คู่มือที่ดีที่สุดสำหรับการใช้ Google My Bussiness

Google my business คืออะไร?

GMB คือ เครื่องมือที่ไม่ต้องเสียเงินที่จะช่วยให้คุณสามารถจัดการให้ธุรกิจของคุณอยู่บนผลการค้นหาใน Google และ Google Maps รวมถึงการเพิ่มรายชื่อธุรกิจ, สถานที่, เวลาเปิดทำการ, ตรวจสอบและตอบกลับความคิดเห็นของลูกค้า เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่คุณจะได้รับจากการทำ Google My Business

 ถ้าหากคุณเพิ่งเริ่มต้นใช้งาน Local SEO  เครื่องมือ Google My Business เป็นวิธีการที่เหมาะสำหรับการเริ่มต้นทำธุรกิจ เมื่อผู้คนค้นหาผลิตภัณฑ์หรือบริการที่อยู่ใกล้พวกเขา ซึ่งแน่นอนว่าพวกเขามักจะซื้ออะไรก็ตามที่อยู่ใกล้กว่า ตัวอย่างเช่น เมื่อมีคน 2 คนได้ทำการค้นหาร้านซ่อมนาฬิกาในท้องถิ่น หนึ่งในนั้นจะมีคนเดินทางไปร้านซ่อมนาฬิกาในวันนั้นเลย  ดังนั้นสิ่งสำคัญก็คือคุณต้องทำยังไงก็ได้ให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับธุรกิจของคุณปรากฏขึ้นเมื่อมีคนค้นหา Google และข้อมูลดังกล่าวต้องมีความถูกต้องสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 

วิธีสร้างบัญชี Google My Business ของคุณ สามารถทำได้ด้วยการยืนยันตัวตน (Verify) ว่าธุรกิจของคุณนั้นมีตัวตนจริง และทำให้ชื่อธุรกิจของคุณนั้นอยู่ในอันดับที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ วิธีการดังกล่าวประกอบด้วยขั้นตอนเหล่านี้

1.สร้างบัญชีของคุณและอ้างสิทธิ์ในธุรกิจของคุณ

2.ยืนยันตัวตนของธุรกิจ

3.ปรับตั้งค่า Listing ของธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ

4.ดาวน์โหลดแอพ Google My Business

5.เรียนรู้ถึงความแตกต่างระหว่าง Google My Business, Google Places, และ Google+

Google My Business ฟรีรึเปล่า?

Google My Business นั้นใช้ฟรีแน่นอน เพียงแค่มีข้อกำหนดในการใช้งาน นั่นคือคุณจะต้องมีการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าของคุณแบบตัวต่อตัว ในอีกความหมายหนึ่งก็คือ คุณไม่สามารถทำงานแบบออนไลน์ได้ 100%

การสร้างรายชื่อ Google My Business

ขั้นตอนที่ 1 : ลงชื่อเข้าใช้บัญชี Google ที่คุณต้องการเชื่อมโยงกับธุรกิจของคุณ (หรือ สร้างบัญชี Google ถ้าหากคุณยังไม่มีบัญชี) 

ขั้นตอนที่ 2 : ไปที่ google.com/business แล้วเลือก “Start now” ที่มุมบนขวา

ขั้นตอนที่ 3 : พิมพ์ชื่อธุรกิจของคุณลงไป

ขั้นตอนที่ 4 : ใส่ที่อยู่ธุรกิจของคุณ

ขั้นตอนที่ 5 : หากธุรกิจของคุณตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกับลูกค้า แทนที่จะให้พวกเขาเป็นฝ่ายเดินมาหาที่ร้านเอง ให้ทำเครื่องหมายที่ช่อง “I deliver goods and services to my customers” และเมื่อไหร่ก็ตามที่คุณต้องออกไปทำงานนอกพื้นที่หรือสถานที่อื่นและไม่ต้องการให้ที่อยู่นั้นปรากฏต่อสาธารณะ ให้ทำเครื่องหมายที่ “Hide my address (it’s not store)” และในขั้นตอนสุดท้าย ให้เลือกพื้นที่จัดส่ง

ขั้นตอนที่ 6 : เลือกประเภทธุรกิจ ควรเลือกประเภทให้ตรงกับธุรกิจของคุณให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้  เพราะขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่คุณกำลังบอกกับ Google ว่าลูกค้าประเภทไหนที่ควรจะเห็นรายชื่อธุรกิจของคุณ

ขั้นตอนที่ 7 : เพิ่มเบอร์ของธุรกิจหรือเว็บไซต์ของคุณ

ขั้นตอนที่ 8 : เลือกรูปแบบการยืนยันตัวตน ถ้าหากคุณยังไม่พร้อมที่จะยืนยันธุรกิจของคุณให้คลิก “Try a different method” → “Later”

วิธีการยืนยันตัวตนในธุรกิจของคุณบน Google มีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ดังต่อไปนี้

โปสการ์ด
โทรศัพท์
อีเมล
การตรวจสอบทันที
การยืนยันตัวตนจำนวนมาก

การยืนยันผ่านโปสการ์ด

ขั้นตอนที่ 1 : ถ้าหากคุณยังไม่ได้ลงชื่อเข้าใช้ในบัญชี Google My Business ให้ลงชื่อเข้าใช้ก่อนและเลือกธุรกิจที่คุณต้องการยืนยัน (หากคุณลงชื่อเข้าใช้เรียบร้อยแล้ว คุณจะเข้าสู่ขั้นตอนการยืนยันตัวตนได้เลย)

ขั้นตอนที่ 2 : ตรวจสอบให้แน่ใจว่าที่อยู่ธุรกิจของคุณนั้นถูกต้อง เพราะที่อยู่นี้คือที่อยู่ที่โปสการ์ดจะส่งถึง

ขั้นตอนที่ 3 : คลิกไปที่ “Mail”  โดยทั่วไปโปสการ์ดต้องส่งมาถึงภายใน 5 วัน – ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณไม่ได้แก้ไขชื่อธุรกิจ ที่อยู่หรือหมวดหมู่ของธุรกิจ (หรือขอรหัสใหม่) ก่อนที่โปสการ์ดจะมาถึง เนื่องจากอาจทำให้กระบวนการยืนยันตัวตนล่าช้าออกไปอีก

ขั้นตอนที่ 4 : เมื่อคุณได้รับโปสการ์ดแล้วให้คุณลงชื่อเข้าใช้ Google My Business และถ้าหากคุณมีสถานที่ตั้งธุรกิจมากกว่าหนึ่งแห่งให้เลือกสถานที่ที่คุณต้องการยืนยันตัวตน หากคุณมีธุรกิจเพียงสถานที่เดียวให้เลือก ยืนยันตอนนี้ (Verify now)

ขั้นตอนที่ 5 : ในช่องใส่รหัส ให้ใส่รหัสยืนยันห้าหลักบนโปสการ์ดของคุณ แล้วกดปุ่ม “Submit”  หากคุณยังไม่ได้รับโปสการ์ดหรือคุณทำหาย สามารถขอรหัสใหม่ได้ โดยลงชื่อเข้าใช้ Google My Business และคลิกแบนเนอร์สีน้ำเงิน “Request another code” ที่ด้านบนของหน้าจอ

การยืนยันผ่านโทรศัพท์

Google อนุญาตให้ธุรกิจบางประเภทสามารถยืนยันธุรกิจผ่านทางโทรศัพท์ได้ หากคุณมีสิทธิ์คุณจะเห็นตัวเลือก “Verify by phone” ซึ่งขั้นตอนการยันยันธุรกิจผ่านทางโทรศัพท์ มีกระบวนการดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ 1: หากคุณยังไม่ได้ลงชื่อเข้าใช้ Google My Business ให้ลงชื่อเข้าใช้ทันทีและเลือกธุรกิจที่คุณต้องการยืนยันตัวตน (หากคุณลงชื่อเข้าใช้แล้วคุณจะเข้าสู่ขั้นตอนการยืนยันทันที)

ขั้นตอนที่ 2: ตรวจสอบว่าหมายเลขโทรศัพท์ของคุณถูกต้องจากนั้นเลือก “Verify by phone”

ขั้นตอนที่ 3 : ป้อนรหัสยืนยันจากข้อความที่คุณได้รับ

การยืนยันผ่านอีเมล

Google อนุญาตให้บางธุรกิจยืนยันธุรกิจทางอีเมล์ หากคุณมีสิทธิ์คุณจะเห็นตัวเลือก “Verify by email” ซึ่งขั้นตอนการยันยันธุรกิจผ่านทางอีเมล มีกระบวนการดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ 1: หากคุณยังไม่ได้ลงชื่อเข้าใช้ Google My Business ให้ลงชื่อเข้าใช้ทันทีและเลือกธุรกิจที่คุณต้องการยืนยัน (หากคุณลงชื่อเข้าใช้แล้วคุณจะเข้าสู่ขั้นตอนการยืนยัน)

ขั้นตอนที่ 2: ตรวจสอบว่าที่อยู่อีเมล์ของคุณถูกต้องจากนั้นเลือก “Verify by email”

ขั้นตอนที่ 3: ไปที่ inbox ของคุณเปิดอีเมลที่ส่งมาจาก Google My Business และคลิกปุ่มยืนยันในอีเมล

การยืนยันตัวตนทันที

หากคุณทำการยืนยันตัวตนธุรกิจของคุณด้วย Google Search Console (ซึ่งเป็นเครื่องมือฟรีที่ช่วยให้คุณจัดการเว็บไซต์ให้อยู่ในอันดับที่ดีในการค้นหารวมถึงตรวจสอบประสิทธิภาพโดยรวมของเว็บไซต์) คุณอาจยืนยันตัวตนทางอีเมลของคุณได้ทันที

ขั้นตอนที่ 1: ลงชื่อเข้าใช้ Google My Business ด้วยบัญชีเดียวกับที่คุณใช้ยืนยันธุรกิจด้วย Google Search Console (ธุรกิจบางประเภทไม่มีสิทธิ์ได้รับการยืนยันตัวตนทันที ดังนั้นหากคุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการยืนยันธุรกิจของคุณในช่องทางนี้ คุณจะต้องใช้วิธีการยืนยันด้วยวิธีการอื่น)

การยืนยันยันตัวตนครั้งละจำนวนมาก

หากคุณมีสาขาที่ต้องดำเนินงานมากกว่า 10 แห่งสำหรับธุรกิจเดียวกันและไม่ใช่ธุรกิจบริการ หรือเป็นเอเจนซีที่ดูแลธุรกิจหลายแห่ง คุณอาจได้สิทธิ์ที่จะได้รับการยืนยันตัวธุรกิจในแบบนี้

ขั้นตอนที่ 1: หากคุณยังไม่ได้ลงชื่อเข้าใช้ Google My Business ให้ลงชื่อเข้าใช้ทันทีและเลือกที่ตั้ง กดปุ่ม “Get verified”

ขั้นตอนที่ 2: คลิกที่ “Chain”

ขั้นตอนที่ 3: กรอกแบบฟอร์มการยืนยันธุรกิจด้วยชื่อธุรกิจของคุณ (รวมถึง บริษัทแม่ถ้ามี) รายชื่อประเทศที่คุณทำธุรกิจอยู่, รายชื่อผู้ที่สามารถติดต่อได้ทั้งหมด(ตัวอย่าง เช่น ชื่อพนักงานที่มีสิทธิ์ที่จะใช้บัญชี Google My Business), หมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้, อีเมลผู้บริหารของธุรกิจ(ผู้ที่สามารถยืนยันได้ว่าคุณเป็นตัวแทนของธุรกิจนั้น) และอีเมลแอดเดรสของ Google Account Manager

ขั้นตอนที่ 4: ส่งแบบฟอร์มการตรวจสอบ Google อาจใช้เวลาถึงหนึ่งสัปดาห์ในการตรวจสอบและดำเนินการกับคำร้องขอของคุณ
วิธีเพิ่มประสิทธิภาพรายชื่อ GMB ของคุณ

เมื่อคุณยืนยันธุรกิจแล้วก็ถึงเวลาที่จะมาสร้างโปรไฟล์ของคุณกันแล้ว ไปที่หน้า dashboard ของ Google My Business คลิกรายชื่อธุรกิจที่คุณต้องการใช้งาน เลือก “Info” จากนั้นกรอกข้อมูลเพิ่มเติมหรืออัปเดตลงไป

เพิ่มข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับธุรกิจของคุณให้มากเท่าที่คุณสามารถทำได้ รวมถึงรูปโปรไฟล์ธุรกิจ, พื้นที่ที่คุณให้บริการ, เวลาเปิดทำการของธุรกิจ, ข้อเสนอพิเศษต่าง ๆ (เช่น “รถเข็นคนพิการสามารถเข้ามาในร้าน ได้” “ฟรี wifi”), วันและปีที่คุณก่อตั้งธุรกิจนี้ขึ้นมา รวมถึงหมายเลขโทรศัพท์และ URL เว็บไซต์

ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม สามารถ “แนะนำการแก้ไข” ในรายชื่อของคุณได้ ดังนั้นสิ่งสำคัญคือ

  1. A) กรอกข้อมูลธุรกิจของคุณให้ถูกต้องในครั้งแรก (คุณคงไม่อยากให้คนอื่นมาบอกคุณว่า คุณกรอกข้อมูลธุรกิจของคุณเองผิด)
  2. B) ลงชื่อเข้าใช้ และเข้าไปที่หน้า dashboard ของ GMB เป็นระยะ ๆ เพื่อตรวจสอบข้อมูลทุกอย่างว่ายังสมบูรณ์ถูกต้องอยู่เสมอ

คุณสามารถแก้ไขโปรไฟล์ธุรกิจของคุณได้ตลอดเวลา โดยลงชื่อเข้าใช้ และไปที่หน้า dashboard ของ GMB แล้วคลิกที่ “Info” จากนั้นคลิกที่รูปดินสอที่อยู่บรรทัดเดียวกับข้อมูลที่คุณต้องการแก้ไข เมื่อทำการแก้ไขเสร็จแล้วเลือก “Apply”
Google My Business Photos

เมื่อดูจากข้อมูลของ Google จะเห็นว่าธุรกิจที่มีรูปถ่ายแสดงขึ้นมา จะมีคนคลิกไปดูเว็บไซต์ของธุรกิจเหล่านั้นมากขึ้นถึง 35% เลยทีเดียวและมีการสอบถามเส้นทางเพื่อไปยังสถานที่ที่ธุรกิจนั้นตั้งอยู่ใน Google Maps เพิ่มขึ้นถึง 42%

ภาพถ่ายควรมีขนาดกว้างอย่างน้อย 720 พิกเซล สูง 720 พิกเซล และควรเป็นไฟล์นามสกุล JPG หรือ PNG

รูปภาพหน้าปก

รูปภาพหน้าปกของ Google My Business เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสิ่งหนึ่งเลยทีเดียว เพราะมันจะแสดงอยู่ที่ด้านหน้าและอยู่กึ่งกลางบนรายชื่อของคุณ

รูปโปรไฟล์

รูปโปรไฟล์ของคุณ คือรูปที่แสดงขึ้นมาบนโปรไฟล์ เมื่อคุณอัพโหลดรูปภาพ, วิดีโอ และใช้มันเป็นรูปโปรไฟล์

นอกจากโปรไฟล์และรูปภาพหน้าปกแล้ว คุณควรอัพโหลดรูปภาพอื่น ๆ เพื่อให้รายชื่อธุรกิจของคุณมีข้อมูลที่สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น รวมถึงได้รับ engagement ที่มากขึ้นจากคนที่ได้พบเห็น ซึ่งภาพที่นำมาใส่เพิ่มเติมประกอบไปด้วย

Exteria
ลักษณะของภาพ: ภาพถ่ายจากด้านนอกของธุรกิจที่ถ่ายจากมุมมองที่แตกต่างกัน
จำนวนภาพที่ Google แนะนำ: 3 รูป
คำแนะนำ: ใช้รูปภาพจากช่วงเวลาที่ต่างกันของวัน (เช้า, บ่าย, เย็น) เพื่อให้ลูกค้าจดจำธุรกิจของคุณได้

Interior

ลักษณะของภาพ: แสดงให้เห็นถึงการตกแต่งภายในที่สวยงาม

จำนวนภาพที่ Google แนะนำ: 3 รูป

คำแนะนำ: แสดงภาพที่ทำให้ลูกค้าเข้าใจว่าธุรกิจของคุณทำอะไรบ้าง และเป็นธุรกิจเกี่ยวกับอะไร

Product

ชนิดของภาพ: ภาพถ่ายของผลิตภัณฑ์หรือบริการของธุรกิจ

จำนวนภาพที่ Google แนะนำ: หนึ่งรูปต่อประเภทสินค้าหรือบริการ

คำแนะนำ: ดูให้แน่ใจว่ารูปสินค้าสว่างพอให้ลูกค้าเห็นได้อย่างชัดเจน

Employees at work

ลักษณะของภาพ: ภาพ “การทำงาน” ของพนักงานของคุณที่กำลังทำงานอยู่

จำนวนภาพที่ Google แนะนำ: 3 รูป

คำแนะนำ: ควรเป็นภาพที่ พนักงานของคุณถ่ายร่วมกับลูกค้าของคุณที่กำลังรู้สึกประทับใจในบริการของธุรกิจคุณ

Food and Drink

ลักษณะของภาพ: รูปภาพที่แสดงรายการเมนูยอดนิยมในร้านของคุณ

จำนวนภาพที่ Google แนะนำ: 3 รูป

คำแนะนำ: เลือกจ้างช่างถ่ายภาพอาหารมืออาชีพ แต่หากไม่มีงบประมาณให้ใช้ความสว่างหรือแสงเข้าช่วยเพื่อทำให้ภาพดูน่าสนใจขึ้น

พื้นที่ส่วนกลาง

ลักษณะของภาพ: รูปภาพที่ลูกค้าของคุณอยู่เข้ามาใช้บริการในพื้นที่ธุรกิจของคุณ

จำนวนภาพที่ Google แนะนำ: หนึ่งภาพต่อพื้นที่ส่วนกลาง

คำแนะนำ: แสดงความหลากหลายของสิ่งอำนวยความสะดวกในธุรกิจของคุณ

ห้องพัก

ลักษณะของภาพ: รูปภาพของห้องและห้องชุดแบบต่าง ๆ ที่เปิดให้บริการ

จำนวนภาพที่ Google แนะนำ: 3 รูป

คำแนะนำ: แสดงภาพของห้องที่เหมาะกับงบประมาณของลูกค้าและมีคุณภาพที่ดี

ทีม

ลักษณะของภาพ: ภาพของทีมผู้บริหารและพนักงานของคุณ

จำนวนภาพที่ Google แนะนำ: 3 รูป

คำแนะนำ: ใช้รูปภาพที่แสดงถึงวัฒนธรรมในธุรกิจของคุณ

Google My Business Videos

คุณสามารถอัพโหลดวิดีโอเข้าไปใน Google My Business ของคุณได้ โดยวิดีโอจะต้องมีคุณสมบัติ มีดังนี้:

  • ความยาว 30 วินาทีหรือสั้นกว่า
  • ขนาด 100 MB หรือเล็กกว่า
  • ความละเอียด 720p หรือสูงกว่า

วิดีโอสามารถเพิ่มความหลากหลายให้กับโปรไฟล์ของคุณและทำให้คุณโดดเด่นท่ามกลางธุรกิจอื่น ๆ ได้ อย่างไรก็ตามไม่ต้องกังวลถ้าคุณไม่มี เพราะมันไม่เหมือนกับรูปถ่ายที่ทุกธุรกิจจะต้องมี

รีวิวใน Google My Business

หนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการได้รับรีวิวในเชิงบวกจากลูกค้าในอนาคต ก็คือ การตอบสนองต่อลูกค้าในปัจจุบันให้ดี ไม่เพียงแต่แสดงการตอบรับอย่างชื่นชมที่ลูกค้าแสดงความเห็น หรือขอบคุณสำหรับการสนับสนุนของพวกเขาเท่านั้น สิ่งเหล่านี้จะทำให้มีความเห็นในเชิงบวกของลูกค้าเกิดขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ชมที่เข้ามาดูคล้อยตามถึงสิ่งดี ๆ ที่ธุรกิจทำให้กับลูกค้า

คุณควรตอบกลับความเห็นเชิงลบเพื่อแสดงให้พวกเขาเห็นว่าคุณมีความใส่ใจ แต่ต้องแน่ใจว่าคุณมีทัศนคติที่ดีและมีความเป็นมืออาชีพมากพอที่จะตอบกลับอย่างสุภาพ ไม่เช่นนั้นอาจเกิดความเข้าใจผิดและยิ่งทำให้พวกเขาตอบกลับด้วยความเห็นที่เป็นลบยิ่งกว่าเดิม

Google My Business App 

Google My Business ยังมีบริการในรูปแบบแอพสำหรับทั้ง iOS และ Android

คุณสามารถใช้แอพเพื่อ:

อัปเดตเวลาทำการ, สถานที่, ข้อมูลการติดต่อ และคำอธิบายเกี่ยวกับธุรกิจคุณ

โพสต์สถานะและรูปภาพ

ดูข้อมูลเชิงลึกในการค้นหา

คุณไม่สามารถใช้แอพนี้เพื่อ:

ลบรายชื่อธุรกิจของคุณ

เปลี่ยนการตั้งค่า

ให้สิทธิ์การเป็นเจ้าของรายชื่อธุรกิจแก่ผู้ใช้รายอื่น

Google My Business vs. Google Places for Business vs. Google+

 หากคุณสับสนเกี่ยวกับชื่อและตัวเลือกมากมายในเครื่องมือต่าง ๆ ของ Google …คุณมาถูกที่แล้ว เพราะเรากำลังจะบอกให้คุณทราบว่า

Google Place คือ เครื่องมือที่ใช้จัดการโปรไฟล์ของธุรกิจ ซึ่ง Google ได้ประกาศเลิกใช้ไปแล้วในปี 2014

ตอนนี้ Google My Business เป็นศูนย์กลางในการจัดการข้อมูลธุรกิจของคุณที่ผลการค้นหาจะปรากฏใน Google Search, Maps และ Google+

Google+ คือ โซเชียลมีเดียของ Google (ตัวอย่างที่ใกล้เคียงที่สุดก็คือ Facebook) ซึ่ง Google กำลังจะประกาศเลิกใช้ในวันที่ 2 เมษายน 2019

ทั้งหมดนี้ คือเรื่องราวที่น่าสนใจในเรื่องของการทำการตลาดออนไลน์ที่เรามานำเสนอให้ได้ติดตามกัน เรายังมีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการตลาดออนไลน์ที่จะมานำเสนอกันอีกในตอนต่อไป อย่าพลาด ติดตามกัน

Scroll to Top