11 ขั้นตอนประสิทธิภาพที่ช่วยคุณลด Bounce Rate ใน Google analytics

Table of Contents

Bounce Rate คืออะไร?

Bounce Rate คือจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์หน้าใดหน้าหนึ่งหรือหน้า Landing Page แล้วออกไปโดยปราศจากการเยี่ยมชมหน้าอื่นๆของเว็บไซต์

Google analytics จะคำนวณและรายงานทั้ง Bounce Rate ของเว็บเพจและ Bounce Rate ของเว็บไซต์

ความสำคัญของการวัด Bounce Rate

หาก Bounce Rate สูงย่อมหมายความผู้คนเข้ามาเพียงหน้าเดียวแล้วออกไป ไม่ได้สนใจจุดอื่นๆ หน้าอื่นๆ หรือมีปฏิสัมพันธ์กับเว็บไซต์หรือเพจแต่อย่างไร Bounce Rate จึงเป็นเสมือนตัวชี้วัดคุณภาพของโฆษณาและเว็บไซต์ได้ด้วย

คุณสามารถใช้ Bounce Rate วัดคุณภาพการเข้าชม

เว็บไซต์ของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างเช่น คุณจะสามารถทราบได้ว่าการสื่อสารผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น SEO, PPC, Email, Display ไม่ดีนัก จากการวัด Bounce Rate นี่เอง

ซึ่งหากเว็บไซต์ของคุณมีคุณภาพที่ดีและเหมาะสม อัตราของ Conversion Rate ก็จะสูง

Conversion Rate คือการที่ผู้เข้าชมเว็บไซต์เข้ามาในเว็บไซต์แล้วกระทำการใดใดให้เกิดขึ้นบนหน้าเว็บไซต์ตามวัตถุประสงค์ที่ผู้ทำสถิติต้องการ เช่นดูวิดิโอ คลิกซื้อสินค้า อ่านรีวิวสินค้า เป็นต้น

การแก้ปัญหา Bounce Rate สูงต้องเริ่มจากการตั้งคำถามเสียก่อน

คุณต้องหาคำถามที่ถูกต้องถ้าคุณถามว่า

ทำไมเว็บไซต์ของคุณมี Conversion rate ต่ำ?

ถ้าหากคุณถามคำถามนี้ คุณกำลังมาผิดทาง แต่ถ้าคุณถามว่า

ทำไม Bounce Rate เว็บไซต์ของคุณถึงสูง ?

นี่คือคำถามที่ถูกต้อง

อย่างแรกคุณต้องเข้าใจก่อนว่า ถ้าผู้คนเข้ามายังเว็บไซต์ของคุณและไม่ได้ไปยังหน้าอื่น ๆ มันก็ย่อมเป็นเรื่องยากที่พวกเขาจะตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการของคุณ เพราะความผูกพันธ์ที่ลูกค้ามีต่อแบรนด์ จะเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดรายได้ให้กับคุณได้อย่างเป็นกอบเป็นกำมากกว่าจำนวนของผู้ที่เข้ามาชมเว็บไซต์

ถ้าคุณสามารถคิดออกว่า เพราะเหตุใดผู้คนจึงเข้ามายังเว็บไซต์ของคุณและออกไปโดยไม่มีปฏิสัมพันธ์ใดใด คุณก็จะแก้ปัญหา Bounce Rate ได้ไม่ยาก

วิธีที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่ม Conversion Rate คือการลด Bounce Rate

Google Analytics คำนวณ Bounce Rate อย่างไร

Google analytics คำนวณทั้ง Bounce Rate ของเว็บไซต์และ Bounce Rate ของเว็บเพจ

Bounce Rate ของเพจ จะคำนวณจากที่ผู้เข้าชมหน้าเพจ เข้ามายังหน้าเพจนั้นและออกไปโดยไม่ไม่ไปสู่หน้าอื่นๆ เช่น เข้ามา 100 คน และออกไปโดยไม่ไปหน้าอื่น ๆ 80 คน เท่ากับ Bounce Rate เป็น 80 % อีก 20 คน อาจจะคลิกดูวิดิโอ หรือว่าไปยังหน้าเพจอื่น ๆ ต่อ

Bounce ก็คืออัตราการตีกลับของผู้เข้าเยี่ยมชมที่เกิดขึ้นภายในหน้านั้นหน้าเดียว

Bounce Rate ของเว็บไซต์ คือตัวเลขจำนวนของผู้ที่เข้ามาในเว็บไซต์และข้ามหน้าเพจต่าง ๆ ของเว็บไซต์ไป

ลองดูภาพนี้

 

จากภาพจะเห็นว่า Bounce Rateของเพจ คำนวณได้ 85.40%

Bounce Rate ของ โฮมเพจ คำนวณได้ 41.11%

Bounce Rate ของ เว็บไซต์คำนวณได้ 74.80%

คุณได้อะไรจากข้อมูลนี้

Bounce Rate ของเว็บเพจ เว็บไซต์ บอกว่า Bounce rate ไม่เกี่ยวข้องกับการใช้เวลาบนหน้าเว็บไซต์

หมายความว่าต่อให้ผู้เข้าชมค้างหน้าจอไว้ที่หน้าเพจนั้น ๆ นานเท่าไหร่ก็ไม่มีความหมาย หากพวกเขาไม่ทำสิ่งสิ่งหนึ่งที่บรรลุวัตถุประสงค์ของคุณ เช่น การดาวน์โหลดแคตตาล็อก หรือการไปยังหน้าสินค้า เป็นต้น

Bounce Rate สามารถวัดคุณภาพของทราฟฟิกเว็บไซต์ของคุณและหน้าแลนดิ้งเพจได้ด้วย

เพราะฉะนั้นคุณควรจะกังวลได้แล้วถ้าหากว่า Bounce Rate มีสัดส่วนเปอร์เซ็นที่สูง

เราสามารถดูข้อมูลว่าลูกค้าสนใจหรือซื้ออะไรด้วยการเรียกขอไฟล์ _utm.gif จาก Google analytics รวมถึงถ้าคุณต้องการข้อมูลเพื่อเข้าใจในคุณลักษณะพิเศษต่าง ๆด้วย

ประเภทของข้อมูลต่าง ๆ เช่น

  • ข้อมูล Page view
  • ข้อมูลเกี่ยวกับ E-Commerce
  • ข้อมุลการมีปฏิสัมพันธ์กับโซเชียลต่างๆ
  • ข้อมูลพฤติกรรมการใช้เว็บไซต์นั้น ๆ

เพื่อให้เข้าใจ Bounce Rate อย่างเหมาะสม คุณต้องเข้าใจอย่างแท้จริงว่า Google Analytics นับหรือไม่นับ Bounce rate อย่างไร

ในการติดตามสถานการณ์ Google analytics จะไม่นับ Single page visit เป็น Bounce Rate ตามตัวอย่างสถานการณ์เหล่านี้

สถานการณ์ที่ 1 การมี Event Tracking เพื่อติดตามพฤติกรรมของผู้เข้าชม

เมื่อมีคนเข้าสู่เว็บไซต์ การติดตามเหตุการณ์ผ่าน Event Tracking เพื่อจะได้ทราบว่าผู้เข้าชมนั้นทำสิ่งใดบนเว็บไซต์หรือเพจของคุณบ้าง

ยกตัวอย่าง เมื่อมีคนเข้าสู่เพจ คลิกปุ่มเล่นวิดิโอ (คุณรู้ได้จากการติดตามผ่าน Event Tracking) จากนั้นผู้เยี่ยมชมก็ออกจากหน้าเพจโดยไม่ได้ไปที่หน้าอื่นต่อ

นั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไม Google analytics ถึงไม่นับ Single page visit ว่าเป็น Bounce rate เพราะว่า มี Gif Request เกิดขึ้นระหว่าง Session

  1. เกิดจาก Google analytics tracking code
  2. คือ Event tracking code

ถ้าคุณมีการใช้ Event tracking code บนเว็บเพจ มันจะสามารถลด Bounce rate บนเพจและเว็บไซต์ได้

สถานการณ์ที่ 2 การติดตามการมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อสังคมออนไลน์อื่นๆ

ยกตัวอย่างสถานการณ์ เมื่อผู้ชมเข้ามายังเว็บไซต์ อ่านคอนเท้นที่โพสต์ไว้บนบล็อก และแชร์คอนเทนต์นั้นผ่านปุ่มแชร์ออกไปยังโซเชียล แล้วออกจากเวHบไซต์ไป

Google analytics จะไม่นับว่านี่คือ bounce rate เพราะมี 2 gif request ที่กระทำใน session

สถานการณ์ที่ 3 การดำเนินการโดยอัตโนมัติ ซึ่งติดตามโดย Track Event

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเข้าไปที่เว็บเพจ และวิดิโอที่เพจฝังไว้เล่นโดยอัตโนมัติ และคุณกดเล่นอีกครั้ง ถือว่ามี Gif request เกิดขึ้นมากกว่าหนึ่งครั้ง

สถานการณ์ที่ 4 มีการติดตั้ง Google analytics Tracking Code หลากหลายบนเว็บเพจ

ถ้าเว็บเพจมีการติดตั้ง Google analytics Tracking Code มากกว่าหนึ่ง ย่อมจะเกิด gif request มากกว่า 1

ดังนั้นจึงจะไม่นับว่า single page visit ถูกนับเป็น Bounce rate

ดังนั้นให้แน่ใจว่าคุณมี Google analytics Tracking Code เพียงหนึ่งเดียว

การวัด Bounce Rate ตีความอย่างไร?

คุณอาจจะเข้าใจผิดมากทีเดียว หากคุณไม่ทราบการตีความ Bounce rate ที่ถูกต้อง

อัตรา Bounce Rate ที่สูงไม่ใช่สิ่งเลวร้าย

ยกตัวอย่าง มันเป็นเรื่องปกติที่บล็อกจะมี Bounce Rate ที่สูง ถ้าคนเข้ามาผ่านแล้วออกจากบล็อกไป

ถ้า Bounce Rate ของเว็บไซต์คุณต่ำ ก็ไม่ได้หมายความว่าดีเสมอไป อย่างเช่นถ้า Bounce rate ของเว็บไซต์คุณคือ 10% แสดงว่าอาจจะมีความผิดพลาดทางเทคนิคเกิดขึ้นในเว็บไซต์ของคุณก็เป็นได้ ทำให้การเข้าชมไม่ถูก Google analytics พิจารณาว่าเป็น bounce

เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณตีความ Bounce rate จากข้อมูล Traffic อย่าลืมพิจารณาสิ่งเหล่านี้ด้วย

  • เจตนาของผู้ใช้งาน หรือพฤติกรรมผู้บริโภค
  • ประเภทของเว็บไซต์
  • ประเภทของแลนดิ้งเพจ
  • คุณภาพของแลนดิ้งเพจ
  • ประเภทของบทความ
  • ประเภทของอุตสาหกรรม
  • คุณภาพของทราฟฟิก
  • ประเภทของช่องทางการตลาด
  • ประเภทของผู้เยี่ยมชม
  • ประเภทของเครื่องมือ
  1. เจตนาและประเภทของผู้ใช้งาน

ผู้คนมีปฏิสัมพันธ์กับ website อย่างไร ถ้าแลนดิ้งเพจไม่สามารถทำให้ผู้เข้าชมพอใจ พวกเขาก็จะจากไปทันที

  1. ประเภทของเว็บไซต์

ประเภทของเว็บไซต์ที่ต่างกันก้ทำให้อัตราของ Bounce rate ต่างกันด้วยเช่น ถ้าเว็บของคุณคือบล็อก มันย่อมไม่แปลกที่ผู็เข้ามาในเว็บไซต์จะอ่านและออกไป หรือถ้าเว็บไซต์ของคุณเป็นแบบหน้าเดียว ก็ไม่แปลกถ้า Bounce rate ของคุณจะสูงถึง 100%

  1. ประเภทของแลนดิ้งเพจ

ถ้าหน้าแลนดิ้งเพจคือหน้า Contact us ก็เป็นไปได้ที่ผู้ใช้งานจะไม่ไปหน้าอื่นนต่อ เพราะพวกเขาได้ข้อมูลติดต่อเรียบร้อยแล้ว จึงอาจจะทำให้ Bounce rate สูงได้

  1. คุณภาพของแลนดิ้งเพจ

ถ้าหน้าแลนดิ้งเพจของคุณไม่ชัดเจน ทั้งโฆษณา ภาพ และตัวอักษร ก็เป็นไปได้ยากที่ผู้เข้าเยี่ยมชมจะไปต่อยังหน้าอื่นๆ หรือมีปฏิสัมพันธ์กับเพจของคุณ

  1. ประเภทของเนื้อหา

ถ้าเนื้อหาบริโภคยากเกินไป ก็เป็นไปได้ที่ผู้ใช้งานจะเก็บเนื้อหาของเพจหรือเว็บไซต์คุณเอาไว้อ่านทีหลัง

  1. ประเภทของอุตสาหกรรม

ประเภทของอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันก็มี bounce rate ที่แตกต่างกันออกไป

  1. คุณภาพของทราฟฟิก

ถ้าคุณเลือกประเภทของเป้าหมายผิด ก็อาจจะทำให้ผู้ที่เข้ามาในเว็บไซต์ไม่ให้กลุ่มเป้าหมาย และทำให้เกิด Bounce Rate ได้

  1. ประเภทของช่องทางการตลาด

ช่องทางการตลาดที่แตกต่างก็ทำให้ Bounce rate แตกต่างกันด้วย

  1. ประเภทของผู้เยี่ยมชม

เป็นปกติที่ผู้เยี่ยมชมใหม่มักจะทำให้เกิด Bounce rate มากกว่าผู้เยี่ยมชมเก่า เพราะว่าพวกเขาอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับเว็บเพจ หรือแบรนด์ของคุณ

  1. ประเภทของเครื่องมือ

ถ้าเครื่องมือของคุณไม่เป็นมิตรกับมือถือ หรือไม่สามารถแสดงผลบนมือถือได้ดี ก็อาจจะทำให้เกิด Bounce rate ได้

วิเคราะห์และรายงานการวัด Bounce rate อย่างไร?

คุณวิเคราะห์และรายงานการวัด Bounce rate ในทางที่เหมือนกับการที่คุณวิเคราะห์และรายงาน Conversion rate คือด้วยการแบ่งกลุ่มและ รายงาน Bounce rate สำหรับแต่ลtraffic

เพราะฉะนั้นที่คุณต้องตั้งคำถามคือ

อะไรคือ Bounce rate ของทราฟฟิก จากแคมเปญการเสิร์ชแบบออแกนิก

อะไรคือ Bounce rate ของทราฟฟิกจาก แคมเปญ PPC

อะไรคือ Bounce rate ของทราฟฟิกจากการอ้างอิงแบบเฉพาะ

อะไรคือ Bounce rate ของทราฟฟิกจากแคมเปญอิเมล์

และอะไรคือ Bounce rate ของเว็บไซต์ของคุณ

จากนั้นจึงจะมาถึงคำถามว่า จะลด Bounce rate ลงได้อย่างไร

11 ขั้นตอนประสิทธิภาพที่จะช่วยให้คุณลด Bounce Rate 

 

ขั้นตอนที่ 1 เพิ่ม Bounce rate ในเว็บไซต์ของคุณ

ทางที่ทรงพลังในการลด Bounce rate คือการเพิ่มมันโดยการคำนวณเวลาที่ใช้บนเพจ

ซึ่งทางนี้จะช่วยให้คุณเจอ Bounce rate ที่แท้จริงก่อน

มีสถานการณ์มากมายที่คุณสามารถสร้าง Conversion ผ่าน Bounce visit

ยกตัวอย่างเคสของบล็อก ที่คนจะเข้ามาอ่านข่าวหรือคอนเท้นต่างๆแล้วออกไป โดยปราศจากการมีปฏิสัมพันธ์หรือทำสิ่งอื่นๆ แต่เมื่อผู้เข้าชมเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบนเว็บไซต์ของคุณ ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้ เพราะว่าพวกเขาอยู่ที่หน้าเพจของคุณแล้ว หากพวกเขาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และมีปฏิสัมพันธ์กับเพจหรือเว็บไซต์ เมื่อนั้นการเข้ามาชมของเขาจะไม่นับเป็น bounce rate ถึงแม้ว่าเขาจะเป็น single page visit ก็ตาม

เหตุผลที่สำคัญเพราะเราต้องการได้รับการกระทำที่เป็นเป้าหมาย เช่น การคลิกซื้อสินค้า หรือการกดดูวิดิโอโปรโมทสินค้าเป็นต้น

นั่นคือเหตุผลที่ทำไมคุณต้องเพิ่ม bounce rate ก่อน และเมื่อคุณรันบล็อก หรือนำข่าวลงในเว็บไซต์ คุณจะเห็นการลดลงของ Bounce rate

ขั้นตอนที่ 2 ลด Bounce rate ของเว็บเพจดัชนีกำไร

ดับชีกำไรคือ ข้อมูลของกำไรทั้งหมดบนเว็บไซต์ของคุณ

คุณต้องลด Bounce rate ของเพจใน ดัชนีกำไร เพื่อพัฒนา conversion

หากปราศจากดัชนีกำไรคุณจะยุ่งกับการเพิ่มประสิทธิภาพ Bounce rate ของการสุ่มหน้าเว็บที่ไม่มีประโยชน์ในการทำผลกำไร แต่ถ้าคุณใช้ดัชนีกำไร จะการันตีได้ว่า การเพิ่มประสิทธิภาพ Bounce rate ของคุณจะสร้างอิมแพคให้กับธุรกิจ

คุณสามารถสร้างดัชนีกำไร และไปที่รายงานชี้วัดกำไรใน google analytics และแบ่งตารางในลำดับที่ลดลงของ มูลค่าเพจ

 

คลิกบนหัวข้อ “Compare to site average” ด้านขวาบนของรีพอร์ทดัชนีกำไรจากนั้นเลือก bounce rate จาก drop down เมนู คุณจะเห็นรีพอร์ทดังภาพด้านล่างนี้

 

คุณจะเห็นในรีพอร์ทว่ามีสองเว็บเพจจากทั้งหมด 10 เพจ ที่มี bounce rate ที่สูงมากกว่าอันอื่น ๆ

และคุณก็ควรจะหาเหตุผลว่าทำไม Bounce rate ของสองเพจนี้ถึงสูง

ขั้นตอนที่ 3 หยุดแคมเปญที่ทำให้คุณได้ทราฟฟิกไม่มีคุณภาพ

หยุดคีเวิร์ดเป้าหมายหรือช่องทางการตลาดที่สร้างทราฟฟิกซึ่งไม่มีคุณภาพ

ถ้าเว็บไซต์ของคุณมีทราฟฟิคที่ไม่เกิดการกระทำใดใดต่อสินค้าหรือบริการของคุณที่คุณขาย คุณควรจะหยุดต้นตอที่มาของทราฟฟิกที่ไม่เกิดผลกำไรนั้น รวมถึงหยุดคีย์เวิร์ด หรือแคมเปญที่ทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้

ขั้นตอนที่ 4 สร้างแลนดิ้งเพจที่น่าพึงพอใจสำหรับผู้เข้าชม

ถ้าคุณมีทราฟฟิกที่ถูกต้องแต่แลนดิ้งเพจไม่น่าพอใจสำหรับผู้เยี่ยมชม อาจจะทำให้เกิด Bounce rate ได้

ยกตัวอย่าง ผู้เข้าชม มองหาข้อมูลเกี่ยวกับคอร์สการจัดการในลอนดอน ถ้าแลนดิ้งเพจของคุณให้ได้แค่ข้อมูลการจัดการทั่วไป ก็คงจะทำให้เกิด Bounce rate ได้

ขั้นตอนที่ 5 สร้างแลนดิ้งเพจที่ยั่วให้เกิดปฏิสัมพันธ์ในเพจ

ถ้าแลนดิ้งเพจของคุณน่าเบื่อ มันย่อมยากที่คุณจะทำให้ผู้มาเยี่ยมชมอยู่กับเว็บเพจของคุณได้ หัวข้อและหัวข้อย่อยและการชี้นำที่น่าสนใจจะนำพาผู้เข้าชมให้เกิดการมีปฏิสัมพันธ์ คือทางที่ดีที่สุดที่ทำให้ผู้เข้าชมมีส่วนร่วมกับเว็บไซต์

ขั้นตอนที่ 6 ทำให้การคลิกหรือเรียกร้องให้เกิดปฏิสัมพันธ์นั้นเกี่ยวข้องกับแลนดิ้งเพจ

การสร้างเรื่องราวให้เกิดการคลิก สามารถสร้างได้ในรูปแบบของปุ่มหรือแบนเนอร์ วิดิโอ หรือลิงค์บนเพจ

ในกระบวนการค้นหาแบบออแกนิกส์การสร้างเรื่องให้เกิดการคลิกสามารถอยู่ในฟอร์มหรือหัวเรื่องหรือคำอธิบายสั้นๆ ของแลนดิ้งเพจได้

ในเคสของการจ่ายเงินโฆษณา สามารถสร้างเรื่องราวหรือปุ่มให้คลิกที่หัวเรื่อง คำอธิบายของ Adwords

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าแบนเนอร์บนเว็บไซต์ของคุณบอกว่า “Download free SEO book” ซึ่งปุ่มนั้นนำผู้เยี่ยมชมเข้าสู่หน้าโฮมเพจแทนแลนดิ้งเพจที่มีให้ดาวน์โหลด Free SEO book อาจจะทำให้ผู้เยี่ยมชมผิดหวัง และรู้สึกไม่ดีกับคุณได้

ขั้นตอนที่ 7 พัฒนาเนื้อหาที่ใช้เวลาสั้นๆในการเข้าชมและไม่ยากจนเกินไป

ถ้าแลนดิ้งเพจของคุณสมบูรณ์ด้วยข้อความค้นหาของผู้เข้าชม แต่เนื้อหานั้นยากเกินกว่าที่ผู้บริโภคจะเข้าถึงหรือใช้เวลามากเกินไป อาจจะทำให้เกิด Bounce rate ได้ ถึงแม้ว่าผู้เข้าชมบางท่านจะสนใจเนื้อหานั้นก็ตาม แต่ว่าพวกเขาอาจจะละเนื้อหาของคุณเอาไว้อ่านทีหลังได้

ขั้นตอนที่ 8 ใช้ Visual Page views หรือ event Tracking สำหรับคอนเท้นที่สร้างด้วย Ajax หรือ Flash

ถ้าหน้าคอนเทนหรือเว็บไซต์ของคุณเขียนด้วย Ajax หรือ Flash ส่วนใหญ่ปฏิสัมพันธ์ของผู้เข้าชมจะอยู่ที่หน้าเดียว ซึ่งส่วนใหญ่ในเคสที่ผู้เข้าชมไม่ต้องการค้นหาหน้าเพจอื่นๆ ทำให้ bounce rate สูง

ในเคสที่ใช้ Flash ทำเว็บไซต์ Bounce rate จะเป็น 100% ตลอดเวลาแม้ว่าผู้ใช้งานจะมีปฏิสัมพันธ์หรือไม่ก็ตาม

เพราะฉะนั้นคุณต้องติดตามผู้ใช้งานด้วยเครื่องมือ Page Views หรือ Event Tracking เพื่อลดการเกิด Bounce Rate

ขั้นตอนที่ 9 สร้างแลนดิ้งเพจที่สามารถโหลดได้เร็ว

ตามรายงานผู้เข้าเว็บไซต์จะตัดสินใจเพียง 8 วินาทีเท่านั้นว่าจะอยู่ต่อหรือออกจากเพจไป

ตามเหตุผลที่ว่าทำไมคนถึงออกจากเพจโดยปราศจากการมีปฏิสัมพันธ์หรือค้นหาข้อมูลอื่นๆ

  1. ดีไซร์เก่า เช่นใช้พื้นหลังสีดำ ตัวอักษรสีเหลืองเป็นต้น
  2. การนำทางแย่
  3. ไม่ใช้ Responsive layout ทำให้อ่านบนมือถือได้ยาก
  4. รำคาญโฆษณาที่เยอะเกินไป
  5. ตัวอักษรเยอะ ดูแล้วมึนไปหมด
  6. ฟอแมทเก่า
  7. ไม่มีพื้นที่เว้นว่างระหว่างย่อหน้าต่างๆ
  8. ไม่มีหัวเรื่องให้เห็นชัดเจน
  9. โหลดแลนดิ้งเพจนานเกินไป
  10. รำคาญวิดิโอหรือคลิปเสียงที่เล่นอัตโนมัติ

ขั้นตอนที่ 10 กระตุ้นให้เกิดการสำรวจเว็บไซต์

ผู้ที่เข้ามาในเว็บไซต์ของคุณล้วนแต่มีจุดประสงค์ของตนเองด้วยกันทั้งนั้น เช่นมองหาข้อมูล หรือเพื่อซื้อขายสินค้า หากพวกเขาเข้ามาที่หน้าเพจของคุณ และได้รับในสิ่งที่ต้องการอย่างครบถ้วน พวกเขาย่อมจะออกจากเว็บเพจไป ดังนั้นคุณควรพัฒนาให้ผู้เข้าชมเกิดความต้องการไปยังหน้าอื่นๆของเว็บไซต์ ด้วยการมอบสิ่งใกล้เคียงกับสิ่งที่พวกเขาต้องการอย่างเช่น ถ้าคุณชอบบทความนี้ คุณอาจจะชอบบทความต่างๆต่อไปนี้ด้วย หรือถ้าคุณชอบสินค้านี้ คุณอาจจะชอบสินค้าอื่นๆต่อไปนี้ด้วยเช่นกัน เพิ่มตัวเลือกที่ใกล้เคียง เพื่อจัดหาความต้องการของผู้เข้าชมให้เกิดการสำรวจและสร้างประสบการณ์ในเว็บไซต์ต่อไปเรื่อยๆ

ขั้นตอนที่ 11 สำรวจการเรียกใช้หน้าต่าง ๆ ของเพจ

ถ้าทุกอย่างผิดพลาดและคุณไม่สามารถแก้ไขความผิดพลาดนั้นคุณควรสำรวจการเรียกใช้หน้าเพจต่างๆของคุณ เพิ่มปุ่มยอดเยี่ยมและยอดแย่ (ใช้สัญลักษณ์ชูหัวแม่โป้งขึ้น และชูหัวแม่โป้งลง) บนหน้าแลนดิ้งเพจ เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้เข้าใช้เพจ หากเพจได้รับนิ้วหัวแม่โป้งแบบคว่ำลงมากๆ เนื้อหาของเพจน่าจะมีปัญหา

แม้ว่าการลด Bounce Rate เป็นสิ่งที่ดี แต่ก็ควรทำอย่างระมัดระวังเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และไม่ควรจดจ่ออยู่แต่เพียง Bounce Rate เพียงอย่างเดียวจนลืมการเพิ่มประสิทธิภาพของเว็บไซต์หรือหน้าเพจในด้านอื่น ๆด้วย

Scroll to Top