พฤติกรรมผู้บริโภคในช่วงวิกฤตโควิด

พฤติกรรมผู้บริโภคในช่วงวิกฤตโควิด

การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด – 19 ไม่ใช่แค่ประเทศไทยเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ ประเทศต่างๆทั่วโลกเองก็ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสนี้ไม่แพ้กัน มีหลายสิ่งเปลี่ยนแปลงไปหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 โดยเฉพาะพฤติกรรมผู้บริโภคหลังวิกฤตโควิดที่จะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ทั้งไลฟ์สไตล์ การทำงาน การใช้ชีวิต และด้านอื่นๆ ฯลฯ

จากสถานการณ์ดังกล่าว กลุ่มเอเยนซี่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านบริหารจัดการการลงทุนด้านสื่อชั้นนำระดับโลกในเครือ ดับบลิวพีพี (WPP)อย่าง  GroupM  ร่วมกับเอเยนซี่ในเครือได้แก่ มายด์แชร์ มีเดียคอม เวฟเมคเกอร์ และพันธมิตรอย่าง คันทาร์ ผู้นำด้านการวิจัยและ ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) ได้จัดทำรายงาน    Coronavirus in Thailand – Trends & Implications for Brands and Marketers เพื่อสรุปภาพรวมของผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์ดังกล่าว  พร้อมเสนอถึงแนวทางการปฏิบัติสำหรับนักโฆษณาและนักการตลาด เตรียมปรับตัว ปรับแผน เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคหลังวิกฤตโควิด – 19

สรุปสิ่งที่เกิดขึ้นช่วงวิกฤตไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่หรือโควิด – 19

  • คนไทยตระหนักและให้ความสนใจเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด – 19 โดยมีการพูดถึงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด – 19 ถึง 148 ล้านข้อความบนสื่อออนไลน์โดยแพลตฟอร์มที่มีการใช้มากที่สุดคือ Twitter มีจำนวนสูงถึง 65% รองลงมาคือ Facebook อยู่ที่ 20% (ข้อมูลจาก จากเครื่องมือ ZOCIAL EYE โดย บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด )
  • คนไทยเริ่มหันมาตระหนักเกี่ยวกับการเงินของตนเอง เศรษฐกิจของประเทศ และมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพมากขึ้น ซึ่งเชื่อมโยงไปถึงเรื่องการวางแผนด้านการเงิน โดยมีการค้นหาประกันสุขภาพเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาการแพร่ระบาดของไวรัส  โดยพบว่าคนไทย 66% เริ่มสนใจการวางแผนทางด้านการเงิน  54% ห่วงใยและสนใจเศรษฐกิจของประเทศ และ 52% เริ่มสนใจเกี่ยวกับสุขภาพของตนเอง
  • การ Work from Home ไม่ใช่แค่การทำงานจากที่บ้านเท่านั้น แต่ยังหมายถึงผู้บริโภคสามารถเข้าถึงการ Shopping แบบออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมงทั้ง 7 วัน โดยไม่มีอะไรมาขวางกั้น
  • คนไทยหันมาสั่งอาหารและเครื่องดื่มผ่านระบบขนส่งออนไลน์มากขึ้น พบว่า Food & beverage delivery เติบโตถึง  80%  ไม่ว่าจะเป็น Line Man / Grab / Food Panda / Lazada / Get / Shopee
  • คนไทยพึ่งพาระบบการจ่ายเงินแบบออนไลน์มากขึ้น ทั้งการจ่ายเพื่อ Food Delivery ซึ่งการสั่งอาหารผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้น 116% และ การสั่งซื้อสินค้าผ่าน E-Commerce

เมื่อพฤติกรรมเปลี่ยน ธุรกิจต่างๆก็ต้องปรับตัว รวมถึงนักโฆษณาและนักการตลาดด้วย โดยมีแนวทางการปรับตัวสำหรับ 7 ธุรกิจหลักดังนี้

  • ธุรกิจยานยนต์

พบว่าคนไทยวางแผนการเงินมากขึ้น และพยายามลดการใช้เงินลง จึงมีแนวโน้มว่าความต้องการซื้อรถยนต์ของคนไทยจะลดน้อยลง โดยแบรนด์ควรเข้าถึงผู้บริโภคผ่านช่องทาง  Search Engine Marketing เพื่อให้ผู้บริโภคที่สนใจสามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับรถยนต์รุ่นต่างๆได้สะดวกขึ้น เสนอโปรโมชั่น พร้อมปิดการขายให้เร็วที่สุด

  • ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

มีความคล้ายคลึงกับธุรกิจยานยนต์เนื่องมาจากการวางแผนทางการเงินของผู้บริโภคเช่นเดียวกัน นักโฆษณาและนักการตลาดควรประยุกต์ใช้สื่อดิจิทัลในการเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภค สื่อสารกับผู้บริโภคผ่านทาง VDO Conference หรือ Short Video

  • ธุรกิจการท่องเที่ยว

เป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด – 19 เป็นอย่างมาก เนื่องจากการเดินทางระหว่างประเทศหยุดชะงัก ทำให้การท่องเที่ยวนั้นหยุดลงไปด้วย ในช่วงนี้ควรเปลี่ยนไปทำการสื่อสารองค์กรแทนการสื่อสารด้านการตลาดหรือโปรโมชั่นต่างๆแทน

  • ธุรกิจเพื่อความงามและสินค้าแฟชั่น

แม้ว่าจะมีการ Lockdown แต่ความต้องการทางด้านความสวยความงามยังสูง เนื่องจากผู้คนยังห่วงภาพลักษณ์โดยเฉพาะในวันทำงาน แม้เป็นการ Work from Home  แต่ทุกคนก็ยังต้องการความดูดีผ่านการประชุมออนไลน์ ธุรกิจแฟชั่นและความงามโดยเฉพาะธุรกิจ SME จึงควรปรับตัวหันมา go online มากขึ้น เริ่มขายออนไลน์  ทำโฆษณาออนไลน์ เพื่อเข้าถึงผู้บริโภคที่ยังมีความต้องการสินค้าทางด้านนี้อย่างต่อเนื่อง โดยอาจจะมีการปรับตัวในการทำการตลาดออนไลน์ อาทิ Inbound Marketing  เสนอ Content ที่สร้างแรงบันดาลใจการปรับโฉมให้ดูดีในสถานการณ์ที่ผู้คนส่วนใหญ่ Work From Home

  • ธุรกิจกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค

เป็นกลุ่มธุรกิจที่อาจจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เนื่องจากเป็นสินค้าพื้นฐานที่ผู้คนยังคงต้องใช้อย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ควรเน้นการสื่อสารกับผู้บริโภคผ่านช่องทางออนไลน์ ทั้งระบบ E-Commerce และการทำโฆษณาออนไลน์ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้บริโภคยังจดจำแบรนด์ได้ และสร้างเครือข่ายพันธมิตรใหม่ๆ เช่น การเป็นพันธมิตรกับธุรกิจขนส่งเป็นต้น

  • ธุรกิจอาหาร

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด -19 เป็นช่วงเวลาแห่งการปรับตัวของธุรกิจอาหารเป็นอย่างมาก แสดงให้เห็นว่าธุรกิจอาหารควรจะต้อง Go Online อย่างเต็มที่ ทั้งการทำการตลาดออนไลน์ การทำโฆษณาออนไลน์ เพื่อรับมือถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคในอนาคตด้วย แต่สิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักคือ การรักษาคุณภาพทั้งด้านอาหาร เวลา และการขนส่ง ซึ่งจะนำมาซึ่งการเข้าไปนั่งอยู่ในใจของผู้บริโภค ถือเป็นความท้าทายของธุรกิจอาหารเป็นอย่างยิ่ง และควรจะเตรียมตัวสำหรับโปรโมชั่นและข้อเสนอพิเศษต่างๆที่จะดึงให้ลูกค้ากลับมาที่ร้าน เมื่อสถานการณ์ปกติด้วย

  • ธุรกิจการเงินการธนาคาร

เป็นช่วงเวลาที่ธุรกิจการเงินและการธนาคารจะสร้างประสบการณ์ที่ดีในการใช้ระบบดิจิทัล แทนการใช้เงินสด โดยต้องเน้นที่ความสะดวกสบาย ความน่าเชื่อถือ และความปลอดภัย และสิ่งสำคัญที่สุดคือควรจะเน้นที่ความง่ายในการใช้งาน เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าทุกเพศทุกวัย

สิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือช่องทางออนไลน์มีบทบาทกับชีวิตผู้บริโภคมากขึ้นเรื่อยๆ สิ่งสำคัญคือ ธุรกิจ Start up ธุรกิจ SME ควรปรับตัวด้วยการ Go online เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภค ทั้งในขณะนี้และเมื่อสถานการณ์กลับเข้าสู่สภาวะปกติด้วย สิ่งสำคัญคือควรมุ่งเน้นการทำ Digital Marketing  ซึ่งแต่เดิมนั้นเริ่มมีบทบาทกับธุรกิจมากขึ้นอยู่แล้ว แต่วิกฤตโควิดจะเป็นเหมือนตัวเร่งที่ขับเคลื่อนให้ธุรกิจต่างๆต้องเข้าสู่การทำ Digital Marketing มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันเองก็มีแพลตฟอร์มใหม่ๆสำหรับ Digital Marketing เกิดขึ้นมากมาย เป็นเครื่องมือในการช่วยทำการตลาดออนไลน์ เปิดตัวสินค้า บริหารจัดการคอนเท้นต์  เพื่อสร้างความสะดวกสบายให้กับธุรกิจ และมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า อาทิ Hubspot  อีกหนึ่งเครื่องมือในการทำ Digital Marketing ที่เป็นผู้ริเริ่มการทำ Inbound Marketing จนได้รับการยอมรับจากนักการตลาด ในด้านการเข้าถึงลูกค้า และสามารถเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายให้กลายมาเป็นลูกค้าได้อย่างสมบูรณ์ การสร้างขั้นตอนการใช้งานที่มีประสิทธิภาพ ช่วยตอบโจทย์ความต้องการของนักการตลาดออนไลน์ และกลายมาเป็นตัวเลือกที่ดีของธุรกิจที่กำลังจะเข้าสู่ Digital Marketing เพื่อรับมือกับพฤติกรรมผู้บริโภคหลังวิกฤตได้เป็นอย่างดี

Scroll to Top