E-Commerce คืออะไร? ธุรกิจแบบไหนที่ใช่ในโลกการค้าออนไลน์

E-Commerce คืออะไร? ธุรกิจแบบไหนที่ใช่ในโลกการค้าออนไลน์

Table of Contents

E-Commerce คืออะไร? เหมาะกับธุรกิจประเภทใด?เจาะลึกการค้าออนไลน์ยุคดิจิทัล

E-Commerce คืออะไร? ได้กลายเป็นคำถามสำคัญสำหรับเจ้าของธุรกิจที่ต้องการปรับตัวและเติบโตในโลกออนไลน์ “E-Commerce” หรือ “การค้าอิเล็กทรอนิกส์” เป็นการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การออกแบบเว็บไซต์ การจัดการระบบซื้อขาย ไปจนถึงการตลาดดิจิทัล

สำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจ E-Commerce การเลือกแพลตฟอร์มและการออกแบบเว็บไซต์เป็นขั้นตอนสำคัญ เช่น การเลือกบริการ รับทำเว็บไซต์ทั้ง E-Commerce Magento และ Woo Commerce หรือ รับทำเว็บไซต์ Shopify ซึ่งเหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการความยืดหยุ่นและฟีเจอร์ที่หลากหลาย นอกจากนี้ การทำเว็บไซต์ E-Commerce Template Design และ Development ยังช่วยให้เว็บไซต์ของคุณดูมืออาชีพและใช้งานง่าย พร้อมเพิ่มโอกาสทางการตลาดด้วยบริการ การทำ Social Media Management เพื่อช่วยสร้างการรับรู้แบรนด์และดึงดูดลูกค้าเป้าหมาย

ในบทความนี้ เราจะพาคุณไปรู้จักกับ E-Commerce ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น พร้อมแนะนำว่าธุรกิจแบบใดเหมาะกับการเข้าสู่โลกการค้าออนไลน์ และวิธีการเริ่มต้นที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคุณ!

E-Commerce คืออะไร?

E-Commerce คืออะไร

E-Commerce คือ การซื้อขายสินค้าและบริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือเรียกง่าย ๆ ว่าการขายของออนไลน์ โดยคุณสามารถเลือกสินค้า ชำระเงิน และรอรับสินค้าได้จากที่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นการซื้อของผ่านเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน หรือโซเชียลมีเดีย เช่น Shopee, Lazada หรือ Facebook Marketplace ทุกกระบวนการตั้งแต่การเลือกดูสินค้า การสั่งซื้อ และการชำระเงิน ถูกดำเนินการแบบออนไลน์ทั้งหมด ทำให้สะดวกและรวดเร็วกว่าเดิมมาก

ธุรกิจ E-Commerce หรือ อีคอมเมิร์ซ มีหลายรูปแบบ เช่น การขายตรงจากร้านค้าไปยังผู้บริโภค (B2C) การซื้อขายระหว่างผู้บริโภคด้วยกัน (C2C) หรือการขายส่งระหว่างธุรกิจ (B2B) ข้อดีของ อีคอมเมิร์ซ คือ ช่วยให้คุณ สามารถซื้อขายสินค้าได้ทุกที่ทุกเวลาโดยที่ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้าน ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย และช่วยให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงลูกค้าได้กว้างขวางขึ้นกว่าเดิม

ประเภทของ E-Commerce ที่ควรรู้

การทำความเข้าใจประเภทของ E-Commerce เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญสำหรับการเข้าสู่ธุรกิจออนไลน์ แต่ละประเภทมีรูปแบบการทำงานและกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน ดังนี้

ตามรูปแบบธุรกิจ

  • B2C (Business to Consumer): การขายสินค้าหรือบริการจากธุรกิจสู่ผู้บริโภคโดยตรง เช่น การซื้อเสื้อผ้าผ่าน Lazada หรืออาหารเสริมผ่านเว็บไซต์ของแบรนด์

  • B2B (Business to Business): การซื้อขายระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ เช่น ผู้ผลิตขายสินค้าส่งให้ตัวแทนจำหน่าย หรือการให้บริการซอฟต์แวร์สำหรับองค์กร ซึ่ง การประยุกต์ใช้ระบบ E-Commerce ในกลยุทธ์การตลาด B2B เป็นกลยุทธ์สำคัญ ที่นิยมใช้กัน

  • C2C (Consumer to Consumer): การซื้อขายระหว่างผู้บริโภค เช่น การขายสินค้ามือสองผ่าน Facebook Marketplace หรือ eBay

  • ประเภทอื่นๆ (B2G และ C2B): เช่น B2G ธุรกิจขายให้หน่วยงานรัฐ และ C2B ผู้บริโภคเสนอบริการให้ธุรกิจ เช่น ฟรีแลนซ์ออกแบบโลโก้

ตามประเภทสินค้าและบริการ

  • สินค้าที่จับต้องได้ (Physical Goods): สินค้าทั่วไป เช่น เสื้อผ้า หนังสือ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ต้องมีการจัดส่งถึงลูกค้า

  • สินค้าดิจิทัล (Digital Goods): สินค้าที่จัดส่งผ่านระบบออนไลน์ เช่น เพลง, เกม, ซอฟต์แวร์ หรือคอร์สเรียนออนไลน์

  • บริการออนไลน์ (Online Services): การให้บริการผ่านอินเทอร์เน็ต เช่น การจองโรงแรม การสมัครสมาชิก Netflix หรือการสอนออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ

ช่องทางการขายบน E-Commerce

การเลือก ช่องทางการขายบน E-Commerce ที่เหมาะสมถือเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายขึ้น โดยมีช่องทางสำคัญดังนี้

เว็บไซต์ E-Commerce / Brand.com

การขายผ่าน เว็บไซต์ E-Commerce หรือ Brand.com คือ การที่ธุรกิจสร้างเว็บไซต์ของตัวเอง เพื่อใช้เป็นช่องทางขายสินค้าและบริการโดยตรง ซึ่งเว็บไซต์เหล่านี้เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการสร้างแบรนด์เป็นของตัวเอง โดยแพลตฟอร์มที่ให้บริการการสร้างเว็บไซต์ E-commerce ที่ได้รับความนิยม เช่น Shopify และ Magento ซึ่งจุดเด่นของ เว็บไซต์ E-Commerce คือ

  • ควบคุมได้ทั้งหมด: สามารถปรับแต่งการออกแบบและฟีเจอร์ให้เหมาะกับแบรนด์ได้
  • สร้างภาพลักษณ์ที่น่าเชื่อถือ: ช่วยเสริมความเป็นมืออาชีพและเพิ่มความไว้วางใจให้กับลูกค้า
  • ไม่มีค่าธรรมเนียมแพลตฟอร์ม: ลดต้นทุนเพราะไม่ต้องเสียค่าคอมมิชชั่นให้ Marketplace
  • เก็บข้อมูลลูกค้าได้เต็มรูปแบบ: การขายผ่านเว็บไซต์ ช่วยให้ธุรกิจสามารถเก็บข้อมูลลูกค้าโดยตรงเพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์และนำไปปรับปรับกลยุทธ์การตลาด
  • รองรับการใช้งานที่หลากหลาย: สามารถเชื่อมต่อระบบ CRM หรือระบบขนส่งเพื่อเพิ่มความสะดวก

Marketplace

Marketplace เป็นเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่รวมผู้ขายและผู้ซื้อไว้ในที่เดียว แต่บริการ Marketplace จะมีการหักเปอร์เซ็นต์หรือส่วนแบ่งจากการขาย เช่น Shopee, Lazada, หรือ Amazon ซึ่งมีจุดเด่น คือ

  • ใช้งานง่าย ผู้ขายเพียงสมัครใช้งานก็สามารถเริ่มขายได้ทันที
  • มีฐานลูกค้าขนาดใหญ่ในตัว
  • ระบบสนับสนุนการขายแบบครบวงจร เช่น ระบบการชำระเงินและระบบการจัดส่ง
  • มีแคมเปญส่งเสริมการขายเพื่อดึงดูดลูกค้า เช่น โปรโมชันและส่วนลด

Social Commerce

Social Commerce คือ การขายสินค้าผ่านโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook Marketplace หรือ LINE Shopping โดยโซเชียลมีเดีย จะเน้นใช้สำหรับการโปรโมต การสื่อสาร และการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ซึ่งมีจุดเด่น คือ

  • สื่อสารและตอบโต้กับลูกค้าได้โดยตรง
  • สร้างความน่าสนใจด้วยคอนเทนต์ เช่น ไลฟ์สดหรือโพสต์รีวิว
  • ใช้โฆษณาเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน
  • เหมาะสำหรับสินค้าที่ต้องการสร้างความไว้วางใจ ด้วยกลยุทธ์และเทคนิคการสร้างคอนทเนต์ต่าง ๆ

ข้อดีและข้อควรพิจารณาในการทำ E-Commerce

การทำ E-Commerce มีข้อได้เปรียบที่ช่วยให้ธุรกิจเติบโตและเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น แต่ทุกวิธีล้วนมีทั้งข้อดีและข้อควรพิจารณา หากมีการปรับใช้อย่างเหมาะสม ก็จะช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ

ข้อดีของการทำ E-Commerce

fb-4
  • เข้าถึงลูกค้าได้กว้างขวาง: สามารถขายสินค้าได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่จำกัดเฉพาะพื้นที่ ทำให้เข้าถึงลูกค้าทั่วโลกได้ง่ายขึ้น
  • ลดต้นทุนการดำเนินธุรกิจ: อีคอมเมิร์ซ คือ การขายสินค้าหรือบริการผ่านระบบออนไลน์ ทำให้ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านจริง ช่วยลดค่าเช่าพื้นที่และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
  • ความสะดวกสบายของลูกค้า: ลูกค้าสามารถเลือกซื้อสินค้า เปรียบเทียบราคา และชำระเงินได้ทุกที่ทุกเวลา ช่วยเพิ่มโอกาสในการขาย
  • ใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์: สามารถเก็บข้อมูลพฤติกรรมลูกค้าเพื่อทำการตลาดที่ตรงเป้าหมาย เช่น การเสนอโปรโมชันที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า
  • ปรับตัวง่ายและขยายตลาดได้รวดเร็ว: สามารถเพิ่มสินค้าใหม่หรือเข้าสู่ตลาดใหม่ได้โดยไม่ต้องลงทุนเพิ่มมาก

สิ่งที่ต้องพิจารณาของการทำ E-Commerce

  • ลูกค้าไม่ได้เห็นสินค้าโดยตรง: สินค้าหรือบริการทุกชนิด จำเป็นต้องใส่รูปหรือรายละเอียดให้ครบถ้วน เพราะลูกค้าไม่สามารถสัมผัสตัวสินค้าได้โดยตรง
  • การบริการที่ถูกจำกัด: เนื่องจากไม่สามารถเข้าไปเสนอสินค้าหรือบริการได้โดยตรง รวมถึงบางแพลตฟอร์มยังมีข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ทำให้จำเป็นต้องอาศัยเทคนิค เพื่อโน้มน้าวใจลูกค้า
  • การแข่งขันสูง: อีคอมเมิร์ซ คือ แพลตฟอร์มในตลาดออนไลน์มีผู้ขายจำนวนมาก ทำให้ต้องมีจุดเด่นเพื่อดึงดูดลูกค้า
  • ความเชื่อมั่นของลูกค้า: ต้องสร้างความน่าเชื่อถือ เช่น ระบบชำระเงินที่ปลอดภัย และการให้บริการหลังการขายที่ดี
  • การจัดการด้านโลจิสติกส์: ต้องวางแผนการจัดส่งสินค้าให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความพึงพอใจ

แนวโน้ม E-Commerce ในปี 2025

ในปี 2025 ทิศทางของ E-Commerce มีแนวโน้มพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปในหลายด้าน โดยได้รับอิทธิพลจากเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค และปัจจัยเศรษฐกิจโลก แนวโน้มสำคัญที่คาดการณ์ไว้ ได้แก่

  • การใช้เทคโนโลยี AI และ Chatbots: AI จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เพราะ AI จะช่วยให้แพลตฟอร์ม E-Commerce เข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าได้อย่างแม่นยำขึ้น ทำให้สามารถแนะนำสินค้า บริการ และโปรโมชันที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าแต่ละคนได้ดียิ่งขึ้น

  • Social Commerce และ Live Commerce เติบโตต่อเนื่อง: แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook จะพัฒนาฟีเจอร์ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถซื้อสินค้าได้โดยตรงผ่านแอป Live Commerce จะยังคงเป็นช่องทางสำคัญในการขายสินค้า โดยเฉพาะในเอเชีย เช่น จีนและไทย ที่ผู้บริโภคมีความคุ้นเคยกับการดูไลฟ์สดเพื่อเลือกซื้อสินค้า

  • การชำระเงินและระบบการเงินแบบดิจิทัล: ระบบ Buy Now หรือ Pay Later จะได้รับความนิยมมากขึ้น ทำให้ลูกค้าสามารถทำการซื้อขายได้อย่างสะดวกและตัดสินใจซื้อได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

  • Augmented Reality (AR) และ Virtual Reality (VR): เทคโนโลยี AR และ VR จะถูกนำมาใช้เพื่อยกระดับประสบการณ์ช้อปปิ้ง เช่น การทดลองสินค้าเสมือนจริง หรือการจำลองการตกแต่งบ้านด้วยเฟอร์นิเจอร์
E-Commerce ในปี 2025 จะมีการแข่งขันที่เข้มข้นมากขึ้น โดยแบรนด์ที่ปรับตัวและตอบสนองต่อแนวโน้มเหล่านี้ได้ดีจะมีโอกาสเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต

เริ่มต้นทำ E-Commerce อย่างไรให้ประสบความสำเร็จ

การเริ่มต้นทำอีคอมเมิร์ซ คือ สิ่งที่ท้าทายสำหรับธุรกิจทุกรูปแบบ และเพื่อ ให้ประสบความสำเร็จ ต้องอาศัยการวางแผนอย่างเป็นระบบ ความเข้าใจตลาด และการปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของลูกค้า ต่อไปนี้ คือ ขั้นตอนสำคัญ

fb-5

1. ศึกษาและวางแผนธุรกิจอย่างละเอียด

  • เลือกตลาดเป้าหมาย: เข้าใจว่ากลุ่มลูกค้าเป้าหมายของคุณเป็นใคร มีพฤติกรรมการซื้ออย่างไร และชื่นชอบสินค้าแบบไหน
  • วิเคราะห์คู่แข่ง: ศึกษาว่าคู่แข่งในตลาดของคุณทำอะไรดี และอะไรที่ยังเป็นจุดอ่อน เพื่อใช้สร้างความแตกต่าง
  • เลือกประเภทสินค้า: เลือกสินค้าที่มีโอกาสเติบโตสูง หรือเป็นสินค้าที่คุณมีความเชี่ยวชาญ

2. ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน

  • กำหนดเป้าหมาย เช่น ยอดขายรายเดือน การเข้าถึงลูกค้าใหม่ หรือการสร้างการรับรู้ของแบรนด์
  • วางแผนงบประมาณที่เหมาะสมสำหรับการเริ่มต้นธุรกิจ เช่น ค่าโฆษณา การพัฒนาเว็บไซต์ และโลจิสติกส์

3. เลือกแพลตฟอร์มที่เหมาะสม

  • แพลตฟอร์มขายของออนไลน์: เช่น Lazada, Shopee และ Amazon หากคุณต้องการใช้ตลาดที่มีลูกค้าอยู่แล้ว
  • สร้างเว็บไซต์ของตนเอง: ใช้เครื่องมือสร้างเว็บที่มีประสิทธิภาพอย่าง Shopify, WooCommerce หรือ Magento
  • Social Media Commerce: ใช้ Facebook หรือ Instagram เพื่อเริ่มต้นขายหรือเปิดร้านได้ทันทีโดยไม่ต้องลงทุนสูงจนเกินไป

การจัดการสินค้าที่มีประสิทธิภาพ

  • แหล่งสินค้า: เลือกผู้จัดจำหน่ายที่เชื่อถือได้และมีต้นทุนที่แข่งขันได้
  • การบริหารสต๊อกสินค้า: เริ่มจากการจัดการสินค้าขนาดเล็กเพื่อหลีกเลี่ยงการขาดทุนจากสินค้าค้างสต๊อก

5. สร้างประสบการณ์การซื้อที่ยอดเยี่ยม

  • เว็บไซต์ใช้งานง่าย: ให้ลูกค้าสามารถค้นหาสินค้าและชำระเงินได้สะดวก
  • จัดส่งรวดเร็ว: เลือกพาร์ทเนอร์ขนส่งที่มีคุณภาพ และมีระบบติดตามพัสดุ
  • บริการลูกค้า: มีช่องทางให้ลูกค้าติดต่อได้สะดวก เช่น Live Chat หรือ Chatbot

6. การตลาดและการโปรโมต

  • SEO และ Content Marketing: สร้างเนื้อหาที่ช่วยดึงดูดลูกค้าผ่านการค้นหาบน Google
  • โฆษณาออนไลน์: การใช้เครื่องมือจากแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เช่น ใช้ Facebook Ads หรือ Google Ads เพื่อเพิ่มการมองเห็น
  • Social Media: โพสต์เนื้อหาเกี่ยวกับสินค้า หรือสร้างแคมเปญ โปรโมชันอย่างสม่ำเสมอ
  • Influencer Marketing: ร่วมมือกับ Influencers ในกลุ่มเป้าหมายของคุณ

7. วิเคราะห์และปรับปรุง

  • ใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ: ติดตามผลการดำเนินงาน เช่น อัตราการคลิก (CTR), Conversion Rate, และยอดขาย
  • ปรับกลยุทธ์ตามความต้องการของตลาด: ตอบสนองต่อเทรนด์หรือความคิดเห็นของลูกค้า
  • เรียนรู้จากคู่แข่งและตลาด: การศึกษาจุดอ่อนหรือจุดแข่งของคู่แข่ง และนำมา พัฒนาสินค้าและบริการของตัวเองให้ดีขึ้น
  • เพิ่มช่องทางการขาย: ควรศึกษาตลาดของประเทศ ๆ เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจหรือการขยายไปยังตลาดต่างประเทศในอนาคต

สรุป

E-Commerce คือ รูปแบบการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์ที่เปิดโอกาสให้ธุรกิจทุกขนาดเติบโตได้ในยุคดิจิทัล ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ประกอบการรายย่อยหรือองค์กรใหญ่ การเลือกแพลตฟอร์มที่เหมาะสม เช่น Magento, Woo Commerce หรือ Shopify พร้อมกับการออกแบบเว็บไซต์ให้ดึงดูดและใช้งานง่าย รวมถึงการจัดการ Social Media อย่างมืออาชีพ จะช่วยเพิ่มศักยภาพและขยายฐานลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเข้าสู่โลก E-Commerce จึงไม่ใช่เพียงโอกาส แต่เป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจในยุคดิจิทัล!

สนใจบริการ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับธุรกิจ E-commerce

อีคอมเมิร์ซ คือ สิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับธุรกิจที่ต้องการขายสินค้าหรือบริการในโลกออนไลน์ สำหรับแบรนด์หรือธุรกิจที่กำลังจะก้าวเข้าสู่โลกของอีคอมเมิร์ซ อาจมีข้อสงสัย ซึ่งเราได้รวบรวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับธุรกิจอีคอมเมิร์ซและคำตอบมาไว้ให้คุณแล้ว

E-commerce มีธุรกิจอะไรบ้าง?

​​E-Commerce ครอบคลุมธุรกิจหลากหลายประเภท ซึ่งสามารถจำแนกตามลักษณะของสินค้าและบริการ รวมถึงรูปแบบธุรกิจได้ดังนี้

  • O2O Marketing (Online to Offline Marketing): ธุรกิจที่เชื่อมต่อการทำการตลาดออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกัน เช่น การโปรโมตสินค้าผ่านเว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดีย แล้วดึงลูกค้าให้มาซื้อสินค้าหรือใช้บริการที่ร้านค้าจริง ตัวอย่างที่ชัดเจน คือ แคมเปญโปรโมชันในแอปพลิเคชันที่แลกรับส่วนลดหน้าร้าน เช่น Starbucks Rewards หรือ GrabMart ที่สนับสนุนการสั่งของออนไลน์แล้วไปรับที่ร้าน

  • D2C (Direct to Consumer): ธุรกิจที่ผู้ผลิตขายสินค้าโดยตรงให้ลูกค้าโดยไม่ผ่านตัวกลาง เช่น ตัวแทนจำหน่ายหรือร้านค้า ช่วยลดต้นทุนและสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับลูกค้า ตัวอย่างเช่น แบรนด์เครื่องสำอางที่ขายสินค้าผ่านเว็บไซต์ของตัวเองอย่าง Glossier หรือ Warby Parker ที่จำหน่ายแว่นตาออนไลน์พร้อมบริการลองสินค้าที่บ้าน

  • Crypto Currency / โลกเสมือน / Metaverse: ธุรกิจ E-Commerce ที่เกี่ยวข้องกับสกุลเงินดิจิทัลและโลกเสมือน เช่น การซื้อขายสินค้าหรือบริการผ่าน Crypto Currency, การสร้างและขายสินค้า NFT หรือการจำหน่ายสินค้าเสมือนจริงในแพลตฟอร์ม Metaverse เช่น Decentraland หรือ Roblox ที่ผู้ใช้งานสามารถซื้อสินค้าในรูปแบบดิจิทัลเพื่อตกแต่งตัวละครหรือพื้นที่ในโลกเสมือนจริง

E-commerce ทํางานอย่างไร?

E-Commerce หรือ อีคอมเมิร์ซ คือ การซื้อขายสินค้าและบริการผ่านระบบออนไลน์ โดยใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลและเทคโนโลยีต่าง ๆ ในการทำธุรกรรมทางการค้า รูปแบบการทำงานของ E-Commerce สามารถแบ่งเป็นขั้นตอนหลักได้ ดังนี้

  • ขั้นตอนที่ 1: ผู้จำหน่ายนำเสนอสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์ ได้แก่ เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน และ Social Media
  • ขั้นตอนที่ 2: ลูกค้าสามารถเลือกชมสินค้าที่สนใจและเพิ่มรายการลงในตะกร้าสินค้าสินค้า
  • ขั้นตอนที่ 3: ลูกค้าทบทวนรายการสินค้าในตะกร้าและดำเนินการชำระเงินผ่านระบบที่กำหนด
  • ขั้นตอนที่ 4: ระบบส่งข้อมูลการสั่งซื้อไปยังแดชบอร์ดของผู้จำหน่าย
  • ขั้นตอนที่ 5: ผู้จำหน่ายตรวจสอบและยืนยันคำสั่งซื้อในระบบ
  • ขั้นตอนที่ 6: ระบบส่งต่อข้อมูลคำสั่งซื้อไปยังฝ่ายคลังสินค้าเพื่อเตรียมจัดส่ง
  • ขั้นตอนที่ 7: ระบบแจ้งเตือนสถานะการจัดส่งและข้อมูลการติดตามสินค้าให้ลูกค้าทราบ
  • ขั้นตอนที่ 8: ผู้จัดส่งดำเนินการนำสินค้าส่งมอบถึงจุดหมายปลายทางตามที่ลูกค้าระบุ

รูปแบบของ E-Commerce มีอะไรบ้าง?

การทำธุรกิจแบบอีคอมเมิร์ซ คือ รูปแบบการทำธุรกิจที่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างกว้างขวาง และทำให้ลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการดำเนินธุรกิจได้เป็นอย่างดี ผู้บริหารหลาย ๆ คนจึงนิยมใช้อีคอมเมิร์ซแบบเต็มรูปแบบ ซึ่งการทำธุรกิจต้องประกอบด้วยอย่างน้อย 2 ฝ่ายคือผู้ซื้อและผู้ขาย โดยสามารถแบ่งรูปแบบของธุรกิจอีคอมเมิร์ซได้ดังนี้

  • B2C (Business to Consumer): การค้าระหว่างธุรกิจกับผู้บริโภคโดยตรง ถือเป็นรูปแบบที่พบเห็นและใช้งานมากที่สุดในปัจจุบัน เช่น ร้านค้าออนไลน์ทั่วไป
  • B2B (Business to Business): การค้าระหว่างธุรกิจด้วยกัน มักเกี่ยวกับการจัดซื้อวัตถุดิบ อุปกรณ์ หรือบริการสำหรับดำเนินธุรกิจ ซึ่ง กลยุทธ์การตลาด E-commerce สำหรับธุรกิจ B2B เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม
  • C2C (Consumer to Consumer): การซื้อขายระหว่างผู้บริโภคด้วยกันเอง เช่น แพลตฟอร์มตลาดออนไลน์
  • C2B (Consumer to Business): ผู้บริโภคมีอำนาจต่อรองในการกำหนดราคาและเงื่อนไข เช่น เว็บไซต์ประมูลสินค้า
  • G2C (Government to Consumer): บริการภาครัฐสู่ประชาชน เช่น ระบบทำใบขับขี่ออนไลน์
  • G2B (Government to Business): บริการภาครัฐสำหรับภาคธุรกิจ เช่น ระบบออกใบอนุญาตต่าง ๆ
  • B2G (Business to Government): ธุรกิจให้บริการแก่หน่วยงานรัฐ เช่น การประมูลงานภาครัฐ
  • C2G (Consumer to Government): ประชาชนทำธุรกรรมกับภาครัฐ เช่น การชำระภาษีออนไลน์
Scroll to Top