ในปัจจุบันมีการพูดถึงระบบ E-Commerce กันอย่างกว้างขวางการที่องค์กรตัดสินใจที่จะมีระบบ E-Commerce ขึ้นมาควรต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง ระบบเดิมที่เราใช้งานอยู่เป็นอย่างไร ระบบหลังบ้านขององค์กรไม่ว่าจะเป็น ERP หรือ CRM เป็นอย่างไร สามารถทำการเชื่อมโยงได้หรือไม่

การนำระบบฐานข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่ในองค์กรอย่างเช่น ระบบ ERP ระบบบริหารจัดการทรัพยากรองค์กร และ ระบบ CRM ระบบบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า มาเชื่อมโยงกับระบบบริหารจัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์ที่มีระบบ CMS เพื่อการทำธุรกิจ e-Commerce กำลังเป็นที่นิยมอย่างสูง เพราะ CMS หรือระบบบริหารจัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์นับว่ามีความสำคัญอย่างมากต่อการทำธุรกิจในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจที่เน้นทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ และต่อไปก็เชื่อว่าระบบ CMS จะกลายเป็นศูนย์กลางข้อมูลทางธุรกิจขององค์กรที่สำคัญ

Magento คือ ระบบบริหารจัดการร้านค้า(E-Commerce) โดยเนื้อหาบนเว็บไซต์จะถูกจัดการอยู่บน CMS ถูกออกแบบและสร้างขึ้นโดยบริษัท Magento Inc. สามารถเชื่อมโยงฐานข้อมูลขององค์กรอย่าง ERP, CRM และอื่นๆ ที่มีอยู่กระจัดกระจายกัน ในหลายๆ Platform มารวมเข้าไว้ด้วยกันและนำมาบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด ซึ่งในทางปฏิบัติโดยทั่วไปแบบเดิมๆ แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ฐานข้อมูล ERP ขององค์กรธุรกิจนับว่ามีความสำคัญที่สุด เนื่องจากเป็นฐานข้อมูลที่เก็บรวมทรัพยากรต่างๆ ขององค์กรธุรกิจ โดยเฉพาะข้อมูลผลิตภัณฑ์เพื่อการจำหน่ายขององค์กร หากนำมาเชื่อมโยงกับ Magento เพื่อการทำธุรกิจในแบบ e-Commerce จะช่วยทำให้เกิดระบบที่สามารถติดตามและตรวจสอบสถานะของทรัพยากรและรายการผลิตภัณฑ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทั้งจากการขายออนไลน์และออฟไลน์ อย่างไรก็ตาม การนำฐานข้อมูล ERP มาใช้ประโยชน์ด้วยการเชื่อมโยงกับ Magento นับว่าเป็นเรื่องที่ยากและยากมากด้วย แต่ถ้าหากไม่อยากใช้ประโยชน์จากสิ่งนี้ ระบบบริหารจัดการก็อาจจะหลุดไปจากวงโคจรของการควบคุม (Control) เพราะข้อมูลนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากและตลอดเวลา และเป็นปัญหาที่สลับซับซ้อนมากกว่าที่จะคาดการณ์ล่วงหน้าได้

ระบบ CMS อื่นๆ อย่างเดียวกับ Magento ที่จะนำมาใช้ทำหน้าที่เชื่อมโยงกับฐานข้อมูล ERP เพื่อใช้ประโยชน์ในงาน e-Commerce หลายระบบอาจไม่สามารถเข้าถึง Code Base หรือรหัสฐานได้ทั้งหมดโดยสมบูรณ์ และอาจทำให้การเชื่อมโยงข้อมูลสามารถทำได้ในระดับที่ API (Application Program Interface) ให้มาเท่านั้น ซึ่งบางครั้งมีข้อจำกัดในความสามารถทำงานร่วมกับ ERP และมีข้อจำกัดในการดึงข้อมูลมาใช้ประโยชน์ ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อฐานข้อมูลนั้นจำเป็นที่ต้องถูกนำไปแสดงบนหน้าเว็บไซต์ ให้สามารถปฏิบัติจัดการได้ตามวัตถุประสงค์ของผู้ที่ต้องการใช้ (UI- User Interface) หรือให้ผู้ใช้ได้เรียนรู้ (UX- User Experience) เช่น เครื่องมือนำทางหรือการกรองหมวดหมู่สินค้าบนหน้าเพจของเว็บไซต์ e-Commerce

สิ่งจำเป็นที่ควรรู้ หากต้องการเชื่อมโยง ERP เข้ากับ Magento

การเชื่อมโยงระบบ ERP ขององค์กรธุรกิจเข้ากับ Magento มีสิ่งจำเป็นหลายอย่างที่จำเป็นต้องทราบก่อนที่จะทำการเชื่อมโยง สิ่งแรกเลยต้องสร้างความเข้าใจในขั้นตอนและกระบวนการทำงาน (Work-Flow) รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ซึ่งกระบวนการและข้อมูลเหล่านี้จะต้องถูกนำไปตั้งค่าไว้ใน Magento ซึ่งระบบการตั้งค่าของ Magento ก็ค่อนข้างจะเฉพาะจงมากในกระบวนการตั้งค่าข้อมูล ข้อมูลจะถูกควบคุมด้วยคุณสมบัติ รูปแบบและข้อมูลสำคัญอื่นๆนอกจากนี้ ยังต้องรู้ลึกลงไปอีกว่าจะบริหารจัดการกระบวนการของคำสั่ง (Order Work-Flow) ใน Magento ว่าเป็นอย่างไรเพื่อให้กระบวนการคำสั่งได้รับการปรับแต่ง ให้สามารถสร้างสถานะและแสดงออกมาในแบบที่ต้องการ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติจัดการ ซึ่งมีความสลับซับซ้อนมาก และยังต้องคำนึงอีกด้วยว่ายังมีระบบอื่นๆ อีกหรือไม่ที่ควรจะนำมาปฏิบัติจัดการไปด้วยกันและหากนำปฏิบัติจัดการแล้วจะมีผลกระทบต่อการเชื่อมโยงกับ Magento หรือไม่ มีเรื่องราวให้ต้องขบคิดมากมาย เพื่อให้การเชื่อมโยงครอบคลุมอย่างทั่วถึงและนำมาใช้ประโยชน์ได้ตามที่ต้องการ

การเชื่อมโยงระบบ ERP เข้ากับ Magento

การเชื่อมโยงระบบ ERP เข้ากับ Magento ต้องมีความเข้าใจในระบบของ ERP อย่างท่องแท้ ระบบ ERP ของแต่ละองค์กร มีระบบทำงานแตกต่างกันซึ่งต้องทำความเข้าใจให้มากขึ้น ทั้งระบบการจัดเก็บข้อมูลและการปฏิบัติจัดการข้อมูล หากเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้วจะช่วยทำให้การ เชื่อมโยง ERP กับ Magento ง่ายขึ้น ถ้าไม่เข้าใจระบบ ERP ว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง การเชื่อมโยงเข้าหากัน ก็จะเปรียบเสมือนฝันร้าย ต้องทำงานอย่างหนักกับผู้ให้บริการฐานข้อมูล ERP ส่วนใหญ่จะเป็นที่เก็บข้อมูลสำคัญมากมาย อีกทั้งยังสามารถนำมาแปลงหรือปรับเปลี่ยนข้อมูลให้ตรงกับการใช้งานของธุรกิจได้ ดังนั้นการสร้างความกระจ่างว่าต้องการใช้ ERP เพื่อประโยชน์อย่างไร และในอนาคตจะเชื่อมโยงเข้ากับ Magento ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร เป็นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจให้กระจ่าง

รูปแบบข้อมูลที่ต้องส่งผ่านไปมาระหว่าง ERP กับ Magento

แบบของการส่งผ่านข้อมูลไปมาระหว่าง ERP กับ Magento สามารถกำหนดได้หลายรูปแบบ เช่น การส่งไปมาระหว่างกันแบบ 2 ทางตลอดเวลา หรือส่งผ่านไปมาระหว่างกันในทุกๆ 20 นาที หรือส่งผ่านไปมาระหว่างกันวันละครั้ง หรือการส่งผ่านได้เพียงทางเดียว แบบไหนเป็นแบบที่ต้องการ และรวมถึงต้องการให้มีคำสั่งตรวจสอบสต็อกสินค้า SKU – Stock Keeping Unit ตรวจสอบราคาและข้อมูลลูกค้า หรือว่าจะต้องการลึกลงไปอีกถึงความสามารถเรียกดูข้อมูลแบบเจาะจงเป็นประเด็นที่ต้องหยิบยกขึ้นมาพิจารณาและในแต่ละประเด็นที่จำเป็น จะต้องเจรจาต่อรองเพื่อปรับให้สอดคล้องกับงบประมาณที่จะใช้จ่ายเพื่อการเชื่อมโยงและยังต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ด้วย

ข้อมูลที่อาจจำเป็นในการส่งผ่านไปมาระหว่าง ERP และ Magento

• ข้อมูลคำสั่ง (Order Data)
• การส่งสินค้า (Shipments)
• ลูกค้า (Customers)
• สต็อกสินค้า (Inventory)
• ข้อมูลผลิตภัณฑ์ (Product Data)
• กลุ่มลูกค้า (Customer Groups)
• ข้อมูลเรียกเก็บเงิน (Invoice Data)
• บันทึกเครดิต (Credit Memos)
• การดำเนินการ (Transactions)
• กฎเกณฑ์ทางภาษี (Tax Rules)

การเชื่อมโยงระบบ ERP กับ Magento เป็นเรื่องที่สลับซับซ้อน รวมถึงตลาด ERP ก็ค่อนข้างที่จะเปราะบางไม่ค่อยจะคงที่ ขณะเดียวกันผู้ให้บริการที่มีประสบการณ์การก็ค่อนข้างหายาก อย่างไรก็ตามผู้ให้บริการระบบ ERP จำนวนมากมีการสร้างระบบการเชื่อมโยงแบบสำเร็จรูป เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงเข้ากับ Magento ได้โดยไม่ยุ่งยากมากนัก การหานักพัฒนาที่เคยทำระบบการเชื่อมโยงระหว่าง Magento กับ ERP จะช่วยให้งานสำเร็จได้สูง

บริษัทผู้ให้บริการระบบ ERP และส่วนแบ่งตลาดทั่วโลก

1. บริษัท SAP
บริษัท SAP เป็นผู้นำตลาดการวางระบบ ERP อันดับหนึ่งของโลก มีสัดส่วนตลาดสูงถึง 24% ลูกค้าของ SAP ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทใหญ่ที่มีสำนักงานอยู่ทั่วโลก ข้อมูลบริษัทมีความสลับซับซ้อน มีการจัดการระหว่างประเทศ มีการใช้ข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์และอื่นๆ บริษัท SAP เป็นบริษัทที่มีพัฒนาการด้านระบบมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน รวมถึงมีความสามารถนำเสนอระบบการบริหารจัดการข้อมูลที่มีความสมบูรณ์
การเชื่อมโยงระบบ ERP ของ SAP เข้ากับ Magento สำหรับธุรกิจ e-Commerce ต้องสร้างส่วนขยายหรือส่วนเสริมถึง 6 ส่วนด้วยกัน ซึ่งถูกมองว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก อีกทั้งการสร้างส่วนขยายหรือส่วนเสริม (Extension) แต่ละส่วนก็ค่อนข้างมีราคาแพง 100,000บาท ถึง 250,000บท เหตุที่แพงเพราะการสร้างส่วนขยายหรือส่วนเสริมไม่ใช่เรื่องง่ายธุรกิจแต่ละอย่างมีความแตกต่างกัน ต้องการการปรับแต่งระดับสูงและใช้งานแบบเฉพาะเจาะจงกับธุรกิจหนึ่งธุรกิจใดโดยเฉพาะ

2. บริษัท Oracle / JD Edwards
บริษัท Oracle เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ครองตลาด ERP เป็นรองบริษัท SAP ไม่มากนัก มีสัดส่วนตลาดอยู่ที่ 12% มีความคล้ายคลึงกับ SAP ตรงที่สามารถนำเสนอระบบการบริหารจัดการข้อมูลที่มีความสมบูรณ์ มีชุดผลิตภัณฑ์แบบสำเร็จรูปนำเสนอให้กับผู้ใช้ ลูกค้าของ Oracle ส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่มีรายรับสูงและมีความเข้มแข็งในอุตสาหกรรมการผลิต โดยเฉพาะธุรกิจระหว่างบริษัทกับบริษัท (B2B)

3. บริษัท Sage
บริษัท Sage คืออีกหนึ่งผู้ให้บริการระบบ ERP มีสัดส่วนตลาด 6% กำลังเป็นบริษัทที่ได้รับความสนใจ เนื่องจาก Sage ได้มีการลงทุนอย่างมหาศาลเพื่อสร้างระบบการทำงานไปในแนวทางของการเชื่อมโยงกับMagento และขณะเดียวกันก็ไปในแนวตรงกันข้ามกับผู้ให้บริการระบบ ERP หลักๆ อย่าง SAP และ Oracle มักจะพบเห็น Sage ตามกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Magento ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ จะไม่ค่อยพบเห็น SAP และ Oracle เท่าใดนัก เพราะทั้ง SAP และ Oracle เป็นบริษัทผู้พัฒนาระบบด้าน e-Commerce แข่งกับ Magento และไม่สนใจทำงานทำงานใกล้ชิดกับ Magento เท่าใดนัก

ระบบ ERP ของ Sage เมื่อนำมาเชื่อมโยงกับ Magento จะดูคุ้มค่าอย่างเหลือเชื่อ เพราะมีส่วนขยายหรือส่วนเสริมที่จะช่วยให้ผู้ใช้บริการประหยัดเงินและเวลาในการปรับแต่งส่วนขยายหรือส่วนเสริม ให้กับตัวแทนหรือผู้พัฒนาได้อย่างมากทีเดียว

4. บริษัท Infor
บริษัท Infor จะคล้ายๆ กับผู้ให้บริการระบบ ERP หลักๆ มีสัดส่วนตลาดอยู่ที่ 6% Infor มีชุดผลิตภัณฑ์ส่วนขยายหรือส่วนเสริมสำเร็จรูป รวมถึงชุด Cloud ที่ออกแบบสำหรับอุตสาหกรรมที่มีรูปแบบแตกต่างกัน ตั้งแต่อุตสาหกรรมยานยนต์ เคมีภัณฑ์ และอุตสาหกรรมผู้ผลิตและจำหน่าย Infor มีความแข็งแกร่งในระบบ EAM – Enterprise Asset Management ที่ได้รับการพิจารณาให้เป็นหนึ่งในผู้เล่นหลัก ในอุตสาหกรรมซอฟแวร์
บริษัท Infor ไม่ค่อยจะมีบทบาทเชิงรุกเท่าไหร่นักในด้านการเชื่อมโยงระบบกับ Magento แต่เน้นไปที่การสร้างรูปแบบ ERP ที่เป็นของตัวเองเป็นหลัก การเชื่อมโยง ERP ของ Infor เข้ากับ Magento ถ้าจะให้สำเร็จได้จำเป็นต้องใช้ตัวแทนหรือผู้พัฒนาส่วนขยายและส่วนเสริมที่มีคุณภาพมากพอสมควร

5. Microsoft Dynamics
บริษัท Microsoft ยื่นยันอย่างหนักแน่นว่าตนเองคือผู้ให้บริการซอฟแวร์ที่มีผู้ประกอบการใช้มากที่สุดของโลก มีชุดผลิตภัณฑ์สำหรับใช้งานระบบ ERP ที่แข็งแกร่งมากมีชื่อเรียกว่า Microsoft Dynamics เป็นระบบที่สามารถแก้ปัญหาทั้งมวลให้แก่ธุรกิจทั้งขนาดเล็ก กลางและใหญ่ มีระบบ CRM ที่ได้รับความนิยมอย่างมากสามารถทำงานร่วมกันกับระบบ ERP อย่างมีประสิทธิภาพ Microsoft Dynamics เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในหลายธุรกิจ
สำหรับการเชื่อมโยงเข้ากับ Magento บริษัท Microsoft เพิ่งแถลงอย่างทางการว่าเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจกับ Magento ภายใต้เงื่อนไข Microsoft ขอเป็น Hosting ให้กับ Magento ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่า Microsoft คงมองเห็นโอกาสที่จะทำงานร่วมกับ Magento ได้อย่างใกล้ชิดจาก Hosting ของตัวเองรวมถึงพัฒนาระบบ CRM และ ERP ไปด้วยเช่นกัน Microsoft มีส่วนขยายหรือส่วนเสริมถึง 14 ส่วนด้วยกัน บางส่วนขยายหรือส่วนเสริมราคาแพงมาก 525,000บาท ซึ่งราคานี้สนับสนุนให้เห็นว่า การสร้างส่วนขยายหรือส่วนเสริม เป็นสิ่งที่ยากและมีราคาแพง Microsoft ครองส่วนแบ่งตลาด ERP อยู่ 5%

ผู้ให้บริการระบบ ERP ที่กล่าวมานี้เป็นเพียงผู้ให้บริการส่วนหนึ่งมีส่วนแบ่งตลาดในระดับต้นๆ เป็นผู้ให้บริการที่ค่อนข้างได้รับความนิยม แต่ก็ยังมีผู้ให้บริการระบบ ERP อีกหลายๆ บริษัท อย่างเช่น Kronos ที่มีสัดส่วนทางการตลาด 3% Concur, IBM, Totvs มีสัดส่วนตลาดแต่ละบริษัทอยู่ที่ 2% และ Yonyou มีสัดส่วนตลาด1% สำหรับการเชื่อมโยงระบบ ERP เข้ากับ Magento โดยสรุป ก็จะมีสองทางเลือก ซึ่งทางเลือกแรกคือใช้บริการเชื่อมโยงที่เป็นแบบสำเร็จรูปที่มีการออกแบบไว้แล้วล่วงหน้า ส่วนอีกทางเลือกหนึ่ง คือการสร้างส่วนขยายหรือส่วนเสริมเพื่อการเชื่อมโยง ด้วยรูปแบบการเชื่อมโยงที่เป็นของตัวเอง ซึ่งอย่างหลังนี้จะมีต้นทุนที่สูงกว่าอย่างแรกมาก แต่แน่นอนว่าการสร้างใหม่เป็นแบบของตนเองย่อมไม่ติดปัญหาและข้อจำกัดใดๆ หากมองหาการเชื่อมโยงสำเร็จรูปเข้ากับระบบ ERP ของตัวเองไม่ได้ ก็ไม่มีทางเลือกที่จะต้องจ้างผู้พัฒนาปรับแต่งการเชื่อมโยงให้เข้าได้กับระบบ ERP ของตัวเอง ซึ่งก็จะมีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูงและรวมถึงเวลาในการดำเนินการที่มากขึ้นอีกด้วย