Business Model Canvas คืออะไร? คู่มือเริ่มต้นวางแผนธุรกิจ

Table of Contents

Business Model Canvas คืออะไร? ทำไมถึงสำคัญต่อการวางแผนธุรกิจ?

หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจหรือผู้ที่กำลังวางแผนธุรกิจใหม่ ๆ คุณอาจเคยได้ยินคำว่า “Business Model Canvas” แต่รู้หรือไม่ว่ามันมีความสำคัญอย่างไร? Business Model Canvas คือ เครื่องมือที่ช่วยให้การออกแบบและวางแผนธุรกิจเป็นเรื่องง่ายขึ้น ด้วยการแบ่งธุรกิจออกเป็น 9 องค์ประกอบที่สำคัญ ที่จะช่วยทำให้คุณสามารถมองเห็นภาพรวมของธุรกิจและจัดการทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การเข้าใจและใช้ Business Model Canvas อย่างถูกต้องสามารถทำให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้เร็วขึ้น โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน เช่น การใช้ Email Marketing หรือ SEO ที่ต้องการกลยุทธ์ที่ชัดเจนและมีการวางแผนอย่างละเอียด BMC จะช่วยให้คุณเข้าใจถึงความต้องการของลูกค้าและสร้างกลยุทธ์ที่การตลาดที่ได้ผลอย่างคุ้มค่าที่สุด! แล้ว Business Model Canvas มีอะไรบ้าง? บทความนี้จะพาคุณไปหาคำตอบ

Business Model Canvas คืออะไร?

Business Model Canvas คืออะไร?

BMC หรือ Business Model Canvas คือ แนวคิดหรือโมเดล ที่ช่วยในการวางแผนกลยุทธ์ โดยการแสดงภาพรวมของธุรกิจ เพื่อช่วยให้ธุรกิจ สามารถตอบคำถามสำคัญในการวิเคราะห์และปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับตลาดและลูกค้า ซึ่งประกอบไปด้วย ลูกค้า (WHO), ข้อเสนอสำหรับลูกค้า (WHAT), เครื่องมือหรือปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ (HOW) และ ความคุ้มค่าของธุรกิจ (MONEY)

การใช้ Business Model Canvas คือ ตัวช่วยสำคัญ ที่ให้ผู้ประกอบการหรือทีมงาน สามารถวางแผนธุรกิจได้อย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย ช่วยระบุจุดแข็งและจุดอ่อนของธุรกิจ พร้อมทั้งระบุโอกาสในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโต โดยไม่จำเป็นต้องเขียนแผนธุรกิจยาว ๆ เหมาะสำหรับผู้ประกอบการมือใหม่ ไปจนถึงธุรกิจขนาดใหญ่

ทำไมโมเดลนี้ถึงใช้คำว่า Canvas?

Business Model Canvas คือ โมเดลธุรกิจ โดยคำว่า “Canvas” ในที่นี้หมายถึง “ผืนผ้าใบ” ซึ่งสื่อถึงการที่ผู้ประกอบการสามารถสร้างสรรค์หรือวางแผนโมเดลธุรกิจได้เหมือนการวาดภาพบนผืนผ้าใบ โดยไม่จำเป็นต้องมีโครงสร้างที่ซับซ้อน ทำให้สามารถออกแบบและปรับเปลี่ยนโมเดลธุรกิจได้ตามต้องการ

นอกจากนี้ คำว่า “Canvas” ยังสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถของโมเดลในการช่วยผู้ประกอบการมองเห็นภาพรวมขององค์ประกอบธุรกิจที่สำคัญ และสามารถเชื่อมโยงแต่ละส่วนเข้าด้วยกันได้อย่างง่ายดาย ส่งผลให้การวางแผนธุรกิจระยะยาวมีความชัดเจนและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

องค์ประกอบสำคัญ Business Model Canvas มีอะไรบ้าง?

Business Model Canvas คือ โมเดลกลยุทธ์การตลาดที่ผู้ประกอบการสามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจได้ โดยมีองค์ประกอบสำคัญ 9 องค์ประกอบ ที่ทำให้เห็นภาพรวมของธุรกิจชัดขึ้น ดังนี้
องค์ประกอบสำคัญ Business Model Canvas

กลุ่มลูกค้า (Customer Segments)

กลุ่มลูกค้า หรือ Customer Segments (CS) คือ แบ่งลูกค้าตามประเภท เช่น อายุ ไลฟ์สไตล์ และพฤติกรรมการซื้อ หรือแบ่งตามความสนใจเฉพาะด้าน ซึ่งการระบุกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้ชัดเจน จะช่วยให้ธุรกิจสามารถพัฒนากลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสม และผลิตสินค้าหรือบริการ ที่ตรงตามความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer Relationships)

ความสัมพันธ์กับลูกค้า หรือ Customer Relationships (CR) คือ การสร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า ผ่านช่องทางที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น การให้บริการลูกค้าแบบตัวต่อตัว การสื่อสารผ่านอีเมล การใช้โปรแกรมสมาชิกเพื่อให้ลูกค้ารู้สึกพิเศษ ตลอดจนบริการหลังการขาย เพื่อสร้างความพึงพอใจและความภักดีของลูกค้าในระยะยาว

ช่องทางการจำหน่าย (Channels)

ทางการจำหน่าย หรือ Channels (CH) หมายถึง เส้นทางหรือวิธีการ ที่ธุรกิจใช้นำเสนอสินค้าและบริการไปถึงมือลูกค้า โดยสามารถแบ่งเป็นช่องทางออนไลน์ เช่น เว็บไซต์ แอปพลิเคชันมือถือ รวมถึงแพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง Amazon หรือ eBay และช่องทางออฟไลน์อย่างร้านค้าปลีก ซึ่งการเลือกใช้ช่องทางที่เหมาะสม จะช่วยให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายและสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

คุณค่าเสนอให้กับลูกค้า (Value Propositions)

คุณค่าเสนอให้กับลูกค้า หรือ Value Propositions (VP) คือ องค์ประกอบสำคัญที่ธุรกิจนำเสนอเพื่อตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น สินค้าที่มีคุณภาพสูง การตั้งราคาที่คุ้มค่า หรือการให้บริการที่รวดเร็วและเป็นมิตร ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ไม่เพียงช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น แต่ยังสร้างความแตกต่างให้ธุรกิจโดดเด่นเหนือคู่แข่งในตลาดอีกด้วย

กิจกรรมหลัก (Key Activities)

กิจกรรมหลัก หรือ Key Activities (KA) เป็นองค์ประกอบสำคัญของการดำเนินธุรกิจ ที่ครอบคลุมทุกขั้นตอนการปฏิบัติงานที่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็นการผลิตสินค้า การทำการตลาด หรือการจัดการโลจิสติกส์ รวมถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่ลูกค้าต้องเจอ

โดยแต่ละกิจกรรมต้องดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและประสานงานกันอย่างเป็นระบบ เพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจ สามารถส่งมอบสินค้าและบริการ ที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของลูกค้าได้นั่นเอง

ทรัพยากรหลัก (Key Resource)

ทรัพยากรหลัก หรือ Key Resources (KR) คือ ทรัพยากรที่ธุรกิจต้องมี เพื่อให้สามารถดำเนินกิจกรรมหลักได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยครอบคลุมทั้ง บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ เครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต ตลอดจนแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพ ซึ่งการมีทรัพยากรที่เพียงพอและเหมาะสม จะช่วยให้ธุรกิจสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและมีคุณภาพ

พันธมิตรหลัก (Key Partners)

พันธมิตรหลัก หรือ Key Partners (KS) คือ บุคคลหรือองค์กรที่ช่วยสนับสนุนธุรกิจในการดำเนินการให้สำเร็จไม่ว่าจะเป็น ซัพพลายเออร์ ตัวแทนจำหน่าย หรือพันธมิตรที่ช่วยในด้านต่าง ๆ เช่น การขนส่งหรือการพัฒนาเทคโนโลยี ซึ่งความร่วมมือกับพันธมิตรเหล่านี้ ไม่เพียงช่วยลดความเสี่ยงและต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ แต่ยังช่วยผลักดันให้ธุรกิจเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน

แหล่งรายได้ (Revenue Streams)

แหล่งรายได้ หรือ Revenue Streams (RS) คือ ช่องทางที่ธุรกิจได้รับรายได้หรือสร้างรายได้จากลูกค้าแต่ละกลุ่ม เช่น การขายสินค้า การให้บริการ การให้คำปรึกษา หรือการสมัครสมาชิก โดยธุรกิจจำเป็นต้องบริหารจัดการแหล่งรายได้เหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความมั่นคงและการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว

โครงสร้างต้นทุน (Cost Structure)

โครงสร้างต้นทุน หรือ Cost Structure หมายถึงการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนการผลิตสินค้า ค่าจ้างพนักงาน ค่าใช้จ่ายด้านการตลาดและโฆษณาออนไลน์ด้วย Online Advertising ตลอดจนค่าบริการอื่น ๆ ที่จำเป็น โดยการบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพจะส่งผลโดยตรงต่อความสามารถในการทำกำไรและความยั่งยืนของธุรกิจในระยะยาว

ทำไมทุกธุรกิจควรทำ Business Model Canvas?

Business Model Canvas คือ โมเดลธุรกิจที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการวางแผนธุรกิจและพัฒนาสินค้า ช่วยให้ผู้ใช้สามารถมองเห็นภาพรวมของโมเดลธุรกิจได้อย่างชัดเจน และง่ายต่อการนำไปใช้ซ้ำ ทำให้ทีมสามารถระดมความคิดได้อย่างรวดเร็ว ซึ่ง ประโยชน์ของ Business Model Canvas ในการนำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจ ดังนี้

ทำไมทุกธุรกิจควรทำ Business Model Canvas?

ช่วยกำหนดกลยุทธ์ธุรกิจอย่างชัดเจน

Business Model Canvas คือ เครื่องมือสำคัญที่ช่วยในการกำหนดกลยุทธ์ธุรกิจอย่างเป็นระบบ โดยช่วยให้องค์กรสามารถระบุองค์ประกอบสำคัญต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย การสร้างคุณค่า และช่องทางการขายที่เหมาะสม ซึ่งการมีภาพรวมที่ชัดเจนนี้ จะช่วยให้ทีมงานทุกคนเข้าใจแผนกลยุทธ์ตรงกันและสามารถตัดสินใจดำเนินงานได้เป็นระบบมากขึ้น

ช่วยระบุความต้องการและทรัพยากรสำคัญ

Canvas Model ช่วยในการระบุและวิเคราะห์ทรัพยากรสำคัญที่จำเป็นสำหรับการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรทางเทคโนโลยี ทรัพยากรบุคคล หรือความร่วมมือกับพันธมิตรต่าง ๆ ธุรกิจสามารถประเมินได้ว่ามีความต้องการอะไรบ้าง และจัดสรรทรัพยากรเหล่านี้ได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้ทุกแผนกในองค์กรสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

เพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจ

เครื่องมือนี้ สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการตัดสินใจให้กับผู้บริหารและทีมงาน ด้วยการนำเสนอภาพรวมธุรกิจในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน พร้อมทั้งวิเคราะห์องค์ประกอบสำคัญอย่างละเอียด ทั้งด้านช่องทางการขาย การนำเสนอคุณค่า และการบริหารต้นทุน ส่งผลให้การตัดสินใจมีความรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ได้ทันท่วงที เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอกองค์กร หรือใช้ร่วมกับแนวคิด SWOT Analysis เพื่อใช้ในการพิจารณาปัจจัยภายในและภายนอกขององค์กร

ช่วยให้สามารถประเมินความเสี่ยงได้

การคาดการณ์ความเสี่ยง เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม ซึ่งเครื่องมือนี้ ช่วยให้ธุรกิจ สามารถระบุและประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น โดยทำให้มองเห็นจุดอ่อนต่าง ๆ เช่น การพึ่งพารายได้จากลูกค้ากลุ่มเดียว หรือข้อจำกัดในการแข่งขันกับคู่แข่ง ซึ่งการวิเคราะห์เชิงลึกนี้ ช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนรับมือและแก้ไขปัญหาได้ล่วงหน้าก่อนที่จะเกิดปัญหาจริงหรือผลกระทบร้ายแรง

สร้างโอกาสในการเติบโต

Business Model Canvas คือ เครื่องมือสำคัญที่ช่วยค้นหาโอกาสในการเติบโตของธุรกิจ ด้วยการช่วยให้มองเห็นภาพรวมขององค์ประกอบต่าง ๆ อย่างชัดเจน ทำให้สามารถปรับปรุงวิธีการดำเนินธุรกิจ พัฒนาคุณค่าของสินค้าและบริการ รวมถึงปรับเปลี่ยนการดำเนินงานให้ทันกับเทคโนโลยีและแนวโน้มตลาดใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

Business Model Canvas ต่างจาก Business Plan อย่างไร?

Business Model Canvas และ Business Plan เป็นเครื่องมือที่มีจุดประสงค์และการใช้งานที่แตกต่างกัน โดยสามารถแบ่งความแตกต่างที่สำคัญได้ ดังนี้
  • วัตถุประสงค์และการใช้งาน: Business Model Canvas เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เห็นภาพรวมของโมเดลธุรกิจผ่านองค์ประกอบสำคัญ 9 ส่วน เหมาะสำหรับการเริ่มต้นธุรกิจหรือปรับปรุงโมเดลธุรกิจให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ในขณะที่ Business Plan เป็นแผนธุรกิจที่มีรายละเอียดครอบคลุมทุกด้าน มักใช้สำหรับการขอสินเชื่อหรือระดมทุน

  • ความยืดหยุ่นและระยะเวลา: Business Model Canvas มีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับเปลี่ยนได้ง่ายและรวดเร็ว ใช้เวลาในการจัดทำน้อย เหมาะกับการทดลองแนวคิดธุรกิจใหม่ ๆ ส่วน Business Plan ต้องใช้เวลาในการจัดทำมากกว่า เนื่องจากต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียด และมักใช้สำหรับการวางแผนระยะยาว

  • รายละเอียดและเนื้อหา: Business Model Canvas นำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่กระชับ เน้นองค์ประกอบหลักของธุรกิจ เช่น กลุ่มลูกค้า คุณค่าที่นำเสนอ และรายได้ ในขณะที่ Business Plan มีรายละเอียดครบถ้วนทุกด้าน ทั้งการวิเคราะห์ตลาด แผนการเงิน แผนการตลาด และการดำเนินงาน

  • กลุ่มเป้าหมายผู้ใช้งาน: Business Model Canvas เหมาะสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการทดสอบแนวคิดธุรกิจหรือปรับปรุงโมเดลธุรกิจอย่างรวดเร็ว ส่วน Business Plan เหมาะสำหรับการนำเสนอต่อนักลงทุน สถาบันการเงิน หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ต้องการเห็นแผนธุรกิจที่ละเอียดและมีการคาดการณ์ผลลัพธ์ในอนาคต

ตัวอย่าง Business Model Canvas จากธุรกิจจริง ๆ

กรณีศึกษา: การวิเคราะห์ Business Model Canvas ของ Starbucks

  • กลุ่มลูกค้า (Customer Segments): Starbucks เน้นการให้บริการแก่กลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย โดยครอบคลุมตั้งแต่ลูกค้าทั่วไปที่ชื่นชอบกาแฟและเครื่องดื่มคุณภาพสูง ไปจนถึงกลุ่มนักศึกษาและคนทำงาน

  • ความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer Relationships): การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ดำเนินการผ่านหลายช่องทาง โดยมี Starbucks Rewards เป็นเครื่องมือหลัก ซึ่งช่วยให้ลูกค้าสามารถสะสมคะแนนและรับสิทธิพิเศษต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีการใช้แอปพลิเคชันที่ช่วยเพิ่มความสะดวกในการสั่งซื้อ รวมถึงการให้บริการผ่านโซเชียลมีเดียที่ช่วยสร้างการมีส่วนร่วมกับลูกค้า

  • ช่องทางการจำหน่าย (Channels): ช่องทางการจำหน่าย ประกอบด้วยเครือข่ายร้านกาแฟที่กระจายอยู่ทั่วโลก ซึ่งเป็นจุดขายหลักที่สร้างประสบการณ์ตรงให้กับลูกค้า เสริมด้วยช่องทางดิจิทัลอย่างแอปพลิเคชันมือถือที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการสั่งซื้อและชำระเงิน รวมถึงเว็บไซต์ที่ใช้ในการนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์และโปรโมชันต่าง ๆ

  • คุณค่าที่นำเสนอ (Value Propositions): Starbucks นำเสนอคุณค่าที่โดดเด่นผ่านผลิตภัณฑ์กาแฟคุณภาพสูง พร้อมกับการสร้างบรรยากาศร้านที่เหมาะสำหรับการพบปะและทำงาน นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการนำเสนอสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม เช่น กาแฟออร์แกนิกและบรรจุภัณฑ์ที่สามารถรีไซเคิลได้

  • กิจกรรมหลัก (Key Activities): กิจกรรมหลักของ Starbucks ครอบคลุมตั้งแต่การผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มคุณภาพสูง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ผ่านการวิจัยและพัฒนา ไปจนถึงการทำการตลาด ทั้งในช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ เพื่อรักษาความเป็นผู้นำในตลาดกาแฟระดับโลก

  • ทรัพยากรหลัก (Key Resources): ทรัพยากรที่สำคัญของ Starbucks ประกอบด้วยวัตถุดิบคุณภาพสูงโดยเฉพาะเมล็ดกาแฟ เครือข่ายร้านกาแฟจากทั่วโลก และระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยรวมถึงแอปพลิเคชันที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการและสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า

  • พันธมิตรหลัก (Key Partners): Starbucks สร้างความร่วมมือกับพันธมิตรที่หลากหลาย ตั้งแต่ผู้ผลิตเมล็ดกาแฟและวัตถุดิบจากฟาร์มในหลายประเทศ บริษัทขนส่งและโลจิสติกส์ที่ช่วยในการกระจายสินค้า ไปจนถึงพันธมิตรด้านเทคโนโลยีที่ช่วยพัฒนาระบบดิจิทัลและแอปพลิเคชันต่าง ๆ

  • แหล่งรายได้ (Revenue Streams): รายได้ของ Starbucks มาจากหลากหลายช่องทาง โดยหลักมาจากการจำหน่ายเครื่องดื่มและอาหารในร้าน การขายผลิตภัณฑ์เสริมและสินค้าที่ระลึก รวมถึงรายได้จากช่องทางดิจิทัลและโปรแกรมสมาชิก Starbucks Rewards ซึ่งช่วยสร้างรายได้ที่ต่อเนื่อง

  • โครงสร้างต้นทุน (Cost Structure): ต้นทุนหลักของ Starbucks ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายในการจัดหาวัตถุดิบคุณภาพสูง ต้นทุนการดำเนินงานของร้านกาแฟรวมถึงค่าเช่าและค่าจ้างพนักงาน ค่าใช้จ่ายในการทำการตลาดและสร้างแบรนด์ ตลอดจนการลงทุนในระบบเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ
Business Model Canvas ของ Starbucks แสดงให้เห็นถึงการวางกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ครอบคลุม โดยมุ่งเน้นการสร้างมูลค่าให้กับลูกค้าผ่านผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง การบริการที่ดี และการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งช่วยให้ธุรกิจสามารถรักษาความเป็นผู้นำในตลาดและสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว

สรุป

BMC หรือ Business Model Canvas คือ เครื่องมือที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนและวิเคราะห์องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ธุรกิจนั้น ๆ สำเร็จ การใช้ BMC ทำให้ธุรกิจสามารถเห็นภาพรวมของโมเดลธุรกิจในเชิงโครงสร้างและทิศทางที่ชัดเจน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนากลยุทธ์ธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ

หากคุณต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับการวางแผนธุรกิจ การใช้ Social Media Marketing หรือการพัฒนา BMC สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจากบริษัท CIPHER เพื่อสร้างกลยุทธ์ที่ตอบโจทย์ธุรกิจของคุณได้ทันที!

สนใจบริการ

คำถามที่พบบ่อย

สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่ที่ต้องการนำ Business Model Canvas ไปใช้ในการวางแผนธุรกิจ อาจมีข้อสงสัยและคำถามเกี่ยวกับ BMC เราได้รวบรวมคำถามที่พบบ่อยและคำตอบมาไว้ให้เรียบร้อยแล้ว

Business Model Canvas มีอะไรบ้าง?

แล้ว Business Model Canvas มีอะไรบ้าง? โดย BMC สามารถแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ และองค์ประกอบหลัก 9 องค์ประกอบ ดังนี้

1. ลูกค้า (Who)

  • กลุ่มลูกค้า (Customer Segments): ระบุกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
  • ความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer Relationships): วิธีการสร้างและรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า
  • ช่องทางการจำหน่าย (Channels): ช่องทางที่ใช้ในการติดต่อและจำหน่ายสินค้า

2. ข้อเสนอสำหรับลูกค้า (What)

  • คุณค่าเสนอให้กับลูกค้า (Value Propositions): สิ่งที่สร้างความแตกต่างและความคุ้มค่าให้กับลูกค้า

3. เครื่องมือหรือปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ (How)

  • กิจกรรมหลัก (Key Activities): กิจกรรมที่จำเป็นในการให้บริการหรือผลิตภัณฑ์
  • ทรัพยากรหลัก (Key Resources): ทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการดำเนินธุรกิจ
  • พันธมิตรหลัก (Key Partners): ความร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อเสริมสร้างธุรกิจ

4. ความคุ้มค่าของธุรกิจ (MONEY)

  • แหล่งรายได้ (Revenue Streams): แหล่งที่มาของรายได้จากกิจกรรมต่าง ๆ
  • โครงสร้างต้นทุน (Cost Structure): ต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ

ข้อดีของ Business Model Canvas มีอะไรบ้าง?

  1. เข้าใจง่ายและชัดเจน: แสดงข้อมูลธุรกิจในรูปแบบที่เข้าใจง่ายและกระชับ
    ช่วยวิเคราะห์ธุรกิจได้ดี: ทำให้ธุรกิจเห็นภาพรวมและสามารถวิเคราะห์ส่วนต่าง ๆ ได้
  2. ประหยัดเวลา: ช่วยให้สามารถวางแผนธุรกิจได้เร็วขึ้นโดยไม่ต้องเขียนแผนยาว
  3. ปรับปรุงและปรับเปลี่ยนได้ง่าย: สามารถเปลี่ยนแปลงหรือปรับกลยุทธ์ได้ตามสถานการณ์
  4. เหมาะสำหรับการทำงานเป็นทีม: ช่วยให้ทีมงานสามารถทำงานร่วมกันและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Business Model Canvas หรือ Business Plan แบบไหนดีกว่ากัน?

Business Plan และ Business Model Canvas มีจุดเด่นต่างกัน โดย Business Plan เป็นเอกสารที่แสดงรายละเอียดพันธกิจ วิสัยทัศน์ และแผนการระดมทุนอย่างครบถ้วน ในขณะที่ Business Model Canvas เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้มองเห็นภาพรวมของแนวคิดและโมเดลธุรกิจทั้งปัจจัยภายในและภายนอกได้ชัดเจนบนกระดาษแผ่นเดียวก่อนเริ่มดำเนินธุรกิจจริง

สิ่งที่ต้องรู้ก่อนสร้าง Business Model Canvas มีอะไรบ้าง?

  1. ใครคือ พันธมิตรหลัก (Key Partners) ของธุรกิจ: ระบุพันธมิตรหรือคู่ค้าที่สำคัญที่ช่วยเสริมสร้างธุรกิจ
  2. กำหนดเป้าหมาย: กำหนดว่าธุรกิจของคุณจะมุ่งเน้นที่การให้บริการหรือผลิตภัณฑ์ใด
  3. ใครคือกลุ่มลูกค้า: กำหนดกลุ่มเป้าหมายหรือ Segments ที่จะใช้บริการของคุณ
  4. ค่าใช้จ่าย: คำนึงถึงต้นทุนต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในการดำเนินธุรกิจ
  5. สิ่งที่ต้องทำก่อนเริ่มธุรกิจ: วางแผนล่วงหน้าเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องทำเพื่อเตรียมธุรกิจให้พร้อม
  6. เลือกช่อทางในการขาย: ระบุช่องทางการจัดจำหน่ายและการตลาดที่ลูกค้าจะสามารถเข้าถึงสินค้า/บริการได้
Scroll to Top