การออกแบบเว็บไซต์สำหรับบริษัทมหาชน: เคล็ดลับในการสื่อสารภาพลักษณ์อย่างมืออาชีพ

ในยุคที่โซเชียลมีเดียเข้ามามีบทบาทสำคัญ ทำให้หลาย ๆ คนอาจเกิดข้อสงสัยว่า เว็บไซต์ยังจำเป็นไหม? ต้องบอกเลยว่าเว็บไซต์ยังคงเป็นส่วนสำคัญในการดำเดินธุรกิจและการทำงานขององค์กรต่าง ๆ โดยเฉพาะบริษัทมหาชนที่เว็บไซต์เปรียบเสมือนช่องทางการสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ และเป็นช่องทางที่ทำให้ผู้คนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายนั่นเอง

แล้วบริษัทมหาชนต้องออกแบบเว็บไซต์อย่างไร? บทความนี้จะนำเสนอ “เคล็ดลับในการออกแบบเว็บไซต์สำหรับบริษัทมหาชนให้ตรงกับภาพลักษณ์ที่บริษัทต้องการ และสอดคล้องกับการสร้างภาพลักษณ์ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ (PR) อย่างมืออาชีพ”

ทำไมเว็บไซต์บริษัทมหาชนต้องมีคุณภาพดี?

ถึงแม้โซเชียลมีเดียอย่าง Facebook หรือ LinkedIn จะได้รับความนิยมในการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ แต่ทุกคนก็ยังคงใช้การค้นหาข้อมูลจากการค้นหาบนอินเทอร์เน็ตหรือเว็บไซต์อย่าง Google มากกว่า ทำให้เว็บไซต์ยังคงถือเป็นทำเลที่ดีในการให้ข้อมูลหรือประชาสัมพันธ์องค์กรหรือบริษัทนั่นเอง ที่สำคัญเว็บไซต์สามารถเผยแพร่ข้อมูลไปยังผู้ใช้ทั่วโลกได้ตลอด 24 ชม. หากเว็บไซต์มีข้อมูลที่ครบถ้วนและเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ ก็จะสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรหรือบริษัท และที่สำคัญยังสามารถสร้างความน่าเชื่อถือ รวมไปถึงการสร้างการจดจำให้กับผู้เข้าชมหรือกลุ่มเป้าหมายได้ไม่ยาก

เคล็ดลับการออกแบบเว็บไซต์สำหรับบริษัทมหาชน

1. การออกแบบเว็บไซต์สำหรับบริษัทมหาชนให้สื่อถึงวิสัยทัศน์ของบริษัท

หน้าแรกของเว็บไซต์เป็นสิ่งแรกที่ผู้เยี่ยมชมจะเห็น การออกแบบหน้าแรกที่สะท้อนถึงวิสัยทัศน์ของบริษัทจึงเป็นสิ่งสำคัญ ควรมีการนำเสนอข้อความที่ชัดเจนเกี่ยวกับพันธกิจ วัตถุประสงค์ และคุณค่าของบริษัท การใช้สี โลโก้ และภาพถ่ายที่สอดคล้องกับแบรนด์สามารถช่วยเสริมสร้างความเข้าใจในทิศทางธุรกิจ ตัวอย่างเช่น หากเป็นบริษัทเกี่ยวกับด้านเทคโนโลยีที่เน้นนวัตกรรม อาจใช้การออกแบบเว็บไซต์ด้วยกราฟิกที่เรียบง่าย โทนสีที่สื่อถึงความทันสมัย และภาพถ่ายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี

2. การเน้นข้อมูลที่ผู้ถือหุ้นต้องการ

เว็บไซต์สำหรับบริษัทมหาชน การสื่อสารข้อมูลทางการเงินเป็นเรื่องที่ผู้ถือหุ้นและนักลงทุนให้ความสำคัญ การออกแบบเว็บไซต์สำหรับบริษัทมหาชนจึงควรให้ความสำคัญกับการนำเสนอข้อมูลเหล่านี้อย่างเป็นระเบียบ อัปเดตได้ง่าย และมีเนื้อหาที่ชัดเจน ควรมีหน้าเฉพาะสำหรับรายงานทางการเงิน รายงานประจำปี ข้อมูลการประชุมผู้ถือหุ้น และข่าวสารทางธุรกิจที่สำคัญ

นอกจากนี้ ควรเพิ่มส่วนการดาวน์โหลดเอกสารหรือฟีเจอร์ที่อนุญาตให้ผู้ถือหุ้นเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกได้ง่าย ตัวอย่างเช่น บริษัทด้านพลังงานมหาชนสามารถออกแบบหน้า “นักลงทุนสัมพันธ์” (Investor Relations) ที่มีกราฟิกแสดงข้อมูลทางการเงินอย่างชัดเจน พร้อมปุ่มดาวน์โหลดรายงานแบบ PDF ที่ผู้ถือหุ้นสามารถเข้าถึงได้ทันที ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความโปร่งใสและสร้างความน่าเชื่อถือได้อีกด้วย

3. การใช้สื่อมัลติมีเดียในการสื่อสาร

การนำสื่อมัลติมีเดีย เช่น วิดีโอ แผนภาพ หรือภาพเคลื่อนไหว มาช่วยในการสื่อสารวิสัยทัศน์และภาพลักษณ์ของบริษัท เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ เว็บไซต์ที่ใช้มัลติมีเดียจะช่วยให้ผู้เยี่ยมชมเข้าใจเรื่องราวของบริษัทได้ดีขึ้น นอกจากนี้ วิดีโอที่แสดงถึงกิจกรรมทางสังคม ความรับผิดชอบต่อสังคม และนวัตกรรมที่บริษัทมีจะช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและน่าเชื่อถือ

ตัวอย่างเช่น บริษัทด้านพลังงานที่มีเป้าหมายในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อาจใช้วิดีโอที่นำเสนอการดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการใช้พลังงานทดแทน เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้ถือหุ้นว่า บริษัทกำลังทำงานตามแนวทางที่ยั่งยืน

4. การปรับแต่งเนื้อหาให้สอดคล้องกับการประชาสัมพันธ์ (PR)

เนื้อหาบนเว็บไซต์สำหรับบริษัทมหาชนต้องสอดคล้องกับกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ของบริษัท ซึ่งรวมถึงการนำเสนอข่าวสารทางธุรกิจ กิจกรรมของบริษัท และความสำเร็จที่เกิดขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจและเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับผู้ถือหุ้นและนักลงทุน การจัดทำหน้า “ข่าวสาร” ที่อัปเดตข่าวประชาสัมพันธ์ บทสัมภาษณ์ผู้บริหาร หรือข้อมูลที่ได้รับจากสื่อมวลชน จะช่วยให้บริษัทสื่อสารเรื่องราวของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวอย่างเช่น บริษัทมหาชนด้านการเงินอาจใช้หน้าข่าวสารในการประชาสัมพันธ์โครงการใหม่ๆ หรือกิจกรรมที่มีผลกระทบทางสังคม การนำเสนอผ่านบทความหรือคลิปวิดีโอที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารจะช่วยเสริมภาพลักษณ์ของบริษัทในสายตาของนักลงทุนและสาธารณชน

5. การจัดวางข้อมูลให้เป็นระเบียบและใช้งานง่าย

เว็บไซต์สำหรับบริษัทมหาชนควรมีการออกแบบที่เน้นความสะอาด เรียบง่าย และใช้งานง่าย การจัดวางข้อมูลเป็นระเบียบทำให้ผู้เยี่ยมชมสามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว การสร้างเมนูที่ชัดเจนและใช้งานง่ายจะช่วยให้ผู้ถือหุ้น นักลงทุน และสื่อมวลชนสามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญได้โดยไม่ยุ่งยาก

ตัวอย่างเช่น การจัดทำเมนูที่ชัดเจนแยกหมวดหมู่ตามประเภทข้อมูล เช่น “ข้อมูลนักลงทุน” “รายงานประจำปี” “ข่าวสาร” และ “เกี่ยวกับเรา” จะช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและสะดวกมากยิ่งขึ้น

6. การใช้การออกแบบที่รองรับการใช้งานบนทุกอุปกรณ์ (Responsive Design)

ปัจจุบันผู้ถือหุ้นและนักลงทุนเข้าถึงข้อมูลผ่านหลายอุปกรณ์ เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์ การออกแบบเว็บไซต์ให้รองรับการแสดงผลบนทุกอุปกรณ์จึงเป็นสิ่งสำคัญ (Responsive Design) เพื่อให้ข้อมูลที่แสดงผลนั้นสามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวกและชัดเจน ไม่ว่าจะใช้อุปกรณ์ใดก็ตาม

ตัวอย่างเช่น การออกแบบหน้าเว็บไซต์ที่มีแผนผังการแสดงผลที่เปลี่ยนไปตามขนาดหน้าจอ เช่น จากการแสดงผลแบบแนวนอนในคอมพิวเตอร์เป็นแนวตั้งโทรศัพท์มือถือ ทำให้ผู้ถือหุ้นสามารถดูข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา

7. การใส่ดีไซน์และอัตลักษณ์ขององค์กร

ทุกองค์กรและทุกบริษัทมีอัตลักษณ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งการใส่อัตลักษณ์ขององค์กรหรือบริษัทลงไปเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญ เพราะการใส่อัตลักษณ์ขององค์กรหรือบริษัทลงไปในเว็บไซต์จะทำให้ผู้เข้าชมสามารถรู้ได้ในทันทีว่าเป็นเว็บไซต์ขององค์กรหรือบริษัทอะไร 

ตัวอย่างเช่น การใส่สีที่เป็นสีประจำองค์กรหรือบริษัท หากเป็นสีที่มีความฉูดฉาด แต่องค์กรหรือบริษัทไม่จำเป็นต้องใส่ไปทุกจุด โดยอาจเลือกใช้เป็นบางจุด เช่น เมนู หรือ ปุ่ม นอกจากเรื่องสี การเลือกภาพหรือฟอนต์ก็เป็นสิ่งที่สามารถเสริมอัตลักษณ์ขององค์กรให้ชัดเจนได้มากยิ่งขึ้น

บทสรุป

การออกแบบเว็บไซต์ในแต่ละองค์กรหรือบริษัทแต่ละแห่งมีความแตกต่างกัน ทำให้ไม่มีรูปแบบที่ตายตัวในการสร้างเว็บไซต์ให้กับองค์กรหรือบริษัท แต่หากทราบถึงเคล็ดลับการออกแบบเว็บไซต์เบื้องต้น หรือทราบถึฟีเจอร์สำคัญที่เว็บไซต์บริษัทมหาชนต้องมี ก็สามารถนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้ เพื่อสร้างเว็บไซต์สำหรับองค์กรหรือบริษัทที่มีประสิทธิภาพได้

สำหรับบริษัทที่ต้องการที่ปรึกษาและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบเว็บไซต์อย่างมืออาชีพ เพื่อสร้างคุณค่าและภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร สามารถติดต่อพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญได้ที่: (คลิกที่นี่)

Scroll to Top