Table of Contents
เทคโนโลยี AR เครื่องมือม้ามืดของธุรกิจในปี 2020
ในปี 2020 จะมีการลงทุนใน AR สูงถึง 60 พันล้านเหรียญสหรัฐ การมองว่า AR หรือเทคโนโลยีใหม่ๆว่าเป็นแค่ “ตัวเสริม” ในการทำธุรกิจ อาจเป็นมุมมองที่อันตรายต่อการทำธุรกิจในอนาคต
เมื่อพูดถึง “เทคโนโลยีเออาร์” (Augmented Reality : AR) หลายคนอาจมองว่าเป็นเทคโนโลยีไกลตัว ฟังแล้วยากจะเข้าใจ และคงไม่ได้เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวันของเรา และหากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีความคิดเช่นนั้น เราต้องคงขอให้คุณคิดใหม่ เพราะปัจจุบันเทคโนโลยีARได้เข้ามามีบทบาทอยู่ในชีวิตของคุณมากขึ้น เพียงแต่คุณยังไม่รู้ตัวเท่านั้นเอง!
ปัจจุบันในต่างประเทศเทคโนโลยี AR มีบทบาทอย่างแพร่หลายในทุกภาคธุรกิจ เช่น การจำลองภาพโบราณสถานให้ปรากฏขึ้นทันทีที่ใช้สมาร์ทโฟนส่องไปยังหนังสือประวัติศาสตร์, การช็อปปิ้งให้สมจริงยิ่งขึ้นด้วยการทดลองสวมเสื้อผ้าหรือเครื่องประดับผ่านโปรแกรม ที่ใช้เทคโนโลยีดังกล่าว, เกมส์ต่างๆ ที่ทำให้ผู้เล่นรู้สึกสมจริงยิ่งขึ้นด้วยภาพแบบ 3 มิติ หรือมองเห็นได้ 360 องศา, สร้างสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบมัลติมีเดียเพียงใช้สมาร์ทโฟน ส่องไปยังปกหนังสือ, การค้นหาสถานที่ให้ปรากฏเป็นรูปแบบ 3 มิติ และ 360 องศา ในแอพพลิเคชั่นนำทาง, การส่องมือถือไปยังฉลากข้างขวดเครื่องปรุง เพื่อดูข้อมูลวัตถุดิบภายในขวด เป็นต้น มาไกลถึงตอนนี้ หากคุณยังสงสัย ว่าทำไมเทคโนโลยีAR จึงจำเป็นต้องถูกนำมาใช้ในภาคธุรกิจในประเทศไทย ทั้งที่ความเข้าใจในเทคโนโลยีดังกล่าวของผู้ใช้งานยังอยู่ในระดับที่ยังต้องเรียนรู้ คำตอบก็คือ .เทคโนโลยี AR นั้นใช้งานง่าย เพียงคุณมีสมาร์ทโฟน (หรือแท็บเล็ต) ซึ่งสามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นได้ ก็แค่ดาวน์โหลดแอพของบริการต่างๆ ที่เปิดใช้เทคโนโลยี AR พร้อมกับใช้ควบคู่กับอุปกรณ์เสริมของแต่ละบริการ ซึ่งส่วนมากจะใช้ร่วมกับหนังสือหรือแผ่นป้ายที่มีสัญลักษณ์ตามที่กำหนด จากนั้นก็เปิดแอพที่ใช้งานและนำสมาร์ทโฟนไปส่องบริเวณดังกล่าว ก็จะได้ภาพ 3 มิติ หรือมุมมองแบบ 360 องศา แปลกตาและแตกต่างไปจากเดิมประกอบกับสมาร์ทโฟนที่จำเป็นต้องมีไว้ใช้ร่วมกับเทคโนโลยีARนั้น ก็เป็นสิ่งที่คนไทย (รวมทั้งคนทั่วโลก) ต่างมีใช้งานอย่างแพร่หลาย แถมยังใช้กันคล่องแคล่วจากการใช้โซเชียล ถือเป็นการปลูกฝังและสร้างความคุ้นชินในการใช้แอพพลิเคชั่นให้แก่ผู้บริโภคทุกเพศ ทุกวัย โดยไม่ทันรู้ตัวว่าเป็นพฤติกรรมที่ทำให้ตนเองได้ใกล้ชิดเทคโนโลยีขึ้นเรื่อยๆ ขณะเดียวกันก็ยังสร้างช่องทางใหม่ให้แบรนด์สามารถเข้าถึงชีวิตประจำวันของผู้บริโภคได้อย่างแยบยลจึงไม่น่าแปลกใจ ที่เราจะเห็นเทคโนโลยีARรายล้อมอยู่รอบตัว ท่ามกลางยุคธุรกิจดิจิตอลเช่นในปัจจุบัน
ตัวอย่าง AR ในธุรกิจ
Brand/Product : ไปรษณีย์ไทย
Why? : ไปรษณีย์ไทยเคยเปิดตัวแอพพลิเคชั่นค้นหาสถานที่ทำการไปรษณีย์บริเวณใกล้เคียง โดยใช้เทคโนโลยีAR เช่นกัน
How? : เพียงใช้สมาร์ทโฟนส่องออกไปบริเวณรอบๆ ตัวคุณ ระบบก็จะปรากฏที่ทำการฯ ในพิกัดต่างๆ รอบตัวคุณขึ้นมาทันที ทั้งยังสามารถแชร์ข้อมูลผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์กได้ด้วย
Brand/Product : หนังสือเกี่ยวกับรัชกาลที่ 9
Why? : เมื่อหลายปีที่ผ่านมาเคยมีการจัดทำหนังสือเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งมีเนื้อหาเข้าใจง่ายและมีภาพประกอบเป็นการ์ตูนวาดสวยงามเหมาะสำหรับเด็กๆ
How? : โดยการใช้งานก็ผสานเข้ากับเทคโนโลยีARและสมาร์ทโฟนที่มีแอพพลิเคชั่นพร้อมใช้งาน เพียงยกขึ้นส่องก็จะเห็นภาพและข้อความต่างๆ ลอยขึ้นมาจากหน้าหนังสือ
Brand/Product : IKEA
Why? : จับกลุ่มเป้าหมายลูกค้าที่มีกำลังซื้อและมีการศึกษาและชื่นชอบการตกแต่งบ้านด้วยตัวเอง แต่มักมีปัญหาเรื่องขนาดและรูปแบบว่าจะเหมาะกับที่อยู่อาศัยของตนเองหรือไม่
How? :ใช้ AR Paper ในการตัดสินใจของผู้บริโภคด้วยแนวคิด “Seeing is Believing” โดยนำกระดาษ AR ของเฟอร์นิเจอร์ชิ้นนั้นๆ ไปวางไว้ในพื้นที่ว่างๆ ของห้อง จากนั้นใช้กล้องโทรศัพท์มือถือส่องจากนั้นจะปรากฏโมเดล 3D ขึ้นและสามารถเลือกสีและปรับเปลี่ยนจุดวางเฟอร์นิเจอร์ได้จนกว่าจะลงตัว และล่าสุด IKEA ออก Interactive Catalog 2010 ที่เป็น AR ทำงานบน iPhone ด้วย
Brand/Product : Adidas Originals
Why? : เพื่อเป็นการกระตุ้นยอดขายของรองเท้า Adidas Originals และเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าและทดลอง Marketing Gimmic ใหม่ๆ
How? : คือใช้ลิ้นรองเท้าเป็นที่บรรจุโค้ด AR จากนั้นนำไปส่องกับเว็บแคมผ่านเว็บไซต์ของอาดิดาส จากนั้นจะเห็นเป็น Pop-up ของเกม Adidas AR Game Pack และใช้รองเท้านั่นแหละเป็นตัวควบคุมในการเล่นเกม แต่ก่อนอื่นต้องซื้อรองเท้า Adidas Originals ซึ่งเป็นรุ่นที่มี AR ก่อน ในราคาคู่ละ 65-95 เหรียญสหรัฐฯ แม้จะดูแปลกไปบ้างกับการถือรองเท้าลอยไปลอยมาหน้าจอคอมพิวเตอร์ก็ตามที
Brand/Product : เรย์แบน
Why? : เพื่อให้ลูกค้าสามารถทดลองแว่นตาแบบต่างๆ ของเรย์แบนได้ ซึ่งจะนำไปสู่ยอดขายที่ดีได้ในที่สุด
How? : ผ่านทาง Rayban Virtual Mirror ที่ต้องดาวน์โหลดโปรแกรมมาก่อนและเทคโนโลยีนี้ใช้ใบหน้าของเราเป็น Face Detection แทน Marker โดยลูกค้าสามารถคลิกเปลี่ยนแบบแว่นตาไปได้เรื่อยๆ เพื่อดูว่าเหมาะกับใบหน้าและบุคลิกของลูกค้าหรือไม่ ลองได้ไม่จำกัดรุ่นและไม่จำกัดระยะเวลาและไม่รู้สึกเขินเหมือนกับการไปลองที่ร้านโดยตรงหรือลูกค้าจะเลือกแว่นตาแบบต่างๆ ผ่านนายแบบ นางแบบในเว็บไซต์ก็ได้เช่นกัน
Success Story เรย์แบนหยิบเอา Consumer Insight มาแก้ปัญหาการเลือกแว่นที่เหมาะกับใบหน้าของตนเองมาใช้ แม้ในร้านแว่นตาต่างๆ จะมีโปรแกรมช่วยในการตัดสินใจหรือมีคำแนะนำจากพนักงาน แต่ไม่สามารถเทียบเท่าการลองใส่แว่นตาผ่านเว็บแคมที่บ้าน ความสำเร็จของเรย์แบนทำให้ TISSOT นำแนวคิดเดียวกันนี้ไปใช้ด้วย
Brand/Product : แคมเปญ Coke Zero กับ AVATAR
Why? : ต้องการโปรโมท Coke Zero ซึ่งเป็นสปอนเซอร์หลักของ AVATAR และต้องการเพิ่มยอดขายในช่วงที่ AVATAR เข้าฉายเมื่อปลายปี 2552 ที่ผ่านมา
How? : ใช้ Marker ที่เป็นโลโก้ AVTR บนบรรจุภัณฑ์บนขวดหรือกระป๋องของโค้ก ซีโร่และส่องไปที่เว็บแคม จากนั้นจะมีเฮลิคอปเตอร์ซึ่งเป็นยานพาหนะเดินเรื่องใน AVATAR โฉบออกมาจากหน้าจอ และเคลื่อนไหวไปในทิศทางของขวดโค้ก ซีโร่ตามแต่เราจะกำหนดได้
Success Story โค้ก ซีโร่ผลิต Promotion Pack นี้ออกมาถึง 140 ล้านชิ้นและจากปากต่อปากทำให้เกิดการทดลองเล่นได้ใจทั้งแฟนโค้กและแฟน AVATAR
Brand/Product : นิตยสาร Esquire ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2552 (Esquire แฟชั่นมีชีวิต)
Why? : เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับนิตยสาร สื่อสิ่งพิมพ์
How? : Esquire ฉบับนี้เป็น Augmented Reality Issue ผ่านทางหน้าปกที่มี Marker ติดอยู่ ซึ่งจะรับข้อมูลได้เพียงครั้งแรกที่ส่องผ่านเว็บแคม โดยไม่จำเป็นต้องยกหนังสือในแต่ละหน้าค้างไว้ตลอดเวลา ภายในจะมี3D ปรากฏในแต่ละหน้าในรูปแบบที่เชื่อมโยงกับเนื้อหาด้วย เช่น แฟชั่นบนรันเวย์ และคอลัมน์ต่างๆ
Success Story ยอดขายฉบับนี้ของนิตยสาร Esquire พุ่งกระฉูด และกลายเป็นนิตยสารที่เป็นต้นแบบของ AR และเป็น Talk of the town
Brand/Product : OLYMPUS PEN E-PL1
Why? : ต้องการโปรโมทกล้องรุ่นใหม่ในรูปแบบที่ลูกค้าสามารถมีประสบการณ์ร่วมได้อย่างง่ายเพียงแค่นั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์และต้องการสาธิตการใช้งานอย่างจริงจัง
How? : พิมพ์ Marker รูปกล้องรุ่นนี้จากเว็บไซต์ของโอลิมปัส เว็บแคมจะทำหน้าที่เสมือนเลนส์กล้อง อธิบายการใช้งานฟังก์ชั่นต่างๆ แบบ 3D แถมยังทดลองให้ถ่ายภาพได้จริงอีกด้วย
ที่โดดเด่นคือมีฟังก์ชัน Virtual Tri-pod สำหรับการใช้งานแบบ Handfree อีกด้วย
Success Story การทดลองใช้กล้องรุ่นนี้ในทุกแง่มุม ทำให้ลูกค้าสนใจ เกิดความสนุกสนานและถูกกระตุ้นการหาซื้อมาครอบครองในที่สุด
Brand/Product : Burger King
Why? : เพื่อนำเสนอเมนูใหม่ของเบอร์เกอร์ คิง ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็น Value Menu จำหน่ายในราคา 1 เหรียญสหรัฐ สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน และต้องการให้เห็นว่าเงิน 1 เหรียญสหรัฐนั้นยังมีค่ามากกว่าที่คิด
How? : สดๆ ร้อนกับรางวัล Bronze ใน Category ที่ว่าด้วย Best Use of Internet/Online Advertising in a Promotional Campaign จากเวที Cannes Lions 2010 นำเสนอในรูปแบบของ AR Banners ซึ่งเป็นสื่อออนไลน์ที่ง่ายที่สุด นอกจากจะต้องการ Engage กับลูกค้าแล้วยังนำเสนอในรูปแบบที่สนุกสนานและง่ายดาย เพียงใช้ธนบัตรใบละ 1 เหรียญสหรัฐเป็น Image Marker ในการนำเสนอ AR จากนั้นเบอร์เกอร์ คิง เมนูสุดคุ้มนี้จะปรากฏซ้อนทับกับธนบัตรหรือจะจัดวางให้อยู่บริเวณปากของเราพอดีพลิกธนบัตรไปเรื่อยๆ จะเปลี่ยนเป็นเมนูต่างๆ เป็นการให้ข้อมูลสินค้าไปในตัว สุดท้ายคาแร็กเตอร์เบอร์เกอร์ คิงจะปรากฏแทนหน้าเรา
Success Story เฉลี่ยแล้วผู้บริโภคกว่า 15,000 คน มีปฏิสัมพันธ์กับแบนเนอร์ชิ้นนี้ของเบอร์เกอร์ คิง ราว 52 วินาที และมีหลายคนที่นำคลิปวิดีโอของตนไปโพสต์แชร์ใน Youtube กลายเป็น Viral Video ต่อไป
ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เป็นธุรกิจAR ที่ได้นำมาเป็นตัวอย่างให้ได้ดูกัน เพื่อช่วยกระตุ้นยอดขายได้เป็นอย่างดี จึงทำให้ธุรกิจที่ใช้ARเป็นที่ยอมรับ และที่สำคัญคุณต้องระวังกับเทคโนโลยีARตัวนี้ให้ดีเพราะมันกำลังเข้ามามีบทบาทอย่างมากและในอนาคตก็เป็นไปได้ว่าธุรกิจส่วนใหญ่จะหันมาใช้ARกันหมด