การตรวจสอบและปรับแต่ง Header Tag มีประสิทธิภาพมากขึ้น
1. Inspect Tools
เครื่องมือพื้นฐานที่มาพร้อมกับเว็บเบราว์เซอร์ทุกตัว ช่วยให้สามารถตรวจสอบโครงสร้าง HTML และ Header Tag ได้อย่างละเอียด การใช้งานง่ายเพียงคลิกขวาที่หน้าเว็บและเลือก “Inspect” หรือกดปุ่ม F12 จากนั้นเลือกปุ่ม code หรือ กด find code เอาเมาส์ไปวางที่หัวข้อ โดย Inspect Tools มีจุดเด่น คือ สามารถดูโค้ด HTML แบบเรียลไทม์ และแก้ไขทดสอบได้ทันที เหมาะสำหรับนักพัฒนาเว็บไซต์ที่ต้องการความละเอียดในการตรวจสอบ
2. SEOquake
เครื่องมือเช็ก Header Tag ที่สามารถติดตั้งได้ง่ายและใช้งานได้ฟรี โดยจะเป็นส่วนขยายของ Chrome โดยสามารถเช็กได้ง่าย ๆ เพราะเครื่องมือนี้จะสรุปเรียง Header Tag ต่าง ๆ ไว้ในหน้าเดียว
3. Serpstat Extension
เครื่องมือวิเคราะห์ SEO ที่มาในรูปแบบส่วนขยายของบราว์เซอร์ ช่วยตรวจสอบ Header Tag ทำให้เห็นภาพรวมได้ทันที จุดเด่น คือ มีความโดดเด่นด้านการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบ มีฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่ช่วยในการวิเคราะห์คู่แข่ง และให้คำแนะนำที่ปฏิบัติตามได้จริงในการปรับปรุง Header Tag ของเว็บไซต์ได้
บทสรุป
การใช้ Header Tag อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพเป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญที่จะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับบน Google ได้ดียิ่งขึ้น จากประสบการณ์ในการ รับทำ SEO ของ CIPHER ที่ผ่านมา การทำ Meta Tag ที่ดี โดยเฉพาะ Meta Title และ Meta Description คือสิ่งที่สามารถช่วยเพิ่มการอัตราการคลิก (CTR) เข้ามายังเว็บไซต์ได้อีกด้วย ซึ่งจะส่งผลดีต่ออันดับเว็บไซต์ด้วยเช่นกัน
หากคุณกำลังมองหาผู้เชี่ยวชาญด้านบริการทำ SEO ที่เข้าใจทั้งเทคนิคและกลยุทธ์การทำ SEO อย่างลึกซึ้ง CIPHER พร้อมช่วยให้เว็บไซต์ของคุณก้าวขึ้นสู่อันดับต้นๆ ของ Google ด้วยทีมงานมืออาชีพที่มีประสบการณ์ยาวนาน ติดต่อเราวันนี้ เพื่อรับคำปรึกษาและวางแผนกลยุทธ์ SEO ที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณ
สนใจบริการ
คำถามที่พบบ่อย
H1 H2 H3 คืออะไร?
Heading คือ ส่วนสำคัญในการจัดโครงสร้างเนื้อหาเว็บไซต์ โดยแบ่งลำดับความสำคัญเป็น H1, H2 และ H3 ตามลำดับ ดังนี้
- H1 จะเป็นหัวข้อหลักที่สำคัญที่สุดและมีขนาดใหญ่ที่สุด มักใช้เป็นชื่อเรื่องหรือหัวข้อหลักของหน้าเว็บ
- H2 จะเป็นหัวข้อรองที่แบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วน ๆ ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจโครงสร้างของเนื้อหาได้ง่ายขึ้น
- H3 จะเป็นหัวข้อย่อยที่อยู่ภายใต้ H2 ใช้แบ่งเนื้อหาให้ละเอียดยิ่งขึ้น
การจัดลำดับ Heading คือ สิ่งที่ช่วยให้เนื้อหาอ่านง่ายเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญต่อ SEO เนื่องจากช่วยให้เครื่องมือค้นหาเข้าใจโครงสร้างและความสำคัญของเนื้อหาบนหน้าเว็บได้ดียิ่งขึ้น
H1 คืออะไร?
H1 หรือ Heading 1 เป็นแท็ก HTML ที่ใช้กำหนดหัวข้อหลักของหน้าเว็บ ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อการจัดลำดับความสำคัญของเนื้อหาและการทำ SEO เพราะ H1 จะต้องสื่อถึงประเด็นหลักของหน้านั้น ๆ และควรมีเพียงหนึ่งแท็ก H1 ต่อหนึ่งหน้าเว็บเท่านั้น เพื่อให้ทั้งผู้อ่านและ Search Engine เข้าใจโครงสร้างเนื้อหาได้อย่างชัดเจน ส่งผลให้เว็บไซต์มีโอกาสติดอันดับในผลการค้นหาได้ดียิ่งขึ้น
Tag H มีกี่ระดับ?
Tag H มีทั้งหมด 6 ระดับ โดยแต่ละระดับมีความสำคัญลดลงมาตามลำดับ ดังนี้
- H1 (Heading 1): เป็นหัวข้อหลักที่สำคัญที่สุดของหน้าเว็บ โดยควรมีเพียงหนึ่ง H1 ต่อหนึ่งหน้าเว็บเท่านั้น เพื่อให้เป็นไปตามหลัก SEO และการจัดลำดับความสำคัญของเนื้อหา เปรียบเสมือนชื่อเรื่องหลักของบทความหรือหน้าเว็บนั้นๆ
- H2 (Heading 2): ใช้สำหรับแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนๆ หรือหัวข้อย่อยหลักภายใต้ H1 ช่วยให้ผู้อ่านและ Search Engine เข้าใจโครงสร้างของเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น สามารถมีได้หลาย H2 ในหนึ่งหน้าตามความเหมาะสม
- H3 (Heading 3): เป็นหัวข้อย่อยภายใต้ H2 ใช้สำหรับแบ่งเนื้อหาให้ละเอียดมากขึ้น เหมาะสำหรับการอธิบายประเด็นย่อยหรือรายละเอียดเฉพาะด้านของหัวข้อ H2
- H4 (Heading 4): ใช้สำหรับหัวข้อย่อยภายใต้ H3 เพื่อแบ่งเนื้อหาให้ละเอียดยิ่งขึ้น เหมาะกับการนำเสนอข้อมูลที่ต้องการความละเอียดในระดับที่สูงขึ้น
- H5 (Heading 5): ใช้สำหรับประเด็นย่อยจาก H4 เพื่อแบ่งความละเอียดของเนื้อหามากยิ่งขึ้นจะใช้น้อยกว่าหัวข้ออื่น ๆ
- H6 (Heading 6): เป็นระดับหัวข้อที่เล็กที่สุด ใช้ในกรณีที่ต้องการแบ่งเนื้อหาให้ละเอียดมากเป็นพิเศษ เหมาะการจัดระเบียบเนื้อหาที่ซับซ้อน
HTML Tag ที่ใช้กำหนดหัวข้อมีอะไรบ้าง?
HTML Tag คือ การสร้าง Heading ด้วย โค้ด HTML โดยมีแท็กสำหรับกำหนดหัวข้อ (Heading Tags) ที่ช่วยจัดระดับความสำคัญและลำดับชั้นของเนื้อหาบนเว็บไซต์ได้อย่างเป็นระบบ โดยประกอบด้วย 6 ระดับตั้งแต่ <h1> ถึง <h6> ซึ่ง <h1> จะมีขนาดใหญ่ที่สุดและใช้สำหรับหัวข้อหลักของหน้าเว็บ ขณะที่ <h2> ถึง <h6> จะมีขนาดลดหลั่นกันลงมาตามลำดับเพื่อใช้กับหัวข้อย่อยต่าง ๆ
การใช้แท็กหัวข้อเหล่านี้อย่างถูกต้องไม่เพียงช่วยให้เว็บไซต์มีโครงสร้างที่ชัดเจนและอ่านง่ายสำหรับผู้ใช้เท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำ SEO เนื่องจากเครื่องมือค้นหาใช้แท็กเหล่านี้ในการทำความเข้าใจลำดับความสำคัญของเนื้อหาบนหน้าเว็บอีกด้วย