สำหรับธุรกิจทางการแพทย์นั้น หลายๆคนอาจจะสงสัยว่า เอ๊ะ? ธุรกิจเกี่ยวกับการแพทย์นี้จะต้องทำการตลาดด้วยเหรอ? ซึ่งขอตอบตรงนี้เลยนะคะว่า ใช่ค่ะ และจำเป็นที่จะต้องทำเป็นอย่างมากด้วย

รู้หรือไม่ว่า จากผลสรุป 10 อันดับธุรกิจดาวเด่น ประจำปี 2560 ธุรกิจการแพทย์อยู่อันดับ 1 และได้อันดับ 1 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 !

ในสมัยก่อน ธุรกิจการแพทย์นั้นจริงๆแล้วเป็นธุรกิจหนึ่งที่ต่อให้ไม่ต้องทำการตลาด ก็สามารถอยู่รอดและเติบโตได้ด้วยตัวเอง เพราะเป็นธุรกิจที่เป็นปัจจัยหลักๆของทุกคนในเรื่องของสุขภาพร่างกาย ที่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ต้องมีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาด้วย

แต่ในปัจจุบัน เมื่อมีความต้องการมากยิ่งขึ้น ก็จะมีการตอบสนองที่เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ทำให้ธุรกิจการแพทย์นั้นมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว พร้อมกับการแข่งขันที่สูงมากขึ้นตามไปด้วย

สิ่งที่จะทำให้ธุรกิจของเราอยู่รอดนั้น สุดท้ายแล้วจะต้องพึ่งแผนการทางการตลาดในการที่จะช่วยเพิ่มผลกำไรเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

แต่หลายๆคนก็อาจจะยังนึกไม่ออกว่า การตลาดสำหรับธุรกิจการแพทย์นั้น ควรทำอย่างไร? หรือมีอะไรอีกหรือไม่ที่หลายๆคนอาจจะมองข้ามไป

เราจึงขอเสนอ 7 หัวใจสำคัญ ในทำการตลาดสำหรับธุรกิจการแพทย์ มาให้ทุกคนเผื่อไว้ใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการตลาดของธุรกิจการแพทย์ของตนเองได้ค่ะ

(อ่าน 6 กลยุทธ์ในการทำการตลาดสำหรับธุรกิจ SME ที่คุณไม่ควรมองข้าม ! เพิ่มเติม คลิกเลย)

 

  1. การเลือกทำเล

สำหรับการเลือกสถานที่ตั้งหรือว่าสถานที่ทำการ(หรือคลินิค)นั้น การเลือกทำเลเป็นสิ่งสำคัญ เช่น การตั้งอยู่ใจกลางเมืองย่อมได้เปรียบมากว่าตั้งอยู่ห่างไกลตัวเมือง ต้องคำนึงถึงความสะดวกสบายในการเดินทางของคนไข้ รวมไปถึงคำนึงถึงสภาพแวดล้อมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นที่จอดรถ ความสงบ หรือมลภาวะต่างๆ เป็นต้น

  1. การบริการ

สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับธุรกิจการแพทย์คือ การบริการ

สำหรับธุรกิจการแพทย์นั้น แน่นอนว่าจะต้องเจอเรื่องกดดัน และเหตุการณ์ที่เร่งด่วนแข่งกับเวลาแทบจะตลอดเวลา (รวมถึงอารมณ์ของคนไข้ด้วย)

การมีพนักงานที่เข้าใจในจุดนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ซึ่งทางแบรนด์สามารถเตรียมความพร้อมในจุดนี้ให้แก่พนักงานหรือบุคลากรได้ ด้วยการจัดอบรม หรือสัมนาต่างๆ เพื่อยกระดับของการบริการให้ดียิ่งขึ้น และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน การตั้งกฏเกณฑ์ในการบริการก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยเป็นบรรทัดฐานให้บุคคลากรทุกคนได้สามารถทำตามได้

 

 

  1. การสร้างช่องทางการติดต่อ

ช่องทางการติดต่อ ไม่ว่าจะเป็น Website , Facebook หรือช่องทางอื่นๆ นั้น เป็นส่วนช่วยที่จะทำให้ธุรกิจของเราและลูกค้า สามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้ ไม่ว่าจะเป็นการถามตอบผ่านช่องแชท หรือการถามตอบผ่านกระทู้ในบอร์ดในพื้นที่ๆจัดเตรียมไว้ให้ ก็เป็นช่องทางหนึ่งที่จะช่วยรองรับลูกค้าได้เป็นอย่างดี

ซึ่งในอีกแง่ ก็เป็นช่องทางในการที่เราจะสามารถโปรโมทโปรโมชั่นต่างๆ หรือว่ากระจายข่าวสารต่างๆของธุรกิจของเราให้แก่ลูกค้ารับทราบได้ แม้ว่าจะไม่ได้มาเพื่อรับการรักษาใดๆ ก็จะสามารถรับรู้อัพเดตของเราได้ผ่านช่องทางการติดต่อต่างๆนี้

 

  1. การมีโปรโมชั่น

อย่างที่เคยบอกไปอยู่บ่อยๆว่า คนไทยชอบโปรโมชั่น ซึ่งไม่ว่าธุรกิจไหนก็ตาม การมีโปรโมชั่นนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่สามารถล่อตาล่อใจลูกค้าได้ดีที่สุด

ซึ่งในด้านของธุรกิจการแพทย์นั้น อาจจะไม่ได้ทำโปรโมชั่นเพื่อกระตุ้นยอดการเข้ารับการรักษา แต่อาจจะเป็นในแง่ของการเพิ่มความสัมพันธ์กับลูกค้าเดิมแทนก็เป็นได้ เช่น การตรวจสุขภาพฟรีให้แก่คนไข้ที่เคยเข้ารับการรักษาในบางโรค ซึ่งในจุดนี้จะทำให้ความประทับใจของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์เพิ่มมากยิ่งขึ้น จนอาจจะทำให้เกิดเป็น Brand Loyalty หรือความจงรักภักดีต่อแบรนด์ได้อีกด้วยค่ะ

ประโยชน์สูงสุดของการมี Brand Loyalty ก็คือ การที่ลูกค้าบอกเล่าต่อธุรกิจของเรา ให้กับลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายต่อไปเป็นทอดๆ เราจะสามารถเจาะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้โดยที่เราไม่ต้องทำการตลาดใดๆเลย ฉะนั้น การเพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจกับลูกค้าจึงเป็นสิ่งสำคัญมากจริงๆ

  1. การปรับตัวให้ทันตามสถานการณ์

ส่วนใหญ่แล้วธุรกิจนั้นจะมีกฏเกณฑ์ที่ค่อนข้างจะตายตัว และต้องทำตามอย่างเคร่งครัด แต่ในบางครั้งอาจจะต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ด้วย เช่น ในช่วงหนึ่งมีโรคระบาดเกิดขึ้นอย่างหนัก ทางโรงพยาบาลอาจจะขยายเวลาปิด จากปกติ 2 ทุ่ม กลายเป็นเที่ยงคืน หรือเปิดตลอด 24 ชม. และจัดหาบุคลากรเพิ่มขึ้น เพื่อรอรองรับผู้ป่วยก็เป็นได้ หรืออาจจะเป็นเหตุการณ์อื่นๆอีกมากมาย นี่คือสิ่งที่เรียกว่าการปรับตัวให้ทันตามสถานการณ์นั่นเองค่ะ

 

  1. การสร้างแบรนด์

ระหว่างคลินิคไร้ชื่อ กับคลินิคชื่อดัง แน่นอนว่าแทบจะทุกคนจะต้องเลือกคลินิคชื่อดัง ที่มีความน่าเชื่อถือมากกว่าอยู่แล้วใช่ไหมล่ะคะ

การสร้างแบรนด์หรือว่าการเสริมภาพลักษณ์ให้กับธุรกิจนั้น ดูโดดเด่น มีเอกลักษณ์ และสิ่งสำคัญคือมีความน่าเชื่อถือนั้น จะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้า และช่วยเพิ่มโอกาสในการที่ลูกค้าจะตัดสินใจเลือกใช้บริการของเราได้มากยิ่งขึ้นเช่นกันค่ะ

 

  1. การทำการตลาดออนไลน์

ถ้าหากว่าเรามีทั้ง 6 ข้อที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว แต่ไม่ได้ทำการตลาดออนไลน์ ก็เหมือนกับไก่ได้พลอย ที่มีของดีกับตัวแต่ไม่รู้ว่าควรนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างไรดี

เพราะธุรกิจทางการแพทย์นั้นเป็นสิ่งที่จะต้องดึงดูดให้ลูกค้า เดินเข้ามาเพื่อรับบริการของเรา ฉะนั้น การทำการตลาดออนไลน์ให้กับธุรกิจ จะช่วยประชาสัมพันธ์ให้กับแบรนด์ของเราได้มีตัวตนในโลกออนไลน์ ให้ลูกค้าที่อยู่ไกลหรือไม่ได้อยู่ระแวกใกล้เคียง ก็สามารถรู้จักกับแบรนด์ของเราได้ ซึ่งในอนาคตอาจจะมีโอกาสที่จะได้คนเหล่านั้นมาเป็นลูกค้าก็เป็นได้ค่ะ

ซึ่งการทำการตลาดออนไลน์สำหรับธุรกิจทางการแพทย์นั้น เหมาะกับหลักของ Inbound Marketing เป็นอย่างมาก ในเรื่องของการทำ Content Strategy

(ซึ่งสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ 4 ขั้นตอนการทำ Inbound Marketing ที่ใครเห็นก็ต้องร้องอู้หูววว นี้ค่ะ )

 

สำหรับ 7 หัวใจสำคัญ ในทำการตลาดสำหรับธุรกิจการแพทย์ นั้น อาจจะเป็นวิธีที่พออ่านจบ หลายๆคนอาจจะคิดว่าเป็นสิ่งที่ดูง่ายๆ แต่วิธีที่ง่ายๆเหล่านี้นี่แหละค่ะ ที่จะทำให้ธุรกิจทางการแพทย์ของคุณ สามารถเติบโตขึ้นได้อย่างมั่นคงได้อย่างแน่นอน

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะคะ แล้วพบกันใหม่บทความหน้าค่า