คุณทราบหรือไม่ว่า การเลือกแพลตฟอร์มร้านค้าออนไลน์ที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญอย่างไม่น่าเชื่อ อาจกล่าวได้ว่า มันเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะชี้ชะตาธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ว่าคุณจะประสบความสำเร็จหรือไม่
สองบริษัทใหญ่อย่าง Magento และ Shopify ที่ยังคงเป็นทางเลือกให้กับธุรกิจใหม่หรือคนที่ไม่พอใจกับแพลตฟอร์มปัจจุบันของตัวเอง ทั้งสองค่ายต่างทำงานกันอย่างหนัก เพื่อมุ่งที่จะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด ให้กับร้านค้าออนไลน์ อย่างไรก็ตามทั้งสองแพลตฟอร์มก็มีความแตกต่างกันอยู่อย่างมาก
ในขณะที่ Magento มีความนิยมมาเป็นเวลานานแล้ว และ Shopify ก็อาจจะเป็นหนึ่งในคู่แข่งสำคัญที่ใหญ่ที่สุดในตลาด แต่ด้วยการเปิดตัว ของ Magento รุ่น 2.0 ก็อาจจะทำให้ Magento อยู่ในระดับที่สูงกว่ากว่า และกลายเป็นทางออกที่ดีกว่าสำหรับทุกขนาดของธุรกิจ
ในบทความนี้ เราจะเน้นเป็นพิเศษระหว่าง Magento และ Shopify ว่ามันมีความต่างกันอย่างไร และแต่ละแพลตฟอร์มจะสร้างฟีเจอร์ให้กับร้านค้าออนไลน์ได้อย่างไรโดยเน้นการพูดถึงฟีเจอร์ใหม่ของ Magento 2 โดยการเปรียบเทียบนี้ อาจเป็นตัวช่วยให้เจ้าของร้านค้าเลือกแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ดีที่สุดสำหรับความต้องการของตนได้
ความแตกต่างเบื้องต้นระหว่าง Magento และ Shopify โดยทั่วไป
ความนิยม
Magento ถือเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่มีการใช้งานมากที่สุดโดยอ้างอิงจาก 14% ของไซต์ยอดนิยมเมื่อเทียบกับ Shopify ที่มี 6% แสดงให้เห็นว่า Magento ยังมีได้รับสนใจในการค้นหาโดยรวมมากขึ้นตามสถิติของ Google Trends:
โดยวิธีการที่ใช้เปรียบเทียบทั้งสองค่ายคือการมองไปที่กลุ่มธุรกิจที่ใช้งานพวกเขา Magento มีชื่อรายชื่อบริษัทใหญ่ เช่น Nike, Rosetta Stone, Olympus และ Ghirardelli ส่วน Shopify มีชื่อบริษัทใหญ่อยู่ไม่มาก เช่น Tesla และ Los Angeles Lakers Store ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง แต่กล่าวว่าทั้งสองแพลตฟอร์มเป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จอยู่มากเลยทีเดียว
Coding
ในแง่ของการใช้ coding Magento และ Shopify มีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก Magento ใช้ PHPเป็นหลัก ขณะที่ Shopify ใช้ภาษาที่เรียกว่า Liquid ในการสร้างระบบ Magento เป็น open-source แต่ Shopify เป็นแบบกรรมสิทธิ์ เป็นอีกส่วนที่มีความสำคัญในการใช้ตัดสินใจเลือกแพลตฟอร์มที่สมบูรณ์แบบ เพราะมันจะกำหนดว่าแพลตฟอร์มเหล่านั้นจะสามารถทำอะไรได้บ้าง
Open-source หมายถึง source code สามารถแก้ไขได้อย่างอิสระและไม่ติดลิขสิทธิ์ใด ในขณะที่โค้ดแบบมีลิขสิทธิ์จะไม่สามารถทำได้ แต่ด้วยการใช้งาน Magentoนั้น Template Codeจะสามารถทำการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการในการจัดเก็บเฉพาะต่าง ๆ ได้ ซึ่งจุดนี้บนแพลตฟอร์ม Shopify จะไม่สามารถทำได้
และนั่นทำให้ Shopify เป็นโซลูชั่นที่ดีสำหรับร้านค้าธรรมดาทั่วไป แต่อาจจะไม่เหมาะสำหรับงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในการสร้างฟังก์ชันขั้นสูงแบบเฉพาะที่ต้องมีการเปลี่ยน source codeต่าง ๆ
ค่าใช้จ่าย
Shopify เป็นแพลตฟอร์มแบบ Software-as-a-service (SAAS) ซึ่งหมายความว่าผู้ใช้ต้องจ่ายค่าสมัครรายเดือนเพื่อเข้าใช้งานซอฟต์แวร์ของ Shopify โดยเริ่มจากการที่ Shopify จะเปิดให้ทดลองใช้ฟรี แต่หลังจากนั้นคุณจะต้องจ่ายเงินให้กับค่าบริการ โดยที่ร้านค้าแบบพื้นฐาน คือ 880 / บาท / เดือน และสูงสุดได้ถึง 5,459 บาท / เดือน
ค่าใช้จ่ายของ Shopify:
– Basic 880 บาท/เดือน ($29)
– Pro 2,400 บาท / เดือน ($79)
– Unlimited 5,459 บาท / เดือน ($179)
ด้วยการจ่ายเงินเพิ่มต่อเดือน ผู้ที่ใช้ Shopify จะสามารถใช้งานฟีเจอร์ต่างๆ ได้เพิ่มขึ้น เช่น การกู้คืนตะกร้าสินค้าที่ถูกละทิ้ง, คูปองของขวัญและการรายงานผลขั้นสูง หากเปรียบเทียบกันแล้วผู้ใช้ Magento สามารถเพิ่มฟีเจอร์เหล่านี้โดยการจ่ายที่น้อยกว่าแบบรายปี โดยมีโซลูชั่นการกู้คืนตะกร้าสินค้าที่ถูกละทิ้งจาก Creative Minds ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเพียง 1,180 บาท ต่อปี โดยมีการช่วยเหลือและการอัพเกรดบริการพร้อมกันด้วย
นอกจากนี้ Shopify ยังเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมสำหรับการชำระเงินผ่านเกทเวย์ภายนอกด้วย เช่น PayPal, Braintree และ Authorize.net โดยมีอัตราค่าธรรมเนียมตั้งแต่ 2.0% ถึง 0.5% โดยมีการสมัครรับข้อมูลรายเดือนที่มีราคาแพงมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมลดลงไปอีกด้วย
ซึ่งหมายความว่าทุกครั้งที่มีการทำธุรกรรมออนไลน์ Shopify จะทำการหักเงิน หากร้านค้าของคุณมีการทำธุรกรรมเป็นจำนวนมาก และมีค่าธรรมเนียมที่จะสามารถเรียกเก็บเงินได้ค่อนข้างมาก ซึ่งผู้ใช้สามารถหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมเหล่านี้ได้โดยใช้เกทเวย์การชำระเงินโดยตรงของShopify
ในขณะที่การให้บริการของ Shopify ดำเนินงานโดยบริษัทเอง แต่ Magento กลับเป็นโซลูชั่นที่ดำเนินการด้วยตัวคุณเอง ดังนั้นผู้ใช้สามารถเลือกจ่ายเงินให้กับบริการของบุคคลที่สามได้เอง ซึ่งอาจมีค่าใช้จ่ายเพียง 120 บาท โดยเลือกจากการให้บริการของบริษัท ต่าง ๆ เช่น Site Ground และ Host Gator
Hosting ที่ดีถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับร้านค้าที่จะดำเนินการให้ประสบความสำเร็จ เพราะHostingอาจส่งผลต่อความเร็ว, การจัดเก็บข้อมูลและจำนวนผลิตภัณฑ์ที่ร้านค้าออนไลน์จะสามารถรับมือได้ ผู้ใช้ Magento สามารถเลือก Hosting ที่เหมาะกับความต้องการและราคาที่มาพร้อมกับตัวเลือกแทนที่จะทำกิจกรรมต่าง ๆ ผ่าน Shopifyเพียงอย่างเดียว
Magento Community Edition สามารถดาวน์โหลดได้ฟรี และกลายเป็นตัวเลือกยอดนิยมสำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์และธุรกิจขนาดเล็ก ส่วนค่าจ่ายสำหรับ เวอร์ชั่น Enterprise ก็จะขึ้นอยู่กับความต้องการของร้านค้าออนไลน์ที่เฉพาะเจาะจงลงไปในแต่ละกรณี
ค่าใช้จ่ายของ Magento:
– Community Edition: ฟรี
– Hosting: 120 – 3,000 บาท ขึ้นไป/ต่อเดือน
– ค่าพัฒนาระบบ 100,000 – 10,000,000 บาท
สำหรับทั้ง Magento และ Shopify คุณต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายของ Add-on ต่าง ๆ เอาไว้ด้วย เพราะมีโอกาสที่ซอฟต์แวร์พื้นฐานอาจจะไม่เพียงพอที่จะสร้างร้านค้าออนไลน์ที่คุณต้องการได้ ดังนั้นราคาที่คาดไว้อาจจะสูงกว่านี้ได้อีก
นอกจากนี้ผู้ใช้ Magento อาจต้องสมัครเข้าใช้บริการของนักพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อสร้างและจัดการพื้นที่ร้านค้าด้วย ดังนั้นส่วนนี้จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
Magento 2 เติบโตได้อย่างไร
โดยการศึกษาจากข้อมูลพื้นฐานของแต่ละแพลตฟอร์ม มาลองดูว่าอะไรคือตัวแปรสำคัญ ที่ทำให้พวกเขากลายเป็นร้านค้าออนไลน์ที่ประสบความสำเร็จได้
ความสามารถในการรองรับการขยายตัว
ในส่วนนี้มีแนวโน้มว่า Magento จะทำได้ดีกว่า Shopify อยู่พอสมควร สำหรับการสร้างร้านค้าขนาดใหญ่ที่มีการจัดการกับผลิตภัณฑ์หลายชิ้น หากคุณต้องการเริ่มต้นร้านค้าขนาดเล็กโดยไม่ต้องการอะไรมากหรือจริงจังมาก Shopify ก็อาจเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคุณ แต่ถ้าหากคุณต้องการธุรกิจออนไลน์ที่มีความสามารถในการเติบโตสูง และมีพัฒนาการที่มีความยืดหยุ่นแล้วล่ะก็ Magento ถือเป็นทางเลือกที่ดีกว่ามาก
และถามจริงๆ ว่า แล้วใครบ้างที่ไม่อยากลงทุนกับสิ่งที่เติบโตได้เรื่อยๆ ล่ะ?
ขีดความสามารถ
Magento นั้นเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมากสำหรับเจ้าของธุรกิจ เพราะด้วย add-on extension ที่มีมากกว่า 5,000 รายการ (แบบฟรีและจ่ายเงิน) จึงทำให้ Magento มีข้อได้เปรียบมากกว่าแน่นอน เมื่อพูดถึงเรื่องขีดความสามารถ และเมื่อเปรียบเทียบกับApp และ Add-on กับ Shopify ที่มีอยู่กว่า 100 รายการ
โดยไอเดียต่าง ๆ ที่คุณมีระหว่างการสร้างร้านค้าออนไลน์อาจจ่ายได้ไม่แพงสำหรับการใช้ extension ของ Magento เช่น หากคุณต้องการเพิ่มข้อความแสดงข้อผิดพลาดของคูปองที่กำหนดเองหรือการเข้าสู่ระบบโดยพนักงานหลาย ๆ คนโดยมีการอนุญาตที่ต่างกัน ก็สามารถทำง่าย ๆ ด้วยการใช้extensionได้ และทำได้โดยไร้ขีดจำกัด ถึงแม้คุณจะไม่ได้เป็นนักเขียนโค้ดก็ตาม
ด้วยการใช้งาน Magento ทุกส่วนของเว็บไซต์จะอยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าของธุรกิจเองด้วย
ซึ่งนี่คือสิ่งที่เจ้าของธุรกิจหลายรายอาจให้ความสำคัญ และทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเป้าหมายของแต่ละคนด้วย โดย ผู้ดูแลระบบสามารถสร้างและจัดการร้านค้าต่างๆ ภายในแผงการดูแลระบบเดียวกันได้
นอกจากนี้เมื่อเทียบกับ Shopify แล้ว ตัว Magento เองยังมีฟีเจอร์ของ Front-end เพิ่มเติมสำหรับลูกค้าด้วย เช่นการเพิ่ม รหัสคูปอง, บัตรของขวัญ, แดชบอร์ดของลูกค้า, ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง, รายการโปรด, หน้าสถานะการสั่งซื้อ และอื่นๆ อีกมากมาย
การสร้างแบรนด์และการออกแบบ
การสร้างร้านค้าออนไลน์ที่จะประสบความสำเร็จนั้น มีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับการสร้างแบรนด์ที่เป็นเอกลักษณ์ที่จะให้ลูกค้ารู้จักและเคารพในตัวแบรนด์ ซึ่งส่วนสำคัญของการสร้างแบรนด์ก็คือการออกแบบ
ทั้ง Magento และ Shopify มีทั้งธีมแบบฟรีและแบบพรีเมี่ยมอยู่จำนวนมาก ซึ่งสำหรับทั้งสองแพลตฟอร์มธีมเหล่านี้จะต้องมีการตอบสนองได้กับขนาดหน้าจอที่หลากหลาย เพราะการมีร้านค้าออนไลน์ที่เหมาะสมกับอุปกรณ์เคลื่อนที่ก็เป็นเรื่องสำคัญอย่างมากเช่นกัน เนื่องจากมีลูกค้าจำนวนมากใช้งานโทรศัพท์มือถือในการซื้อสินค้าออนไลน์
และเพราะธีมของ Shopify เป็นแบบกรรมสิทธิ์ มันไม่จึงไม่อนุญาตให้มีการปรับแต่งได้มากมายนัก นอกเหนือจากการเปลี่ยนสีและแบบอักษร แล้วทำให้ผู้ใช้ Shopify ก็จะไม่สามารถกำหนดธีมเองได้อย่างเต็มที่ตลอดจนสร้างปัญหาที่อาจเป็นไปได้สำหรับการสร้างแบรนด์ให้กับร้านค้า
ส่วน Magento 2 มีการอัพเกรดจะประกอบด้วยอุปกรณ์การลากและวางการแก้ไขภาพหน้าจอ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ที่ไม่เป็นและเป็นนักเขียนโค้ด สามารถสร้างเว็บไซต์ที่สวยงามได้ในเวลาอันรวดเร็ว
ประสบการณ์ของผู้ใช้
หลายคนบอกว่า Shopify ใช้งานง่ายกว่า Magento เลยทำให้เป็นที่ต้องการมากกว่าสำหรับผู้ที่ไม่ใช่นักพัฒนาซอฟต์แวร์ และมันรวดเร็วกว่าในการสร้างร้านค้าที่ทำได้ทันทีทันทีเลย หลังจากลงชื่อสมัครใช้ โดยที่ Shopify มีเครื่องมือสร้างเว็บไซต์เพื่อปรับแต่งฟีเจอร์ต่าง ๆของร้านค้าได้ภายในแพลตฟอร์ม
ส่วน Magento ก็มี extension ที่พร้อมใช้งาน แต่มันก็ทำงานได้ง่ายมาก โดยที่ไม่ต้องเขียนโค้ด กรณีต้องใช้กับงานง่ายๆ ก็มีเตรียมไว้ให้อยู่แล้ว
สำหรับผู้ใช้ที่ต้องการประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งกว่าที่เคยมีให้กับ Magento 1 และ Add-ons ใน Magento 2 รุ่นใหม่นี้เอง ก็มีการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่ผู้ใช้งาน Magento 1 เคยพบ
เพราะใน Magento 2 นี้ จะมาพร้อมกับแผงควบคุมผู้ใช้ที่ใช้งานได้ง่ายขึ้นมาก และกลายเป็นเรื่องง่ายสำหรับผู้ใช้ใหม่ที่ต้องการเวลาในการเรียนรู้ ซึ่งเมื่อเทียบกับ Shopify แล้ว ผู้ดูแลระบบจะสามารถดำเนินงานต่างๆ ได้ง่ายขึ้นกว่าด้วย เช่น ความสามรถในการเข้าถึงการรายงานผลขั้นสูง, การจัดการตัวประมวลผลการชำระเงิน, การเรียงลำดับลูกค้า, ผลิตภัณฑ์ทางการตลาด เป็นต้น ซึ่งผู้ดูแลระบบสามารถจัดการร้านค้าอยู่เบื้องหลังได้โดยง่าย และไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะการพัฒนาที่อยู่ขั้นสูงเลย
ผู้ดูแลระบบสามารถบรรลุเป้าหมายได้มากขึ้นในระยะเวลาอันสั้น เหมาะอย่างมากกับธุรกิจใหม่ที่ต้องดิ้นรนเพื่อจัดการรายการต่างๆ ที่ยาวเหยียดได้ง่ายๆ และนอกจากนี้พวกเขายังสามารถจัดการร้านค้าอีออนไลน์โดยการเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับขนาดหน้าจอต่างๆ ได้อีกด้วย
SEO
เพราะกว่า 44% ของการซื้อสินค้าออนไลน์ มักจะเริ่มต้นด้วยการค้นหาออนไลน์ ทำให้การค้นหาร้านค้าของคุณและผลิตภัณฑ์ของคุณผ่านทาง Google และเครื่องมือค้นหาอื่น ๆ นั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก
แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซบางตัวดีกว่าอย่างมาก ในเรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องมือค้นหา (SEO) ซึ่งจากการวิจัยและให้คะแนน SEO จาก 16 แพลตฟอร์มตะกร้าสินค้า พบว่า Magento ได้รับการยกย่องให้เป็นที่หนึ่ง ตามมาด้วย Shopify และ WooCommerce ไล่เลี่ยกัน
ซึ่งฟีเจอร์ของ SEO ที่มีการตรวจสอบจะประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆ เช่น การใช้หัวเรื่อง, การวางคำอธิบาย, URL ของหน้าเว็บและชื่อ ฯลฯ และด้วยคะแนน SEO ที่เท่าเทียมกันนี้ ก็รับรองได้ว่าความสามารถด้านการสร้าง SEO ของ Shopify และ Magento จะช่วยขับเคลื่อนการเข้าชมแบบ Organic ไปยังร้านค้าออนไลน์ของคุณได้แน่นอน
ความเร็ว
ความเร็วของเว็บไซต์ยังคงเป็นปัจจัยอันดับหนึ่งสำหรับ SEO และเป็นปัจจัยกำหนดว่าลูกค้าจะซื้อสินค้าจากร้านค้าของคุณหรือไม่ ถ้าจะต้องใช้เวลาสักพักสำหรับการรอโหลดหน้าร้านค้าและผลิตภัณฑ์ของคุณ ผู้ที่มีโอกาสเป็นลูกค้าของคุณก็อาจจะเปลี่ยนใจไปที่เว็บไซต์อื่นแทนได้ รวมทั้งผลงานวิจัยก็แสดงให้เห็นว่า แม้จะมีความล่าช้าแค่ 1 วินาที ก็อาจะลดอัตราการใช้งานได้ถึง 7%
ดังนั้นการมีร้านค้าออนไลน์ที่รวดเร็วทันใจมากเท่าใด ก็จะยิ่งทำให้ประสบความสำเร็จมากขึ้นเท่านั้น ในอดีตผู้ใช้จำนวนมากต่างบอกว่าว่า Magento นั้นโหลดได้ช้าอย่างไม่น่าเชื่อ และจุดนี้ทำให้ Shopify กลายเป็นผู้ชนะไปเลยในด้านความเร็ว
แต่ด้วยการเปิดตัว Magento 2 ก็ยังไม่ชัดเจนนักว่าแพลตฟอร์มใดมีประสิทธิภาพมากกว่ากัน เพราะเมื่อเทียบกับไซต์ของ Magento1แล้ว ไซต์จาก Magento 2 มีอัตราการทำงานที่เร็วกว่าถึง 20% ในบางกรณีสามารถทำได้ได้เร็วกว่าถึง 56% เลยทีเดียว!
การชำระเงิน
การชำระเงินได้อย่างรวดเร็วและใช้งานได้ง่ายก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัย ที่จะเมื่อเปรียบเทียบ Shopify และ Magento และสำหรับ Magento 2 การสั่งซื้อก็มีรูปแบบใหม่และดีขึ้นเป็นพิเศษ
ซึ่งการปรับปรุงใหม่ที่ว่า มีด้วยกันหลายฟีเจอร์ เช่น การชำระเงินที่ปราศจากสิ่งรบกวน, การชำระเงินโดยอัตโนมัติ, การสร้างบัญชีด้วยคลิกเดียว, และการชำระเงินในสองขั้นตอน โดยที่จะวางช่องใส่รหัสส่วนลดไว้ในหน้าการชำระเงิน ซึ่งทำให้การใช้งานนั้นง่ายขึ้นมากสำหรับลูกค้า รวมทั้งมีการแยกข้อมูลการจัดส่งและการชำระเงินเป็นสัดส่วนเพื่อลดความสับสนด้วย
Shopify ก็ยังมีการชำระเงินที่ยอดเยี่ยมด้วยการเกริ่นนำครึ่งหนึ่งของการชำระเงินที่ตอบสนองได้ในหน้าเดียว แต่ที่ขัดแย้งอยู่ก็คือใน Shopify เจ้าของธุรกิจที่มีแผนการกำหนดราคาที่ต่ำกว่าเกณฑ์ จะไม่สามารถดูอัตราค่าจัดส่งแบบเรียลไทม์ได้ ซึ่งอาจส่งผลให้มีอัตราค่าจัดส่งที่สูงขึ้นสำหรับลูกค้าได้
ชุมชน
อีกหนึ่งความเป็น “มืออาชีพ” ในตัว Magento นั่นก็คือความมั่งคั่งของกลุ่มชุมชน ซึ่งเมื่อเทียบกับ Shopify แล้ว Magento ถือว่ากินขาดด้วยชุมชนขนาดใหญ่กว่ามาก และนักพัฒนาระบบ Magento เหล่านี้ ก็สามารถสร้าง Solution หลายรูปแบบให้กับผู้ใช้จำนวนมากได้ นอกจากนี้ยังมีแหล่งข้อมูลสำหรับผู้เริ่มต้นที่ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Magento ด้วย
ด้วยความกว้างขวางของชุมชน Magento นี้ จึงทำให้เจ้าของธุรกิจไม่มีปัญหามากนักในการหานักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีความสามารถและทำงานได้จริง รวมทั้งผู้ใช้สามารถติดต่อผ่าน Magento เพื่อขอความช่วยเหลือ หรือเข้าถึงบริการสนับสนุนและบำรุงรักษาผ่านทางนักพัฒนาซอฟต์แวร์ภายนอกเหล่านี้ได้โดยง่ายอีกด้วย
การทำ Marketplace
ผู้ใช้แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซหลายท่านอาจต้องการสร้าง Marketplace เพื่อให้ผู้ขายหลายรายทำการเสนอขายสินค้าที่ดำเนินการผ่านตะกร้าสินค้าเพียวตัวเดียว ซึ่งทั้ง Shopify และ Magento 2 มี Add-ons เพื่อสร้างระบบผู้ขายหลายรายอยู่ด้วย และเป็นอีกครั้งที่ Magento มีคะแนนนำ Shopify เมื่อเทียบสามารถในการสร้างร้านค้าที่เป็น Marketplace โดยที่ Magento มีฟีเจอร์ของการโปรโมทการขายในตัวด้วย เช่น โปรโมชั่นที่กำหนดราคาได้และคูปองที่มีเวลายืดหยุ่น ซึ่งจะนำพาให้ร้านค้าของผู้ค้าปลีกทั้งแบบร้านเดี่ยวและหลายร้านขยับไปสู่อีกก้าวของความสำเร็จได้
การอัพเกรดของ Magento 2 มาพร้อมกับความสามารถในการขยายตัวและประสิทธิภาพการทำงานต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับร้านค้า แบบที่มีผู้ขายหลายราย และการจัดการพื้นที่ตลาดที่จะประสบความสำเร็จได้ก็ล้วนเกิดจากฟังชั่นการทำงานที่ได้ผลจริง ซึ่งแน่นอนว่า Magento มีพลังอย่างมากที่จะทำให้คุณก้าวต่อไปได้ในการแข่งขัน
ข้อสรุป
ถือว่ายากอยู่พอสมควร ที่จะบอกว่าแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซอันไหนที่จะดีที่สุดกับทุกๆร้านค้า เพราะสิ่งที่ดีที่สุดมักจะขึ้นอยู่กับเป้าหมาย, งบประมาณและความเชี่ยวชาญ และเมื่อต้องตัดสินใจระหว่าง Shopify กับ Magento คุณก็ควรพิจารณาสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับคุณด้วย
หากการสร้างร้านค้าที่รวดเร็วเพื่อรับมือกับสินค้า 100 รายการแล้วล่ะก็ Shopify ก็อาจจะเหมาะสมกับความต้องการของคุณมากที่สุด แต่ถ้าหากคุณต้องการพัฒนาร้านค้าออนไลน์ที่มีศักยภาพที่ไร้ข้อจำกัด และมีความสามารถในการขยายตัวและปรับแต่งได้แล้วล่ะก็ Magento ก็น่าจะดีกว่าแน่นอน ย้ำอีกครั้งว่า มันขึ้นอยู่กับแต่ละสถานการณ์ด้วย ถ้าหากสนใจบริการเกี่ยวกับ Magento Service เพื่อช่วยพัฒนาร้านค้าของคุณก็สามารถ Search หาข้อมูลใน Internet ได้ หรือจะติดต่อ Cipher Co., Ltd. เพื่อปรึกษาและพัฒนา
Magento นั้นเต็มไปด้วยคุณสมบัติในตัวที่มีประโยชน์อย่างมาก และความสามารถที่ไร้ขีดจำกัด ผ่าน extension add-on และด้วยเหตุผลเหล่านี้ รวมทั้งการปรับปรุงที่มีของ Magento 2 ก็ยิ่งทำให้มัน สมควรที่จะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจร้านค้าออนไลน์