คู่มือทำ SEO ที่จะช่วยเพิ่มยอดผู้เข้าชมร้านค้าออนไลน์และยังเพิ่มยอดขายให้คุณมากขึ้นอีกด้วย แค่ทำตามคู่มือของเราทีละขั้นตอน
หลายคนทำ SEO ด้วยความเข้าใจผิด มัวแต่ไปโฟกัสที่จำนวน หรือ Volume ว่าต้องสูงมาก ถึงจะอยู่เหนือคู่แข่ง
หากจะพูดให้เห็นภาพชัดขึ้น สมมติว่าคุณขาย เสื้อผ้าสำหรับผู้ชาย คีย์เวิร์ดคำว่า “mens clothing” chart ต่อไปนี้แสดงให้เห็นว่าคุณกำลังโฟกัสที่ยอดการค้นหา (Volume)
คาดคะเนจำนวน (Volume) ของคีย์เวิร์ดคำว่า “mens clothing” จากการค้นหารายเดือนของประเทศอเมริกา อิงจาก Ahrefs Keywords Explorer
และเราลองมาดูเว็บไซต์ที่ได้อันดับสูง ๆ ด้านล่างนี้บ้าง
คุณคิดว่าคุณสามารถโค่นเว็บไซต์เหล่านี้ลงได้ไหม? ต้องบอกเลยว่า ความเป็นไปได้นั้นเป็นศูนย์ คุณคงสงสัยแล้วว่าแบบนี้คุณจะเลือกทำอะไรให้เอาชนะได้บ้าง? คำตอบก็คือ โฟกัสให้ถูกจุด ให้โฟกัสที่สินค้าแต่ละชนิด แต่ละประเภท และก็ต้องโฟกัสไปที่เว็บไซต์ประเภทไหนที่คู่แข่งน้อยที่สุด
คู่มือนี้ จะบอกทุกขั้นตอนถึงวิธีการตั้งแต่ต้นจนจบ
มาเริ่มกันเลยดีกว่า!!
เริ่มจากสิ่งแรกที่ต้องทำก่อน ก็คือไปที่ https://ahrefs.com/site-audit และหา Errors ทั้งหมดบนเว็บคุณให้เจอก่อน ดูนาย Sam Oh อธิบายว่าต้องทำยังไงบ้างได้จากคลิปด้านล่างนี้
คุณอาจมองว่าคุณยังไม่ต้องการผลลัพธ์จากการหาสิ่งนี้เท่าไหร่ แต่บอกเลยว่า คุณจะต้องการมันแน่นอน แต่เนื่องจากการตั้งค่าทั้งหมดนี้จะใช้เวลาค่อนข้างเยอะหน่อย เลยแนะนำให้เริ่มทำสิ่งนี้ก่อน
มาเช็คไปด้วยกันก่อนเลยดีกว่า
ถ้าตอนนี้คุณกำลังทำร้านค้าออนไลน์อยู่ เว็บไซต์ของคุณจะต้องใช้เป็น HTTPS ถ้าลองเช็คดูจากหลาย ๆ เว็บไซต์ คุณคงจะไม่เชื่อว่า ร้านค้าออนไลน์หลายเว็บไซต์ ไม่ได้ใช้ HTTPS
แล้ว HTTPS สำคัญขนาดนั้นเลยหรอ? มันสำคัญมาก เนื่องจากร้านค้าออนไลน์เกือบทุกร้านมีข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานอยู่ ดังนั้น การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเหล่านี้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณต้องปกป้องพอ ๆ กับข้อมูลบัตรเครดิต
และ Google เองก็ยืนยันว่า มีการจัดอันดับเว็บไซต์ผ่านข้อมูลจาก HTTPS ด้วยถึงแม้จะไม่ได้มีผลมากขนาดนั้น แต่ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่คุณควรเช็ค
วิธีการตั้งค่าที่ถูกต้องได้ ดูได้จากคู่มือนี้
มาเริ่มกันเลย!!!!
ส่วนที่ 1 การค้นหาเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ผ่านการค้นหาด้วย Keyword
วิธีการเหมือนกับการทำแคมเปญ SEO ทั่วไป คือเริ่มจากการค้นหา Keyword หากปราศจาก Keyword เหล่านี้ มันก็เหมือนกับตาบอดคลำทาง เพราะคุณจะทำ SEO อย่างไร้ทิศทาง อาศัยแค่อารมณ์ ความรู้สึกมาทำแคมเปญ SEO ซึ่งไม่มีประโยชน์อะไร
แล้วจะสร้าง Keyword เพื่อค้นหาร้านค้าอย่างไรล่ะ?
จริง ๆ มันง่ายมาก ขั้นตอนมีแค่
1. จดหน้า page ทั้งหมดที่คุณมีในเว็บของคุณออกมา
2. หาคำ หรือเขียนคำที่เหมาะสมกับแต่ละ page ออกมา
เกร็ดความรู้ ถ้าหากคุณยังไม่มีร้านค้าออนไลน์ อ่านไปเรื่อย ๆ ในคู่มือนี้มีทริคสอนตั้งค่าให้คุณได้ทำตาม
และแน่นอน ทุก ๆ ครั้ง คุณควรต้องทำการบ้าน ค้นคว้า keyword ตามเนื้อหาของแต่ละ Page ก่อน
ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่แนะนำอย่างยิ่งว่าให้ทำไม่ว่าจะมีกี่เว็บไซต์ก็ตาม แต่สำหรับเว็บไซต์ที่เป็นสำหรับร้านค้าออนไลน์นั้น หน้าเว็บไซต์ หรือหน้าเว็บเพจจะแบ่งออกเป็น 2 หน้าหลักๆ คือ (1) หน้าหมวดหมู่ และ (2) หน้าสินค้า
ซึ่งแต่ละหน้านั้นมีขั้นตอนและวิธีที่แตกต่างกันเล็กน้อย เพราะงั้นจะเริ่มจากตรงไหนดี?
1.1 จดชื่อ URL เว็บเพจทั้งหมดของเว็บไซต์คุณออกมา
โดยไปที่ URL เว็บไซต์ของคุณ /sitemap.xml
เมื่อกรอกเสร็จ หน้าตาจะออกมาประมาณนี้
หากคุณหาแผนผังหรือ Sitemap ของคุณ จาก URL ที่ใช้อยู่ไม่เจอ ให้ไปที่ URL เว็บไซต์ของคุณ/robots.txt หน้านี้จะแสดง sitemap URL ของคุณ
เกร็ดความรู้ ถ้าเห็นไฟล์ที่สกุลเป็น .gz ให้ลบออก เช่น sitemap.xml.gz ให้ลบออกเหลือแค่ sitemap.xml การที่ไม่ลบออก ตัวเว็บจะทำการดาวน์โหลด sitemap แทนการแสดงบน browser
ให้ใช้ Scraper plugin (Chrome) เพื่อแตกลิสต์ URL ออกมา โดยใช้ XPath เป็น //a[contains(text(), »{ชี่อเว็บไซต์ของคุณ}“)]/@href
หากคุณยังไม่มีเว็บไซต์ออนไลน์เป็นของตัวเอง ให้ทำตามด้านบนกับเว็บไซต์คู่แข่งที่มีอยู่จริงเท่านั้น
จากนั้นคุณสามารถเริ่มลองหา Keyword ได้จากการดูแบบโครงสร้างเว็บไซต์ หมวดหมู่ และสินค้าของคู่แข่ง
หากต้องการหาเว็บไซต์ที่เหมาะสม ลองเข้าไปที่เว็บไซต์ https://ahrefs.com/keywords-explorer จากนั้นให้ใส่ keyword ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าที่คุณคิดจะขาย ประมาณ 10 – 15 คำ แต่ต้องเช็คให้มั่นใจว่าคุณเลือกถูกประเทศ
ไปที่เมนูด้านซ้ายมือ จากนั้นเลือก “Traffic Share” และไปที่ “By Domains”
จากภาพด้านบน แสดงให้เห็นว่า Domains ไหนมีคนเข้ามาเยี่ยมชมมากที่สุดจากการค้นหา keyword ที่คุณค้นหา
ให้คุณเลือก 1 Domain จากในนี้ (พยายามอย่าเลือกแบรนด์ชื่อดังมาก) จากนั้นให้ทำตามขั้นตอนด้านบนเพื่อแตก sitemap ออกมา
จากนั้นคัดลอกผลลัพธ์ที่ได้ลง Google Sheet
เกร็ดความรู้ การเริ่มหา keyword จากเว็บไซต์คู่แข่งช่วยประหยัดเวลาในการต้นหาคีย์เวิร์ด list และยังช่วยคัดหมวดหมู่หรือสินเค้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่คุณจะขายออกด้วย
1.2 จัดลำดับความสำคัญของแต่ละ Page
เบื้องต้น เราได้แนะนำให้คุณค้นคว้าหา Keyword เริ่มจากหน้าหนึ่งไปอีกหน้าหนึ่งก่อน ซึ่งเรารู้ว่าคุณกำลังคิดว่า
« ในเว็บไซต์ผมมีหลาย Page เยอะมากนะ คุณมาคาดหวังว่าผมจะใส่ keyword ได้หมดหลาย ๆ คำและปรับเนื้อหาทีละหน้าแบบนี้ได้หมดเลยหรอ »
เราหวังให้เป็นเช่นนั้นจริง ๆ แต่เราเองก็เข้าใจได้ว่า มันอาจใช้เวลาเป็นชาติกว่าจะทำเสร็จ เพราะงั้นเราจะมาบอกทริคที่ช่วยให้คุณทำเสร็จเร็วขึ้น
คือ การปรับ Page ที่สำคัญที่สุดก่อน
ถ้าคุณติดตั้ง Tracking ร้านค้าออนไลน์ของคุณเข้ากับ Google Analytics คุณจะสามารถเห็นภาพชัดขั้นว่าหน้าไหนสำคัญที่สุด โดยให้ไปที่ Behaviour > Site Content > Landing Pages > sort by revenue (high to low)
เกร็ดความรู้ อย่าลืมแยกประเภท Report จะได้เห็นว่ายอดคนที่มาเยี่ยมจริง ๆ จากการค้นหามีจำนวนเท่าไหร่
หรือ คุณจะใช้ Report เดียวกันและ แยกดูเฉพาะ « by traffic (session) » แทนก็ได้เหมือนกัน
แต่ถ้าหากคุณไม่ได้ติดตั้ง Google Analytics ซึ่งถ้าเป็นไปได้ คุณควรติดตั้งไว้นะ หรือคุณอาจจะต้องการแค่หาข้อมูลของเว็บไซต์คู่แข่ง (เพราะคุณยังไม่ได้เริ่มติดตั้งร้านค้าออนไลน์) ให้ลองจาก Report ของ Ahrefs https://ahrefs.com/site-explorer หน้าที่อยู่ด้านบน ๆ ดู โดยไปที่ Site Explorer > ใส่ Domain ลงไป > ไปที่ Top Pages
1.3 ค้นหา และเขียน Keyword ของแต่ละหน้าออกมา
ตอนนี้คุณคงมีลิสต์หน้าเว็บไซต์ หรือ Page ที่คุณจัดอันดับแล้วว่าหน้าไหนสำคัญบ้างแล้ว ให้คุณเริ่มหา หรือเขียน Keyword ของแต่ละ Page ออกมา Keyword ที่ต้องเขียน เช่น
- Keyword หลัก (เช่น Keyword สำคัญที่คุณอยากใส่เพื่อหาหน้าเว็บนั้น)
- Long Tail Keyword คำค้นหาแบบเฉพาะเจาะจง เช่น คำใด ๆ ก็ตามที่คุณเห็นว่ามันจะดึงให้คนเข้ามาดูหน้าเว็บนี้มากขึ้น
มาเริ่มลองกันกับ Head Keyword เลยดีกว่า
ขั้นตอนแรก หา Head Keyword หรือ Keyword หลัก
คุณจะเชื่อหรือไม่ก็ตาม ต้องบอกว่า แค่คุณค้นหาจาก Keyword ที่คุณคิดไว้อยู่แล้ว นั่นเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะหา Head Keyword ทั้งนี้ คุณสามารถลองหาได้จาก https://ahrefs.com/site-explorer
เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น มาลองหา keyword สำหรับธุรกิจ Grainfather เป็นกิจการเกี่ยวกับการหมักเบียร์จากยอดข้าวแบบครบวงจร
ไปที่ Site Explorer > ใส่ URL ลงไป > Organic Keywords
เกร็ดความรู้ ตอนค้นหาใน Site Explorer ให้ตั้งเป็น « URL » ซึ่งตรงนี้จะอยู่ตรง ตัวเลือก drop-down
ลองสังเกต keywords ที่ขึ้นดู (จากรูปด้านบน) คำว่า « Grainfather » (มีคนใช้ค้นหา 2.9k ต่อเดือน) อยู่ในอันดับที่เด่นที่สุดในบรรดาทุก keyword ของหน้านี้ และท้ายที่สุด คำนี้ก็คือคำทำให้เราขายได้
แต่เดี๋ยวลองไปคลิกดูตรง SERP drop down และดูข้อมูลของหน้าเว็บที่ติด 10 อันดับแรก จากนั้น ให้เช็ค 2 สิ่งตามนี้
- หน้าเว็บที่ติดอันดับตอนนี้เป็นข้อมูลเกี่ยวกับอะไร? เป็นข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์? เกี่ยวกับหมวดหมู่สินค้า? เป็น Blog? หรือเป็นอะไรนอกเหนือจากนี้? ซึ่งตรงนี้สำคัญมาก เพราะข้อมูลนี้จะทำให้คุณสามารถหา Keyword ได้ถูกต้อง ถูกทางตามที่คุณต้องการหรือเปล่า ถ้าคุณเห็นว่า 10 อันดับแรกของหน้าเว็บทั้งหมดที่ขึ้นมาเป็น Blog ทั้งหมด คุณก็ไม่จำเป็นต้องไปใส่ keyword เกี่ยวกับพวกข้อมูลสินค้า หรือประเภทของสินค้า ให้เสียเวลาเพราะมันไม่เวิร์ก เพราะคนไม่ได้สนใจในตอนนี้
- หา Keyword ที่มีการค้นหามากที่สุด (Top keyword) เรามีการแสดงผลของ keyword ที่มีการถูกค้นบ่อย ๆ ในเมนู ภาพรวม ของ SERP และหลาย ๆ ครั้งคุณอาจจะเจอ keyword ซ้ำ ๆ กันของหน้าเว็บที่ติด 10 อันดับแรกด้วย ซึ่งอาจจะไปซ้ำกับ keyword ที่คุณกำลังคิดจะใส่เป็น head keyword ซะด้วยซ้ำ แต่ถึงอย่างนั้น บางครั้งการลองค้นหา top keywords จากตรงนี้ก็เป็นอีกวิธีนึงที่ให้คุณหา head keyword เจอเพิ่มก็ได้
เพราะแบบนี้แล้ว เรามาเริ่มทำตามกันเลย
จากรูปด้านบน ข้อสังเกตที่ได้มา มีดังนี้
- 3 อันดับแรกคือ หน้าเว็บหลักของ Grainfather ซึ่งเราจะไม่ทำให้หน้านี้มาอยู่อันดับล่าง ๆ แน่นอน
- 86% ของผลลัพธ์ที่แสดงเป็นข้อมูลเกี่ยวกับ ประเภทธุรกิจ E-Commerce หรือหน้าเกี่ยวกับสินค้า ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดี เพราะนั่นแปลว่า คนเข้ามาดูหน้านี้มีความต้องการจะซื้อของ เลยมาดูหน้านี้นั่นเอง
- Keyword ที่มีการถูกใช้ค้นหาบ่อยคือคำว่า « grainfather » ดังนั้น คำนี้ถือเป็นคำที่ดีมากที่จะใช้ head keyword
หลังจากเห็นสมควรแล้วว่า คำนี้เหมาะกับเป็น head term สำหรับหน้าเว็บหน้านี้แล้ว ก็ให้ใส่ไปใน spreadsheet ของตัวเอง
เกร็ดความรู้ หากคุณไม่สามารถทำได้ตามที่กล่าวมารึเปล่า? ลองดูวิธีนี้
บางครั้งบางอย่างอาจจะไม่ได้เข้าใจง่ายเสมอไป มาลองดูตัวอย่างจาก รายงาน Organic Keywords ตามรูปด้านล่างนี้จาก http://www.asos.com/women กัน
เราจะเห็นว่าไม่ใช่ว่า มีการแสดง keyword มากกว่า 4,000 keyword แต่คุณจะเห็นอีกว่า มี keyword ที่ถูกค้นหาพร้อมชื่อแบรนด์ เยอะมาก รวมถึง ก็มีจำนวน keyword ที่ไม่ได้หาด้วยชื่อแบรนด์แสดงด้วยแต่การค้นหานั้นน้อยมาก เช่น คำว่า « woman store »
keyword ทั้งหมดที่เห็นจากรูปด้านบนนี้ ไม่มีคำไหนเลยที่สามารถเอามาใช้เป็น head term ได้ ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่เราทำได้ มีดังนี้
- จดประเภท Organic Keywords ตามจำนวนการค้นหา (Volume)
- เฟ้นหาคำที่เหมาะที่จะเป็น head term หรือ keyword หลักของเว็บนี้ออกมา (ใช้ความสามารถของคุณให้เต็มที่)
- นำลิสต์คำที่คุณมีไปเช็คที่ SERPs และดูว่าหน้าเว็บที่ติดอันดับส่วนมากเป็นข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือหมวดหมู่สินค้า (ถ้าค้นหาคำที่ลิสต์มาไม่เจอให้ลองค้นหาคำอื่น ๆ)
- หาหน้าเว็บที่ดูคล้าย ๆ เว็บของคุณบน SERP Overview ที่มีคนเข้าไปดูเยอะที่สุด
- เปิดดู Organic Keywords ของหน้านั้น
- ทำซ้ำ ๆ ใหม่ตั้งแต่ขั้นตอนแรกลงมา
ไฟล์ GIF สั้น ๆ ด้านล่างนี้ แสดงการสาธิตขั้นตอนที่ 1,2,3,4,5
ขั้นตอนที่ 2 หาคำค้นหาแบบเฉพาะเจาะจง (Long Tail Keyword) และคำค้นหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกัน
keyword ประเภทนี้สามารถหาเจอได้หลายวิธี
สำหรับผู้เริ่มต้น Organic Keywords ถือเป็นแหล่งรวบรวมที่ดีมากสำหรับการค้นหา Keyword แบบเฉพาะเจาะจงหรือ Keyword ที่เกี่ยวข้องกัน เพียงแต่คุณต้องจำให้แม่นว่าคำที่คุณค้นหาจาก SERP นั้นคล้ายกันหรือเกี่ยวข้องกัน เช่น คำค้นหาลำดับต้นๆ (Top Ranking) นั้นเป็นคำที่เกี่ยวข้องกับ E-Commerce หรือการแยกหมวดหมู่สินค้า
จากนั้นให้เพิ่มคำใด ๆ ก็ตามที่คุณเห็นว่าเหมาะสมลงใน spreadsheet ของคุณ
แต่ก็นั่นแหละ รายงานนี้อาจมีข้อมูลเยอะแยะมากเกินไป ซึ่งแบบนี้ เราก็มีเทคนิคมาช่วย
โดยไปที่ https://ahrefs.com/keywords-explorer > จากนั้นใส่ head term ลงไป > ไปที่ SERP Overview
จากนั้นให้ Copy และ Paste หน้าเว็บที่ติดอันดับ 3 – 10 เกี่ยวกับสินค้าหรือหน้าประเภทสินค้าใน https://ahrefs.com/content-gap จากนั้นให้ตั้งค่าตามข้อด้านล่างนี้
- เว้นช่อง « But the following target doesn’t rank for » ให้ว่างไว้ (สำหรับตอนนี้)
- ติ๊กถูกช่อง « At least one of the targets should rank in top 10»
- เลือก « at least 2 of the below targets » จาก drop down เมนู « Show keywords that _ rank for »
ผลลัพธ์ที่ได้ควรเป็นตามนี้
วิธีนี้ไม่เพียงแต่ช่วยให้คุณหา Keyword หลาย ๆ คำเจอ แต่ยังช่วยให้คุณหาคำที่มีความหมายคล้าย ๆ กันได้อีกหลายคำเพื่อมาวางรวมกัน เช่น « all on one brewing system »
จากนั้นเอาคำที่ได้มาลงใน spreadsheet ของคุณ
จากนั้นทำขั้นตอนทั้งหมดซ้ำสำหรับแต่ละหน้าเว็บไซต์ของคุณ
ส่วนที่ 2 การทำ SEO บนเว็บไซต์
หลังจากที่เราหา keyword และคำศัพท์สำหรับปรับลงแต่ละหน้าได้แล้ว ตอนนี้เราต้องเริ่มลงมือนำข้อมูลที่เราเจอไปใช้ต่อ
2.1 ปรับแต่ง Meta Titles, Descriptions, และ H1
เว็บ E-Commerce ส่วนมากใช้ Template เพื่ออธิบาย Meta Tag หน้าตาจะออกมาคล้ายกันประมาณนี้ ตามรูป
เหตุผลง่าย ๆ ที่หลายเว็บไซต์ใช้ Template เขียนอธิบายหัวข้อเอาแทน นั่นเพราะเว็บนั้น ๆ มีหลายหน้า ตั้งแต่ สิบหน้า บางทีก็ร้อยกว่า หรือพันกว่าหน้าในเว็บไซต์นั่นเอง และการนั่งเขียนหัวข้อ หรือเนื้อหาแบบที่ไม่ใช้ Template หรือแบบที่คิดและเขียนเองใหม่ตามแต่ละหน้าเว็บมันเป็นงานที่น่าเบื่อจนทำให้หลอนเลยก็ได้
แต่ปัญหาก็คือ
การใช้ Template ตามที่เค้ากำหนดมามันไม่ควรทำ เพราะการเลือกทำแบบนี้เราจะไม่สามารถปรับแต่งข้อความแต่ละหน้าในเว็บไซต์ได้
เพราะแบบนี้ เราจึงแนะนำให้ลองด้วยวิธีนี้แทน
ให้พยายามใช้ความพยายามทั้งหมดที่คุณมีเขียน tag ที่สามารถปรับได้ออกมาสำหรับหน้าเว็บต่าง ๆ ที่สำคัญ ๆ จากนั้นจึงค่อยใช้ Template กับหน้าอื่น ๆ ที่สำคัญรองลงมา
ถึงอย่างนั้น เราไม่แนะนำให้ใช้ Template เดียวกันกับทุก ๆ หน้าของเว็บไซต์ อยากให้คุณสร้าง Template ที่เป็นของคุณเองสำหรับแต่ละหน้าเว็บของคุณ ไม่ว่าจะเป็นหน้าประเภทสินค้า หรือ หน้าสินค้าภายในประเภทนั้น ๆ หรือยี่ห้อสินค้า เป็นต้น
ตัวอย่างเช่น
ร้าน Malt Miller ขายเมล็ดพืช « Hops » 85 ชนิด ที่แตกต่างกัน และขายในรูปแบบที่บรรจุในซองไนโตรเจนฟลัชสุญญากาศ ปริมาณ 100 กรัม
ด้านล่างนี้เป็นคำอธิบายหัวข้อแบบย่อ และคำอธิบายเนื้อหาที่น่าพอใจสำหรับสินค้าแต่ละของสินค้าประเภทนี้
Buy {HOP NAME} Hops (100g) — Vacuum Packed for Freshness | The Malt Miller
ซื้อ (ชื่อสินค้า) เมล็ด « Hops » จาก The Malt Miller – ส่งฟรี เมล็ดพืช HOPS ทั้งหมดที่เราขาย บรรจุใส่ซองสุญญากาศเพื่อความสดใหม่ จัดส่งวันถัดไปหลังได้รับออร์เดอร์ก่อนเวลาบ่ายโมงตรง
และตัวอย่างด้านล่าง เป็นหน้าตาคำอธิบายของสินค้าอื่น ๆ ที่แตกต่างกัน ที่ควรออกมา
Buy Citra Hops (100g) — Vacuum Packed for Freshness | The Malt Miller
ซื้อ Citro hops ที่ The Malt Miller – ส่งฟรี เมล็ดพืช HOPS ทั้งหมดที่เราขาย บรรจุใส่ซองสุญญากาศเพื่อความสดใหม่ จัดส่งวันถัดไปหลังได้รับออร์เดอร์ก่อนเวลาบ่ายโมงตรง
Buy Centennial Hops (100g) — Vacuum Packed for Freshness | The Malt Miller
ซื้อ Centennial Hops ที่ The Malt Miller – ส่งฟรี เมล็ดพืช HOPS ทั้งหมดที่เราขาย บรรจุใส่ซองสุญญากาศเพื่อความสดใหม่ จัดส่งวันถัดไปหลังได้รับออเดอร์ก่อนเวลาบ่ายโมงตรง
คุณอาจจะต้องเขียน Template ที่แตกต่างกันออกมาสำหรับใช้กับแต่สินค้าที่แตกต่างกัน
แต่ก็เหมือนที่บอกไปว่า คุณควรเขียนคำอธิบายของคุณใหม่เองสำหรับหน้าเว็บใด ๆ ก็ตามคุณมองว่าสำคัญออกมา
คำถามคือ หน้าไหนสำคัญที่สุดล่ะทีนี้ ซึ่งหน้าที่สำคัญที่สุดก็คือ หน้าที่มี keyword ซ้ำกัน และติด 10 อันดับแรกนั่นเอง
สรุปคือ กรอง keyword เหล่านี้ออกมาใส่ spreadsheet ของคุณ และเริ่มงานของคุณได้เลย
ข้อต่อไปนี้ เป็นสิ่งสำคัญที่อย่ามองข้าม
- เพิ่ม keyword หลักสำคัญ ๆ ไปด้วย
- ใช้ keyword เฉพาะเจาะจงอย่างหลากหลาย (ต้องดูเหมาะกับบริบทนั้น)
- เพิ่ม action words ลงไป เช่นคำว่า ซื้อเลย คลิกเลย ดูเพิ่มเติม ขายเลย ฟรี เป็นต้น
- บอกวิธีการส่งสินค้าของคุณ (ส่งฟรี, ส่งวันถัดไป,คืนสินค้าฟรี เป็นต้น)
- ปรับแต่ง CTR ที่ทำให้คนอยากกดเข้ามาดู
เคล็บลับอย่างมือโปร ทดลองใช้คำอธิบายหัวข้อและคำอธิบายเนื้อหาโดยย่อแยกรูปแบบกัน (ตัวอย่างเช่น ใส่ราคาสินค้าเพิ่มเข้าไปด้วย) เพื่อเพิ่มยอดคนกดเข้าไปมากขึ้น
แล้ว H1 คืออะไร?
H1 หรือหัวข้อใหญ่ 1 นั้นง่ายมาก เพียงแค่เขียนหัวข้อสำหรับสินค้าหมวดหมู่นั้น (ในหน้าหมวดหมู่สินค้า) และเขียนหัวข้อของสินค้านั้นก็พอ (ในหน้าสินค้า)
หากคุณทำการบ้านเหล่านี้มาดี หัวข้อ H1 ที่คุณจะใช้ก็มาจาก keyword ที่คุณต้องการโฟกัสนั่นเอง
เพราะอย่างนั้น ในส่วนนี้ ไม่มีความจำเป็นต้องทำอะไรซับซ้อน เพียงแค่ต้องรอบคอบว่าคุณเขียน H1 ไว้ในทุกหน้าของเว็บ
2.2 ปรับแต่ง URLs ของคุณ
Slugs URL ของเว็บไซต์ E-Commerce ส่วนใหญ่อาจดูยุ่งๆ งงๆ เช่นเว็บจาก Topshop ด้านล่างนี้
www.topshop.com/en/tsuk/category/clothing-427/t-shirts/N-82zZqz6Zdgl
ซึ่ง url ที่ไม่เป็นระเบียบแบบนี้ควรหลีกเลี่ยง คุณเองก็คงต้องการให้ URL slugs หรือ permalinks ของคุณให้ดูสะอาดตา อ่านออกง่ายที่สุดเท่าที่จะทำได้
ซึ่งสิ่งนี้คือสิ่งแรกที่อย่างให้คุณเริ่มทำก่อน
– ชื่อ domain.com/ชื่อหมวดหมู่สินค้า (ในหน้าหมวดหมู่สินค้า)
– ชื่อ domain.com/ชื่อหมวดหมู่สินค้า/ชื่อหมวดหมู่สินค้าย่อย (ในหน้าหมวดหมู่ย่อย)
– ชื่อ domain.com/ชื่อหมวดหมู่สินค้า/ชื่อหมวดหมู่สินค้าย่อย/ชื่อหมวดหมู่สินค้าย่อย (ในหน้าหมวดหมู่ย่อย ๆ)
– ชื่อ domain.com/ชื่อหมวดหมู่สินค้า/ชื่อหมวดหมู่สินค้าย่อย/ชื่อหมวดหมู่สินค้าย่อย/สินค้า (ในหน้าสินค้า)
ง่ายกว่าที่คิดใช่ไหมล่ะ
เคล็ดลับเล็กน้อย คุณจะเห็นได้ว่าระบบการจัดการข้อมูลถูกทำให้ยุ่งเหยิงตั้งแต่ค่าเริ่มต้นแล้ว ตัวอย่างเช่น « WooCommerce เพิ่ม /ประเภทสินค้า/ เข้าไปกับ URL สำหรับทุกหน้าที่เป็นหน้าหมวดหมู่สินค้า ซึ่งนั่นทำให้มันยิ่งดูยุ่งเหยิง มี plugins แนะนำที่คุณสามารถกำจัดปัญหานี้ได้ แต่จากใจจริงเลยว่า บางครั้งมันก็ทำให้ดูน่ารบกวนแทนที่จะช่วยให้ดีขึ้นในบางครั้ง เพราะเช่นนั้น คำแนะนำของเราคือ อย่าไปกังวลเยอะมากในเรื่องนี้ ยกเว้นว่ามันเริ่มดูรกจนไม่น่าดูเกินไปแล้ว
ตัวอย่างจาก The Malt Miller:
- com/ingredients/(category page)
- com/ingredients/hops/(subcategory page)
- com/ingredients/hops/whole/(sub‐subcategory page)
- com/ingredients/hops/whole/citra/(product page)
พยายามทำให้ดูสะอาดตาเป็นพอ เช่นแบบนี้ก็ดูโอเค
- com/ingredients/hops/best‐citra‐hops‐2018/
แบบนี้อาจดูเหมือนเป็น URL slug สำหรับ blog post ซึ่งอาจทำให้ไม่มีคลิกเข้ามา
บางที่อาจเลือกให้หน้าตาเป็นแบบนี้
- com/ingredients/hops/whole‐hops/whole‐citra‐hops/
การใช้คำซ้ำแบบนี้ ไม่มีผลกับการทำให้ SEO แต่มันยิ่งทำให้ดูรกตามากขึ้น
ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับเพิ่มเติมการเขียน E-Commerce URLs แบบมีประสิทธิภาพ
- พยายามให้สั้นกระชับและภาษาไม่แข็งทื่อให้ได้มากที่สุด
- ใส่ keyword สำคัญ หลัก ๆ เข้าไปด้วย
- สร้างลำดับความสำคัญของหน้าและเนื้อหาของหน้านั้นให้ชัดเจน
- ใช้สัญลักษณ์ (-) เพื่อแยกคำออกมา อย่าใช้สัญลักษณ์ underscores, เว้นว่าง, หรือตัวอักษรอื่น ๆ
- ตรงไหนที่ไม่จำเป็น เลี่ยงการใช้ URL parameters
2.3 เขียนคำอธิบายสินค้าและหมวดหมู่สินค้าด้วยคำที่เป็นของคุณเอง
ลองสังเกตร้านค้าปลีกชื่อดังหลาย ๆ ร้าน คุณจะเห็นว่าร้านค้าจะใส่คำอธิบายที่เขียนขึ้นเองตามหมวดหมู่สินค้าในหน้านั้น ๆ
และในหน้าสินค้า
หน้า Camis & Vests จากแบรนด์ Topshop.
หน้าสินค้า Broderie Trim Camisole Top จากแบรนด์ Topshop
มีด้วยกัน 2 เหตุผลที่แบรนด์เลือกทำแบบนี้
- การเขียนแบบนี้ช่วยให้คนที่เข้ามาเยี่ยมชมหน้านี้ได้ทราบถึงสินค้าหรือหมวดหมู่ที่เข้ามาดู
- การเขียนแบบนี้ช่วยให้ Google เข้าใจมากขึ้นว่าหน้านี้เกี่ยวกับอะไร
อย่าลืมว่า Google จัดอันดับหน้าเว็บจาก อัลกลอริทึม ถ้าหากไม่มีคำอธิบายเนื้อหาบนหน้าเว็บนั้น ๆ จะยิ่งทำให้
อัลกลอริทึมเข้าใจเรายากขึ้นไปด้วย
เพราะฉะนั้น แนะนำว่าให้เพิ่มคำอธิบายที่คุณเขียนขึ้นเองเข้าไปในหน้า หมวดหมู่สินค้า และหน้าสินค้าด้วย
และคำว่า “ให้คุณเขียนขึ้นเอง” นั่นหมายถึง มันต้องเป็นคุณเขียนขึ้นเองจริง ๆ ที่มีเอกลักษณ์ และแตกต่างจริง ๆ
ห้าม Copy และ Paste คำอธิบายสินค้าจากเว็บไซต์อื่น ๆ ให้คุณเขียนขึ้นมาด้วยตัวคุณเอง
ต่อไปนี้เป็นแนวทางที่แนะนำ
- เพิ่ม keyword หลักที่คุณต้องการพุ่งเป้าในคำอธิบายด้วย
- ใส่คำโปรย หลาย ๆ คำลงไปด้วย คำที่มีความหมายคล้าย ๆ กัน และ Keyword ที่มีความหมายคล้าย ๆ กัน
- คำที่เขียนลงไปคนที่เข้ามาเยี่ยมชมหน้านั้นต้องสามารถอ่านและเข้าใจได้
- พยายามสื่อข้อความไปถึงผู้ที่มาเยี่ยมชมหน้าเว็บนั้นถึงสิ่งที่เขาอยากจะรู้จากหน้านั้น
- อย่าเวิ่นเว้อ พยายามให้คำอธิบายสั้นกระชับ และไม่ดูแข็งทื่อ
ถ้าคุณคิดว่าการต้องมานั่งเขียนแบบนี้ให้ครบทุก ๆ หน้าทำให้คุณรู้สึกว่าเยอะจนอยากจะร้องไห้ล่ะก็ แนะนำว่า
พยายามเริ่มจากหน้าที่สำคัญ ๆ ก่อน
เกร็ดความรู้ มีร้านค้า E-Commerce หลายร้านที่ขายบน Amazon และใช้คำอธิบายสินค้าเหมือน ๆ กันในทุก platform ที่มีด้วย ลองคิดดูว่า รูปแบบไหนที่จะทำให้ติดอันดับได้มากที่สุด
2.4 ใส่ « Schema Markup » เพิ่มเข้าไป
คุณอยากให้หน้าตาของหน้าสินค้าของคุณแสดงขึ้นบน SERPs แบบไหน?
ดูเหมือนเป็นการให้เลือกคลิกแบบไม่คิดเยอะใช่ไหม? ภาพหลัง (ที่มี Schema markup) ไม่เพียงแต่ดูน่าคลิก น่าสนใจแล้ว แต่ยังเป็นการช่วยให้ผู้ที่ค้นหาได้รับข้อมูลเพิ่มขึ้น การทำแบบนี้เป็นการเพิ่มให้คนเข้ามาคลิกมากขึ้นถึง 30% เลยทีเดียว
ซึ่งนั่นหมายถึง จำนวนคนที่มาเยี่ยมชมเว็บไซต์มีมากขึ้น ทำให้ขายของได้มากขึ้นนั่นเอง
และยิ่งไปกว่านั้น Google ก็อ่านข้อมูลเหล่านี้เพื่อให้เข้าใจเนื้อหาของเว็บคุณมากขึ้น (เช่น หน้านี้คือหน้าของสินค้า หรือหน้าของหมวดหมู่สินค้า หรือหน้าเกี่ยวกับ blog เป็นต้น ซึ่งตรงนี้สำคัญมากสำหรับการทำ E-Commerce SEO)
แต่การทำ Schema markup นั้นอาจซับซ้อนนิดหน่อย เพราะเช่นนั้นเรามาเริ่มจาก พื้นฐานก่อน
หน้าสินค้า
« เพิ่ม markup บนหน้าสินค้าของคุณสิ Google จะสามารถแสดงผลลัพธ์ข้อมูลสินค้าของคุณได้อย่างละเอียดเมื่อมีคนค้นหาเข้ามา รวมถึง เมื่อคนกดหารูปก็จะเจอ คนที่เข้ามาค้นหาจะเจอ ราคา สถานะสินค้า และเรตติ้งจากรีวิวได้จากการพิมพ์ค้นหาด้วย »
Webmaster Guidelines, Google
คุณสามารถใช้ทำตามได้จาก https://schema.org/Product
มีคุณสมบัติหลายประการที่คุณสามารถใส่เพิ่มเข้าไปในหน้า schema properties ได้แต่ต่อไปนี้จะเป็นคำที่คนนิยมใช้มากที่สุด และเป็นคำที่เราเองก็แนะนำให้ใส่เพิ่มเข้าไปหากเป็นหน้าเว็บเกี่ยวกับสินค้า
นี่คือหน้าตาที่ควรจะเป็น
Grainfather – All in one brewing system
Rated 4.3/5
based on 11 customer reviews
$1,000.00
In stock
Product description:
The Grainfather is an all-in-one all-grain brewing system. It’s great!
สำหรับหน้าหมวดหมู่
หน้าหมวดหมู่สินค้า คือหน้าที่แสดงถึงสินค้าที่แตกต่างกัน หรือ สูตรทำอาหาร วีดีโอ หรือรูปแบบอื่น ๆ หมวดหมู่แต่ละประเภทควรต้องทำ mark up โดยใช้ schema.org ประเภทที่เกี่ยวโยงกัน เช่น schema.org/Product สำหรับหน้าหมวดหมู่สินค้า แต่อย่างไรก็ดี หากสินค้าหนึ่งสินค้าใดทำการ mark แล้ว สินค้าทั้งหมดก็ต้องทำด้วย และเช่นเดียวกัน แบบนี้เป็นประเภทหน้าที่เชื่อมโยงกัน การ mark สินค้าแต่ละอันไม่ควรผูกเข้ากับหน้ารายละเอียดที่ไม่ได้อยู่หมวดหมู่เดียวกัน »
Webmaster Guidelines, Google
อ่านแล้วงงหรอ??
คุณสามารถตีความออกมาได้ตามความเข้าใจ แต่ต่อไปนี้เป็นที่เราแนะนำตามที่เราตีความ
- คุณสามารถ Mark up สินค้าได้มากกว่า 1 สินค้าในหน้าเว็บ 1 หน้า
- กรณีที่คุณ mark up สินค้าใดสินค้าหนึ่งไปแล้ว คุณต้องทำแบบนี้กับทุกสินค้า
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของหน้าหมวดหมู่สินค้า ที่ Google ให้ทำแบบนี้ น่าจะเป็นด้วยว่า การทำแบบนี้ช่วยให้ Google ถอดรหัสประเภทของหน้าเว็บหมวดหมู่นั้น ๆ ออกได้
คุณอาจไม่เห็นว่ามี ข้อมูลมากมาย แสดงขึ้นบน SERPs สำหรับหน้าเว็บประเภทหมวดหมู่
และด้วยเหตุนี้ เพื่อให้ง่ายขึ้น เราจึงแนะนำให้ mark up ทุกหน้าที่เป็นหน้าหมวดหมู่
เกร็ดความรู้ หากคุณใช้ breadcrumbs กับเว็บของคุณ (ซึ่งเราแนะนำให้ใช้) คุณก็สามารถเพิ่ม Schema markup เข้าไปได้อีกด้วย
Google บอกไว้ตามนี้ว่า
«Google Search ใช้ breadcrumbs makeup เพื่อดูหาข้อมูลต่าง ๆ และแยกประเภทของข้อมูลหน้าเว็บนั้น ๆ จากส่วนของตัวเนื้อหาบนเว็บ ดังนั้นข้อมูลจากตรงนี้จะแสดงขึ้นเมื่อมีการค้นหา »
ส่วนที่ 3 การทำ SEO ด้านเทคนิคสำหรับเว็บไซต์ E-commerce
เว็บ E-Commerce มีแนวโน้มการเกิดปัญหาด้านเทคนิคของ SEO บ่อยกว่าแบบอื่น
ส่วนนี้ เราจะอธิบายคร่าว ๆ ว่าปัญหาที่เกิดมันคืออะไร และจะแก้อย่างไร
ต้องบอกก่อนว่า ส่วนนี้จะเกี่ยวข้องกับ data หรือตัวเลขจาก Site Audit เยอะหน่อย เพราะฉะนั้น ถ้าพร้อมแล้ว เริ่มกันเลย
3.1 แก้ปัญหาเนื้อหาที่เกิดการทำซ้ำขึ้น
ไปที่ https://ahrefs.com/site-audit > internal pages > content quality
จากนั้นคุณจะได้ออกมาหน้าตาประมาณนี้
ดูงง ๆ หน่อยใช่ไหม แต่เดี๋ยวอธิบายให้เข้าใจ
ภาพที่แสดงข้อมูลสีเขียวสีส้มลายกระเบื้องนี้ แสดงให้เห็นถึงกลุ่มก้อนของข้อมูลที่ซ้ำกันบนเว็บของคุณ
ลายกระเบื้องเขียว ๆ นี้ไม่มีอะไรที่ต้องไปกังวลอะไร เพราะฉะนั้น ตอนนี้เราจะไม่สนใจตรงนี้ แต่เพราะสีส้มที่แสดงหมายถึงกลุ่มก้อนของข้อมูลที่ซ้ำกัน เราจะมาสนใจตรงนี้กันแทนเพราะมันแสดงให้เห็นว่า มีปัญหาเกิดขึ้นในส่วนนี้
เพราะฉะนั้น ให้กดไปที่แต่ละชิ้นของลายกระเบื้องสีส้ม จากนั้นดูว่ามันคืออะไร
สังเกตว่า จะมี 2 หน้าปรากฎขึ้นบน browser tabs ด้านล่างเป็นไฟล์ GIF ที่เรากดสลับกันให้ดูว่าแตกต่างกันอย่างไร
คุณหาความแตกต่างของ 2 หน้านี้เจอไหม? ถูกต้องแล้ว เราเองก็หาไม่เจอ นั่นก็เพราะ 2 หน้านี้มันเหมือนกันเปี๊ยบเลยน่ะสิ มีเพียงแค่ URL ที่ไม่เหมือนเดิมแค่นั้นเอง
นี่คือ URLs ของทั้งสองหน้า
- https://www.spoiledbrat.co.uk/collections/new-arrivals/products/i-scream-nails-pink-limousine-nail-polish
- https://www.spoiledbrat.co.uk/collections/womens-wear/products/i-scream-nails-pink-limousine-nail-polish
ให้สังเกต จุดแตกต่างของลิงค์ด้านบนคือที่ทำไฮไลต์ไว้
ความจริงแล้วสองหน้านี้ไม่ควรจะแสดงให้เห็นได้ เพราะฉะนั้นให้ลบออกและให้ส่งหน้าใดหน้าหนึ่งในสองหน้านี้ไปที่หน้าอื่นแทน
แต่บางครั้ง การที่หน้าเว็บมีสองหน้าคล้ายคลึงกันอาจจะมีเหตุผลก็ได้เช่นกัน
และถ้าเป็นเช่นกัน canonical link คือเพื่อนที่ดีที่สุดของคุณในจุดนี้ เพราะมันจะช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่า Google จะจัดทำดัชนีขึ้นมาจากแค่หน้าใดหน้าหนึ่งเท่านั้น
คุณสามารถเพิ่ม « noindex, follow » ไปที่ Meta Robots Tag ได้เช่นกัน
ซึ่งนี่ก็เป็นข้อชี้แนะที่ Google ไม่ได้ละเลย ถ้าหากว่าเจอ Tag นี้
การเพิ่ม noindex ตามด้วย meta robots tag เข้าไปที่หน้าเว็บของคุณที่เกิดปัญหาจะช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าข้อมูลที่ซ้ำจะถูกแก้ไขออกไปจากตัวชี้วัดทันทีที่ Google ท่องไปบนเว็บและเจอ นั่นแปลว่า ที่คุณทำแบบนี้คือคุณต้องการให้ Google ไม่ต้องจัดทำดัชนีอจากตรงนี้
เพราะฉะนั้น อย่าไปบล็อกหน้าเว็บผ่าน robots.txt จนกว่าหน้าเว็บนั้นจะหายไปเองจากดัชนีชี้วัด
หลังจากนั้น คุณจึงสามารถบล็อคได้เพื่อให้มั่นใจว่า
- ข้อมูลซ้ำเหล่านี้จะไม่กลับมา
- คุณไม่ต้องเสีย crawl equity
เกร็ดความรู้ เพิ่ม meta robots tag เข้าไป จากนั้นตั้งค่า « noindex, follow » ทุกหน้าที่เกิดปัญหาขึ้นบนร้านของคุณศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องวิธีการใช้ meta robots tag สามารถเข้าไปดูได้ที่ YOAST
3.2 หาหน้าเว็บที่มีปัญหาการคลิกกลับไปที่หน้าหลักไม่ได้
ถ้าคุณต้องการให้ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมหน้าหมวดหมู่หรือสินค้าบนเว็บของเราสามารถเข้าไปดูได้ง่ายและเข้าไป อ่านได้ กฎทั่วไปที่คุณต้องรู้คือ ห้ามให้หน้า Home page หรือหน้าหลักเข้าถึงได้ยากจนต้องคลิกเกิน 3 ครั้งขึ้นไป
รูปแบบโครงสร้างที่ดีควรต้องเป็น = homepage > categories > subcategoies > products
รูปแบบโครงสร้างที่ไม่ดีจะเป็น = homepage > category > caegory etc.
ถึงกฎนี้จะเป็นกฎที่ดีขนาดไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่งดีกับเว็บไซต์รูปแบบ E-Commerce แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปได้
เสมอไปว่าจะสามารถใช้กฎนี้ได้จริง สำหรับเว็บไซต์ที่ค่อนข้างใหญ่
เพราะฉะนั้น กฎที่เรามองว่าดีกว่าก็คือ
ให้เช็คว่า หน้าเว็บที่สำคัญ ๆ ต้องไม่มีการคลิกเกิน 3 ครั้งเพื่อกลับไปหน้าหลัก เมื่อคลิกเข้ามาจากหน้าหลักที่
เข้ามาครั้งแรก
แต่เราจะหาได้ยังไงว่าหน้าไหนต้องคลิกไปแล้วกี่ครั้งถึงจะเจอ?
ให้ไปที่ https://ahrefs.com/site-audit > data explorer > depth is greater than 3 > Is valid (200) internal HTML page = Yes
บอกเลยว่า มันคุ้มค่าแน่นอนกับการตรวจสอบหน้าเหล่านี้ และปรับหาโครงสร้าง internal linking ให้การ
คลิกกลับไปที่หน้า Homepage นั้นไม่ต้องคลิกเยอะจนเกินไป
ต่อไปนี้เป็นวิธีการหาหน้าที่เป็นปัญหาแบบนี้ (หน้าที่ไม่มี internal links ชี้กลับไปที่หน้านั้น)
https://ahrefs.com/site-audit > Data Explorer > Inlinks = 0 > Is valid (200) internal HTML page = Yes
เห็นได้ว่ามีทั้งหมด 398 หน้า
เพราะฉะนั้นตีความได้เลยว่า มันคุ้มค่ากับการนั่งแก้ไขเรื่องนี้แน่นอน
เคล็ดลับอย่างมือโปร ให้โฟกัสไปที่หน้าที่ไม่สามารถจัดเป็นดัชนีชี้วัดได้ก่อน เพราะหน้าพวกนี้เป็นหน้าที่มีผลต่อ SEO
3.3 หาข้อผิดพลาดที่เป็น Keyword Cannibalization
« keyword cannibalization เกิดขึ้นเมื่อเว็บไซต์หนึ่ง เช่น เว็บ ahrefs.com พลาดไปจับกลุ่ม keyword เดียวกันจากโพสต์หลาย ๆ โพสต์หรือจากหลาย ๆ หน้าเว็บ »
Joshua Hardwick Head of Content, Ahrefs
นี่คือปัญหาที่เว็บไซต์ E-Commerce หลาย ๆ เว็บไซต์ต้องเจอ โดยเฉพาะเว็บไซต์เก่า ๆ และนี่เป็น วิธีการค้นหาและแก้ไขปัญหา keyword cannibalization ฉบับสมบูรณ์
ส่วนที่ 4 กระบวนการทำลิงค์จากเว็บอื่นให้เชื่อมโยงมาถึงเว็บเรา สำหรับ E-Commerce เว็บไซต์
การเชื่อมโยงลิงค์จากหน้า homepage ของคุณ หน้าสินค้า และหน้าหมวดหมู่สินค้าเป็นเทคนิคที่ไม่ค่อยมีคนเห็นว่าดีเท่าไหร่ แต่ถึงจะว่าอย่างนั้น มันก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่แย่อะไรขนาดนั้นหากว่ามันยากสำหรับคุณ มันก็ต้องยากสำหรับคู่แข่งคุณด้วย ซึ่งการทำแบบนี้ บอกเลยว่า จะทำให้การติดอันดับที่ 1 ของเว็บคุณนั้นมีความเป็นไปได้น้อยลง แต่คุณก็จำเป็นต้องมีลิงค์ของคุณอยู่บนเว็บคนอื่นอยู่ดี เพราะฉะนั้น มีอยู่หลายทางที่คุณจะทำได้
4.1 หา Sites Linking จาก Homepage ของคู่แข่งคุณ
ลองจินตนาการดูว่ามันจะดีแค่ไหน ถ้ามันมีทางหาเว็บไซต์ที่เชื่อมไปที่หน้าคู่แข่งของคุณได้หลาย ๆ ทาง ซึ่งมันก็คงจะดีมากถ้าคุณสามารถทำแบบเดียวกันกับเว็บคุณจริงไหม แน่นอนว่าจริง! นี่คือวิธีแนะนำ
ไปที่ https://ahrefs.com/link-intersect > ใส่ชื่อ homepages ของคู่แข่งลงไป
เกร็ดความรู้ ตรง dropdown ให้เลือกเป็น « URL » สำหรับทุกเว็บไซต์ที่จะใส่ เพราะมันหมายถึงว่า คุณจะเห็นเฉพาะลิงค์ที่ไปถึงหน้า homepage เท่านั้น
คำแนะนำ ถ้าคุณไม่มั่นใจว่า การสร้างลิงค์จากคอมเมนต์เว็บบอร์ดของคู่แข่งคุณมีใครบ้าง ให้ไปที่ https://ahrefs.com/site-explorer > ใส่ domain คุณ > ใส่ domain คู่แข่งคุณ
แนะนำให้เพิ่มคู่แข่งเข้าไปซัก 2 ที่ จากนั้นให้เริ่มจากการเลือก « any of the below targets » จากนั้น link intersect จะแสดงขึ้นมาว่าเว็บไหนมีถูกเชื่อมโยงเข้ากับคู่แข่งของคุณ สิ่งที่คุณต้องทำก็คือ ค้นหาจากผลลัพธ์ที่ขึ้นมาที่สามารถไปทำเหมือนกันกับแหล่งเดียวกันได้ เช่น
Forums :
Link Page :
แหล่งเฉพาะกลุ่มที่เกี่ยวข้อง และเพราะเว็บเหล่านี้สามารถเชื่อมโยงไปที่หน้าคู่แข่งได้หลายทาง มันจึงง่ายมากที่จะให้เชื่อมมาหาลิงค์คุณได้ด้วย
4.2 ไปที่หน้า « Where to Buy » ของบริษัทผลิตสินค้า
บริษัทผลิตสินค้าหลายที่มีหน้าเว็บที่มีหน้าตาประมาณนี้
เป็นข้อมูลที่มีการลิสต์ร้านค้าที่เก็บของไว้ (ทั้ง online และ offline) ซึ่งเค้าก็มีการเชื่อมเว็บไปตามที่ลิสต์ไว้ด้วย
วิธีนึงที่สามารถหาหน้านี้ได้คือ หาแบรนด์ที่คุณเก็บของไว้ใน Google ตามด้วย {manufacturer whose product(s)
you stock} และใส่หัวข้อข้างในว่า “where to buy” ORintitle:“stockists”
จากนั้นให้เช็คผลลัพธ์ที่ได้ออกมาที่เกี่ยวข้องกัน และดูว่ามีลิสต์ หรือลิงค์เพื่อเข้าไปที่หน้า สต๊อก ว่ามีของเหมือนเราไหม หากมี ให้ไปดูหน้านั้นจากนั้น ส่งคำขอไปเพื่อทำการเพิ่มสินค้า
คุณสามารถทำได้ด้วยการใช้ ahrefs ด้วยเช่นกัน โดยไปที่ https://ahrefs.com/site-explorer > ใส่ domain ของคุณแข่ง > Backlinks
จากนั้นเข้าไปค้นหาคำ อย่างเช่น « stockists » หรือ « where to buy » ในหน้า search field
หากมีความเกี่ยวข้อง เชื่อมโยงกับเรา ให้ไปดูหน้านั้นและส่งคำขอเพื่อเพิ่มไป
4.3 เทคนิคการทำ « International Alternative »
เทคนี้นี้เวิร์คยังไง ไปลองทำดูกัน
- หาคู่แข่งในตลาดที่แตกต่างกัน เช่น ตลาดคู่แข่งที่ขายในประเทศอเมริกา หากคุณทำตลาดอยู่ประเทศอังกฤษ
- หา Blog ที่มีการเขียน การพูดถึง หรือแนะนำเกี่ยวกับคู่แข่งคุณ
- ส่งคำขอให้เค้าแปะลิงค์คุณไว้ในหน้านั้น ชี้แจงประมาณว่า « มันอาจเป็นประโยชน์กับคนอ่านที่อยู่ทางฝั่งอังกฤษด้วยเช่นกัน»
มาดูตัวอย่างแบรนด์ The Malt Miller กัน
แบรนด์นี้ขายอุปกรณ์บ่มเบียร์และส่งขายในประเทศอังกฤษ ส่วน Northen Brewer ขายอุปกรณ์การบ่มเบียร์และส่งขายในประเทศอเมริกาง
เมื่อได้ข้อมูลแล้ว ให้เราตามหา blog ที่มีการเขียนแนะนำ Northern Brewer และดูว่ามีเนื้อหาในสามารถแปะลิงค์เราเข้าไปให้คนอ่านสามารถมีไอเดียอ่านเพิ่มเติมได้ เพื่อเพิ่มตัวเลือกประเทศอื่น ๆ ให้คนอ่านด้วย
ไปที่ https://ahrefs.com/content-explorer > « from {brand} »
ภาพด้านล่างแสดงผลลัพธ์ของการค้นหาคำว่า « northern brewer » มีทั้งหมด 1800 ผลลัพธ์
ใช่ว่าทุกผลลัพธ์ที่แสดงจะเกี่ยวข้องกัน อาจมีบางผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกันเท่านั้น
ตัวอย่างเช่น รูปด้านล่างเป็น blog post เกี่ยวกับการพูดถึงการบ่ม cider และมีลิงค์แปะไปที่ Northern Brewer: และมันเป็นโพสที่เขียนดีมากเกี่ยวกับขั้นตอนการบ่ม cider ส่วนผสม และอุปกรณ์ที่คุณต้องใช้
แต่สำหรับคนอ่านที่มาจากประเทศอังกฤษ ถ้ากดเข้าไปที่เว็บนั้นก็จะไปที่ปลายทางที่ไม่ได้ส่งมาประเทศอังกฤษ เพราะ
ฉะนั้นเพื่อเป็นทางเลือกเพิ่มเติมให้ผู้อ่านที่อาจมาจากประเทศอังกฤษก็อาจจะเป็นประโยชน์กับบล็อคนี้และผู้อ่านบล็อคนี้อีกด้วย
นี่เป็นตัวอย่างของอีกเพจนึง
เรื่องราวใกล้เคียงกัน และมีการให้ลิงค์ไปที่ Northern Brewer และ amazon.com ด้วย ซึ่งนั่นก็ไม่ค่อยจะเป็นประโยชน์กับคนที่มาเยี่ยมชมที่เป็นชาวอังกฤษเท่าไหร่นัก เป็นต้น
การแปะลิงค์จากเว็บไซต์อื่น ๆ นั้นง่ายมาก แค่คุณติดต่อไปหาเขา และขอให้เค้าเพิ่มลิงค์คุณเข้าไปเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้อ่านที่มาจาก UK ของหน้านั้น ๆ
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างอีเมลล์ที่คุณสามารถเขียนส่งได้
สวัสดี [ชื่อ]
ผม จอร์ช จาก The Malt Miller
ผมได้เข้ามาอ่านคู่มือการบ่ม cider ที่คุณเขียน และสังเกตเห็นว่าคุณมีการเชื่อมโยงลิงค์ไปที่ Northern Brewer
ผมทำธุรกิจมา [จำนวนปี] แล้ว และผมรู้มาว่า Northen Brewer เป็นบริษัทขายอุปกรณ์ที่ดีที่นึงที่คุณพูดถึงไว้
(ชื่ออุปกรณ์) แต่น่าเศร้าที่ ที่นั่นไม่ได้ส่งไปที่ประเทศอังกฤษ
อย่างไรก็ตาม พวกเราเองก็ขายของแบบเดียวกันที่ประเทศอังกฤษ ผมจึงสงสัยว่าถ้าคุณจะลองพิจารณาเพิ่มเราเข้าไปใน
โพสตรงเดียวกับ Northern Brewer จะได้ไหมครับ ผมคิดว่า มันอาจเป็นประโยชน์กับผู้อ่านชาวอังกฤษของคุณด้วย
ยังไงก็บอกผมนะครับ
ขอบคุณครับ!
จอร์ช
ลองทำแบบนี้ครั้งสองครั้งหรือมากกว่านั้น และเรามั่นใจว่าคุณจะสามารถแปะลิงค์ได้กับบาง post แน่นอน
เกร็ดความรู้ มันขึ้นอยู่กับคุณนะว่าคุณเป็นสายขาวขนาดไหน เพราะกระบวนการเหล่านี้ที่กล่าวไปนั่นคือสายขาวโดยแท้จริง แต่ก็มั่นใจว่า สำหรับสายเทา หรือสายดำ ที่สร้างสรรค์หน่อยคงคิดออกแล้วล่ะว่าจะเพิ่มการนำลิงค์นี้ไปแปะยังไงบอกได้แค่นี้ เพราะเราเองก็ไม่สนับสนุนให้เป็นสายดำ เพราะมันค่อนข้างเสี่ยง แต่ก็นั่นแหละ คุณเลือกเอง
ส่วนที่ 5 เขียน Content ทางการตลาดสำหรับเว็บไซต์ E-commerce
จากที่กล่าวไปแล้วข้างต้นเกี่ยวกับ การเชื่อมโยงลิงค์ ว่าการทำแบบนี้ทั้งกับหน้าหมวดหมู่สินค้าหรือหน้าสินค้านั้นอาจจะยากไป ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะ น้อยคนนักที่อยากจะแปะลิงค์ให้ ความจริงก็คือ มันง่ายกว่าที่จะทำการตลาดและแปะลิงค์ลงบนหน้าเนื้อหาที่ให้ข้อมูลของตัวเอง เช่น หน้า blog post หน้าเกี่ยวกับ infographics หน้าเกี่ยวกับเครื่องมือ เป็นต้น แต่การทำแบบนี้สำหรับ E-Commerce ก็สร้างยอดขายให้ค่อนข้างน้อย
จากที่กล่าวไปว่า คุณสามารถเขียน Content เพื่อเพิ่มอัตราคนเข้ามาของหน้านั้น ๆ (หน้าสินค้าและหมวดหมู่สินค้า) บนเว็บ E-Commerce ของคุณ
สาสน์จากผู้เขียน สำหรับในส่วนนี้ จะเป็นการยกตัวอย่างจาก The Malt Miller อีกครั้ง
5.1 เขียนอะไรซักอย่างที่ « คุ้มค่ากับการคลิกไปดู ไปอ่าน »
สิ่งแรกที่ต้องทำก่อน ก็คือ คุณจำเป็นจะต้องเขียน content ซักชิ้นที่เกี่ยวกับ ตลาดเฉพาะกลุ่มที่ถ้าอ่านแล้วจะอยากติดตาม ซึ่งด้านล่างนี้ก็เป็น แหล่งความรู้ที่ช่วยคุณได้แต่เพราะเราอยากให้คู่มือนี้ มันทำได้จริง มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เราจะมาบอกเทคนิคของการหาไอเดียการแปะลิงค์ที่คน
อยากแชร์ในตลาดเฉพาะกลุ่มของคุณกัน
ไปที่ https://ahrefs.com/content-explorer > ใส่ keyword ที่เกี่ยวข้องกับตลาดเฉพาะกลุ่มของคุณ > filter for pages 100+ referring domains
จากนั้นก็ค้นหาจากผลลัพธ์ที่แสดง ให้เลือกหน้าที่เกี่ยวข้องกับตลาดเฉพาะกลุ่มของคุณมากที่สุด เช่น คำนวณการบ่มเบียร์
ซึ่งหน้านี้ก็มีการอ้างถึง domains นี้ถึง 128 ครั้ง และนั่นก็แปลว่ามีคนเข้าไปเยอะสมควร (ถือเป็นโบนัสเลยล่ะ)
พอเราได้ไอเดีย content ที่ผ่านแล้ว (เกี่ยวกับการคำนวณการบ่มเบียร์) ที่ทั้งเกี่ยวข้องกับตลาดเฉพาะกลุ่มของเรา และก็ ยังดึงดูดลิงค์หลาย ๆ ลิงค์ ในจุดนี้ ก็ง่ายละ เป็นขั้นตอนการเขียนให้คล้าย ๆ กันออกมา และจริง ๆ ควรจะดีกว่า จากนั้น คุณก็สามารถใช้คู่มือแนะนำด้านล่างนี้เพื่อโปรโมตและสร้างลิงค์ให้มันได้
5.2 เพิ่ม internal links อย่างมีชั้นเชิง
ตอนนี้คุณคงมี content ที่เป็นการบอกข้อมูลซักชิ้นสองชิ้นที่ดึงดูดให้กดลิงค์เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การทำ internal link จาก content นึงไปอีกหลาย ๆ content ที่คุณต้องการจะผลักดัน
ซึ่งเราแนะนำแบบนี้ว่า
- เช็คให้รอบคอบว่า หน้าที่คุณจะทำการให้เค้าลิงค์มา มันลิงค์ไปที่ internal page ที่เกี่ยวข้องกันเท่านั้น
มันก็คงจะแปลก ๆ ถ้าคุณจะลิงค์เรื่องเกี่ยวกับอุปกรณ์บ่มเบียร์ไปในหน้าที่เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับ การคำนวณการบ่มเบียร์ เพราะคนที่จะคำนวณได้นั้นก็คงต้องมีอุปกรณ์เหล่านี้ครบอยู่แล้ว แต่ถ้าจะทำการคำนวณได้ (จากเครื่องคำนวณของคุณ) คนอ่านอาจจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับส่วนผสมมากกว่า เพราะฉะนั้นมันคงจะสมเหตุสมผลมากกว่าที่จะเชื่อมลิงค์ของหน้าหมวดหมู่ส่วนผสมเข้ามาไว้หน้านี้
- เชื่อมลิงค์ไปที่หน้าสินค้าหรือหน้าหมวดหมู่สินค้า
จำไว้ว่า หน้าเหล่านี้แหละที่คุณต้องการผลักดันมากที่สุด เพราะเป็นหน้าที่ทำให้คุณมีรายได้เพิ่มกับธุรกิจของคุณ การเชื่อมลิงค์ภายในหน้าเว็บของเรากันเองหรือ Internal links เข้าไปกับหน้าสินค้าหรือหน้าหมวดหมู่สินค้านั้นจะช่วยส่งเสริมตำแหน่งที่ดีบน SERPs อีกด้วย
ยกตัวอย่างให้เข้าใจมากขึ้นของกลยุทธ์นี้ ให้เข้าไปดู Refractometer calculator จาก Northern Brewer ตามข้อมูลจาก Site Explorer จะเห็นได้ว่ามีจำนวนลิงค์ 2000+ จาก 74 domains ที่มีการอ้างถึง
ซึ่งนั่นก็อาจเป็นเหตุผลที่ว่าทำไม Northern Brewer ถึงเลือกเชื่อมลิงค์ไปที่หมวดหมู่ « Hydrometers & Refractometers » จากหน้าการคำนวณ
ข้อมูลเพิ่มเติมอยากให้ทราบคือ หน้า หมวดหมู่« Hydrometers & Refractometers » นั่นถูกจัดอันดับให้เป็นอันดับ 1 สำหรับ « brewing hydrometer » เลยทีเดียว
เกร็ดความรู้ ที่ให้ทราบข้อมูลนี้ไม่ใช่ว่ากลยุทธ์ internal linking ของเค้าจะเป็นเหตุผลเดียวและเหตุผลหลักที่ทำให้หน้านี้ติดอันดับแบบนี้ได้ แต่ก็มั่นใจว่าการทราบข้อมูลนี้เป็นประโยชน์แน่นอน
บทส่งท้าย!!
บทความนี้ไม่ได้นำเสนอการทำ SEO รูปแบบใหม่ แต่ถ้าคุณทำตามคำแนะนำที่ยาวเหยียดข้างต้นนี้แล้วล่ะก็ เรากล้าการันตีเลยว่า เว็บไซต์ของคุณจะดีเด่นเหนือคู่แข่งมากกว่า 90% แน่นอน